แบบจำลองการบริหารจัดการเทศบาลตามการจัดการคุณภาพทั่วทั้งองค์กร

Main Article Content

สานนท์ ด่านภักดี

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ  (1)  สร้างแบบจำลองการบริหารจัดการเทศบาลตามการจัดการคุณภาพทั่วทั้งองค์กรและ (2)  ศึกษาแนวทางการส่งเสริมการบริหารจัดการเทศบาลตามการจัดการคุณภาพ  เป็นการวิจัยและพัฒนาโดยใช้การวิจัยผสมผสานระหว่างการวิจัยเชิงคุณภาพด้วยเทคนิคเดลฟายและการวิจัยเชิงปริมาณด้วยการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน  กลุ่มตัวอย่างคือ  ผู้ทรงคุณวุฒิทางด้านการบริหารงานเทศบาลจำนวน  20 ราย  และพนักงานเทศบาลนครขอนแก่นจำนวน 289 ราย โดยใช้การสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้น  เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลคือแบบสอบถาม  สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ค่าพิสัยระหว่างควอไทล์  ค่ามัธยฐาน  และการวิเคราะห์ปัจจัย  ผลการวิจัยพบว่า  แบบจำลองการบริหารจัดการเทศบาลตามการจัดการคุณภาพทั่วทั้งองค์กร  ประกอบด้วย   การนำองค์กร การจัดการเชิงกลยุทธ์  การมุ่งเน้นผู้รับบริการ  การวัด การวิเคราะห์และการจัดการความรู้  การมุ่งเน้นบุคลากร  การจัดการกระบวนการและผลลัพธ์การดำเนินงาน  มีองค์ประกอบที่บ่งชี้คุณภาพของแบบจำลองจำนวน 118 ตัวบ่งชี้  สำหรับแนวทางการส่งเสริมพบว่ามีองค์ประกอบที่เกี่ยวข้องจำนวน 16 ตัวบ่งชี้  กระบวนการจัดการคุณภาพทั่วทั้งองค์กรควรมีการปรับให้มีความสอดคล้องกับข้อกฎหมาย ระเบียบ  ข้อบังคับ เป้าหมาย แนวคิดและวัฒนธรรมของเทศบาล  

 

Municipality Management Model Based on Total Quality Management

The objectives of this research were (1) to create a management model for municipalities based on Total Quality Management (TQM) technique, and (2) to find out the guidelines to implement the municipality management model based on TQM technique. The research methods were a mix of qualitative, Delphi Technique,  and quantitative, The Confirm Factor Analysis, methods. The samples are 20 municipality professionals and 289 municipality staff from NakornKhonKaen municipality. The sampling technique was stratified sampling. The research instruments were questionnaire. The statistical data analysis are inter – quartile range, median and factor  analysis. The most important findings were as follows: Municipality management model based on TQM showed that the Municipality Leadership, Strategic Management, Customer Focus, Measurement Analysis and Knowledge Management, Workforce Focus, Process Management and Results of operations. The indicators that indicated the quality of the models were 118 indicators. The indicators that used to guidelines for the promotion were 16 indicators. The Total Quality Management processes should be adjusted in accordance with the relevant laws, regulations, target and the concept of the municipality culture.

 

Article Details

บท
บทความ