การพัฒนารูปแบบการป้องกันปัญหาการติดเกมคอมพิวเตอร์ของเยาวชนโดยการมีส่วนร่วม ของชุมชนในเขตเทศบาลเมืองอุตรดิตถ์

Main Article Content

ภีรวัฒน์ นนทะโชติ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพปัญหาการติดเกมคอมพิวเตอร์ และพัฒนารูปแบบการป้องกันปัญหาการติดเกมคอมพิวเตอร์ของเยาวชนโดยการมีส่วนร่วมของชุมชนในเขตเทศบาลเมืองอุตรดิตถ์ ใช้วิธีการวิจัยแบบผสมผสาน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบบันทึกการสำรวจชุมชน แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้างและแบบประเมินผลการพัฒนารูปแบบ การวิเคราะห์ข้อมูลสภาพปัญหาการติดเกมคอมพิวเตอร์ของเยาวชนในเขตชุมชนเทศบาลเมืองอุตรดิตถ์ ใช้การวิเคราะห์ข้อมูลจากการศึกษาเอกสาร การสำรวจชุมชนและการสัมภาษณ์เชิงลึกจากกลุ่มเป้าหมาย 3 กลุ่ม ได้แก่ 1) กลุ่มประชาชนในพื้นที่ที่มีส่วนได้ส่วนเสีย ซึ่งประกอบผู้นำชุมชนจำนวน 26 คน และตัวแทนชาวบ้านจำนวน 13 คน 2) กลุ่มผู้ปฏิบัติงานด้านการป้องกันและแก้ปัญหาการติดเกมคอมพิวเตอร์ของเยาวชน จำนวน 7 คน และ 3) กลุ่มผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 8 คน ได้แก่ ผู้บริหารระดับสูง ที่รับผิดชอบงานด้านนโยบายการป้องกันและแก้ไขปัญหาการติดเกมคอมพิวเตอร์ของเยาวชนในชุมชนเขตเทศบาลเมืองอุตรดิตถ์ การพัฒนารูปแบบใช้เทคนิคการสนทนากลุ่มและประเมินเพื่อตัดสินรูปแบบโดยผู้ทรงคุณวุฒิระดับสูงที่เป็นผู้เชี่ยวชาญด้านปัญหาการติดเกมคอมพิวเตอร์ของเยาวชน วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา ด้วยการลำดับเนื้อหาและจัดหมวดหมู่ ผลการวิจัยพบว่า

1. ลักษณะการติดเกมคอมพิวเตอร์ของเยาวชนในเขตชุมชนเทศบาลเมืองอุตรดิตถ์ แบ่งออกเป็น 3 ระยะได้แก่ ระยะเริ่มชอบเล่น ระยะหลงใหลคลั่งไคล้ และระยะติดเกมอย่างรุนแรง สาเหตุเกิดจากปัจจัยส่วนตัว อิทธิพลกลุ่มเพื่อน ผู้ปกครอง สภาพแวดล้อมของชุมชน สื่อและเทคโนโลยี สำหรับปัญหาการติดเกมคอมพิวเตอร์ในชุมชนมีแนวโน้มและความรุนแรงมากขึ้น

2. รูปแบบการป้องกันปัญหาการติดเกมคอมพิวเตอร์ของเยาวชนโดยการมีส่วนร่วมของชุมชนในเขตเทศบาลเมืองอุตรดิตถ์ เน้นรูปแบบ “3 ข โมเดล” ได้แก่ เข้าใจ เข้าถึง และเข้าร่วมพัฒนา โดยประสานพลังความร่วมมือการดำเนินงานที่เน้นการปฏิบัติการแบบบูรณาการเป็นองค์รวมตั้งแต่ระดับภาครัฐ ภาคเอกชน ภาควิชาการ ครอบครัว และชุมชนในพื้นที่ ด้วยการปฏิบัติการ 3 ระดับ 17 แผนมาตรการ คือ 1) ระดับการเฝ้าระวัง ประกอบด้วย 7 มาตรการ 2) ระดับการส่งเสริมป้องกัน ประกอบด้วย 9 มาตรการ และ 3) ระดับการแก้ปัญหา ประกอบด้วย 1 มาตรการ

 

The Development of the Prevention Models of Computer Game Addiction Problems for the Youth by Community Participation in Muang Uttaradit Municipality

The purposes of the research were to study the game addiction problems and to develop the computer game addiction problem prevention model for the youth by participating Muang Uttaradit Municipality area communities and using the mixed method research. The used research instruments were the community surveying record forms, the semi-structure interview forms and the model developmental evaluated form. The computer game addiction problem condition data analysis for the youth in Muang Uttaradit Municipality area communities used the data research from the educational document, the community survey and the depth interview from the three purposeful groups such as people group in the interest areas who consisted the 26 community leaders and the 13 people representatives, the 7 representatives of the youth computer game addiction solution-protective operative group and the 8 experts such as high director who was responsible for the youth computer game addiction solution and prevention policy aspect in Muang Uttaradit Municipality area. The development of the model used the focus group technic and evaluated to decide the models by the high director who was the expert of the computer game addiction problem aspect for the youth. The data analysis by content analyzing , arranged the subject and group. Research findings were as follows:

1. The game addiction form for the youth in Muang Uttaradit Municipality area communities were devided into the three interval such as the play-preferred begun interval, the being mad and crazy interval, the violent game addiction interval. The cause happened from the factors of the youths themselves, group friends influence, parents, the surrounding nature of communities, media and technology. The children addiction problem in the communities tended violence.

2. The computer game addiction problem form for the youth by participating the communities in Muang Uttaradit Municipality area emphasized the 3 kho model form such as understanding, enter to and entered development by coordinating the operative cooperative power emphasizing the integrated form practice, the combined body being from the government sector level, private sector, education sector, families and communities in area by practicing the 3 levels and the 17 strategic plan were 1) alert level consisted of the 7 strategies 2) the preventable supportable level consisted of the 9 strategies 3) the solvable level consisted of one strategy.

Article Details

บท
บทความ