การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนภูมิปัญญาท้องถิ่นตามแนวการสอนเชิงประสบการณ์ โดยใช้กระบวนการมีส่วนร่วม สำหรับนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษา

Main Article Content

ศรีจันทรัตน์ กันทะวัง
จรีลักษณ์ รัตนาพันธ์
วรรณ์ดี แสงประทีปทอง
ดวงจันทร์ เดี่ยววิไล

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1.พัฒนารูปแบบการเรียนการสอนภูมิปัญญาท้องถิ่นตามแนวการสอน เชิงประสบการณ์โดยใช้กระบวนการมีส่วนร่วม สำหรับนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษา 2.ศึกษาผลการใช้รูปแบบการเรียนการสอนภูมิปัญญาท้องถิ่นตามแนวการสอนเชิงประสบการณ์โดยใช้กระบวนการมีส่วนร่วม ในด้านความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่น ความสามารถด้านการปฏิบัติภูมิปัญญาท้องถิ่น จิตสำนึกรักท้องถิ่นและความคิดเห็นที่มีต่อการเรียนการสอนภูมิปัญญาท้องถิ่น

การดำเนินการวิจัยมี 2 ขั้นตอน คือ 1.การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนภูมิปัญญาท้องถิ่นตามแนวการสอน เชิงประสบการณ์ โดยใช้กระบวนการมีส่วนร่วมสำหรับนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษา 2.การทดลองใช้รูปแบบการเรียนการสอน โดยนำไปทดลองใช้กับกลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนศึกษาสงเคราะห์จิตต์อารี ในพระอุปถัมภ์ของสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี จำนวน 35 คน ระยะเวลาในการทดลอง 36 ชั่วโมง เครื่องมือที่ใช้ในการพัฒนารูปแบบ คือ แผนการจัดการเรียนรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นตามแนวการสอนเชิงประสบการณ์โดยใช้กระบวนการมี ส่วนร่วม คู่มือการใช้รูปแบบ ฯ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลการวิจัย คือ แบบทดสอบความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่น แบบวัดความสามารถด้านการปฏิบัติภูมิปัญญาท้องถิ่น แบบวัดจิตสำนึกรักท้องถิ่น แบบสอบถามความคิดเห็นที่มีต่อการเรียนการสอนภูมิปัญญาท้องถิ่น วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การทดสอบค่าทีและการวิเคราะห์เนื้อหา

ผลการวิจัย พบว่า ได้รูปแบบการเรียนการสอนภูมิปัญญาท้องถิ่นตามแนวการสอนเชิงประสบการณ์โดยใช้กระบวนการมีส่วนร่วม สำหรับนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษา มีองค์ประกอบ ดังนี้ คือ 1.หลักการ 2.วัตถุประสงค์ 3.เนื้อหา 4.การจัดการเรียนการสอน 5.การวัดและประเมินผลการเรียนรู้ รูปแบบการเรียนการสอนที่พัฒนาขึ้นมีขั้นตอนจัดการเรียนการสอน 6 ขั้น คือ ขั้นจัดสิ่งแวดล้อมและบรรยากาศการเรียนรู้ ขั้นเรียนรู้จากครูผู้สอนหรือครูภูมิปัญญาท้องถิ่น ขั้นปฏิบัติกิจกรรมในสภาพจริง ขั้นนำเสนอและแลกเปลี่ยนประสบการณ์ที่ได้ปฏิบัติกิจกรรม ขั้นสรุปผล การเรียนรู้ ขั้นประยุกต์ใช้โดยการจัดนิทรรศการ ผลการทดลองใช้รูปแบบการเรียนการสอนพบว่า 1.นักเรียนมีความรู้ด้านภูมิปัญญาท้องถิ่นหลังการใช้รูปแบบการเรียนการสอนสูงกว่าก่อนการใช้รูปแบบ 2.นักเรียนมีผลการปฏิบัติด้านภูมิปัญญาท้องถิ่นอยู่ในระดับดีมาก 3.นักเรียนมีจิตสำนึกรักท้องถิ่นระดับมาก 4.นักเรียนมีความคิดเห็นเกี่ยวกับการเรียนการสอนภูมิปัญญาท้องถิ่นระดับมาก และจากการถอดบทเรียนที่ได้จากการใช้รูปแบบการเรียนการสอน พบว่า เป็นการจัดกิจกรรมที่หลากหลายและจัดประสบการณ์ภาคสนามให้แก่ผู้เรียน เป็นกระบวนการเรียนรู้ที่มีความสุข สอดคล้องกับพื้นฐานหรือวิถีชีวิตของชาวบ้านในชุมชนส่งผลให้ผู้เรียนเกิดความรัก ความภาคภูมิใจและมีความผูกพันกับท้องถิ่น

 

Development of an Instruction Model on Local Wisdom based on the Experience Teaching Approach Using the Participation Process for Elementary Students

The purposes of this study were to 1. develop of an instruction model on local wisdom based on the experience teaching approach using the participation process 2. to study the result of an instruction model on local wisdom based on the experience teaching approach using the participation process s to enhance knowledge ,practice and the love of locality awareness and students’ opinion toward local wisdom learning.

These steps consisted of: 1) develop of an instruction model on local wisdom based on the experience teaching approach using the participation process. 2.) conducting a learning and teaching trial process using teaching materials and assessing the outcome derived from using the learning and teaching process’s effectiveness . The sample group is 35 designated primary school students grade 6 of Chit Aree Welfare school, the school under the patronage of H.R.H. princess Srinakarintara(The Princess Mother of Thailand).The time used in this research was 36 hours. The research instruments consisted of local wisdom lesson plan , manual, local wisdom knowledge assessment form ,practicing skill assessment form, the love of locality awareness assessment form, students’ opinion toward local wisdom learning. The statistical analysis were t–test (dependent samples) and content analysis. The results were an instruction model on local wisdom based on the experience teaching approach using the participation process for elementary students consisted of involving 1. the principle 2. the objectives 3. the learning of process 4. consequences for learners. The learning of process were 6 step consisted of 1) prepare environmental learning. 2) learn from teachers or local wisdom teachers. 3) practice activities in real conditions 4) present and exchange experience 5.conclude learning outcomes . 6. apply by the exhibition. The result of using model were 1. Post score of student’s test local wisdom knowledge was higher than pre score 2.The students were been in good level for practing skill. 3. The students’ love of locality awareness wear in excellent level. 4. Student’s opinion toward local wisdom learning was in high level. Form content analysis were found that. There were a variety ways of learning base on learning by doing that enrich students, happiness and also harmonized with local life style.

Article Details

บท
บทความ