การจัดการความรู้ของธนาคารความดีเพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งโดย ชุมชนมีส่วนร่วม กรณีศึกษา: ตำบลหัวง้ม อำเภอพาน จังหวัดเชียงราย

Main Article Content

เบญจมาศ เมืองเกษม

บทคัดย่อ

การวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบการจัดการความรู้ของธนาคารความดีตำบลหัวง้มและศึกษาความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับการจัดการความรู้ของธนาคารความดีโดยชุมชนมีส่วนร่วมในการเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชน โดยเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างคือ ผู้นำชุมชน กลุ่มผู้บริหาร กลุ่มผู้ปฏิบัติงาน และกลุ่มบุคคลทั่วไป ในการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพซึ่งข้อมูลที่ได้จากการสัมภาษณ์แบบเจาะลึก การสนทนากลุ่ม และการสังเกตการณ์ มาทำการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า

ผลของรูปแบบการจัดการความรู้ของธนาคารความดีตำบลหัวง้มเพื่อเสริมสร้างชุมชนเข้มแข็งโดยชุมชนมีส่วนร่วม พบว่าการดำเนินงานของธนาคารความดี มีลักษณะของการให้ และการแบ่งปันเป็นการสร้างพฤติกรรมที่พึงประสงค์ให้แก่คนในชุมชนให้รู้จักให้และแบ่งปันต่อผู้ที่ขาดแคลนและมีฐานะยากจน เพื่อบรรเทาความทุกข์ยากและลดความเหลื่อมล้ำในสังคม รวมทั้งผลความสำเร็จของการดำเนินงานธนาคารความดี มีความเข้มแข็งและความตั้งใจของคณะทำงานและภาคีเครือข่ายของธนาคารความดี ร่วมทั้งมีการให้ความช่วยเหลือแบบเครือญาติยังมีให้เห็นค่อนข้างมาก ส่วนการมีส่วนร่วมของคนในชุมชนอยู่ในระดับค่อนข้างสูง ซึ่งโดยภาพรวมผลด้านรูปธรรมจากการดำเนินงานของธนาคารความดีที่พบคือ การมีส่วนร่วม ความรัก ความสามัคคี การพัฒนาคุณภาพชีวิต การประชาคมงดเหล้า การเอื้ออาทรต่อกันเพิ่มขึ้น และสุขภาพอนามัยของคนในชุมชน

สำหรับข้อเสนอแนะพบว่ามีปัจจัยที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ ปัจจัยด้านตัวบุคคลที่เป็นทุนมนุษย์ของชุมชน ปัจจัยบริบทแวดล้อมที่เป็นทุนทางสังคมของชุมชน รวมทั้งปัจจัยด้านความเชื่อและการบริหารจัดการที่ดี เพราะฉะนั้นการนำธนาคารความดีไปปรับใช้ในชุมชนอื่นนั้น ต้องคำนึงว่าแต่ละชุมชนมีบริบททางสังคมที่แตกต่างกัน ดังนั้นควรมีการระดมความคิดเห็นจากคนในชุมชน เป็นการกระตุ้นการมีส่วนร่วมจากคนในชุมชนและสร้างความเป็นเจ้าของร่วมกันอย่างแท้จริง

 

The Knowledge Management  for Bank of Good to Reinforce the Strengthened by Community Participation : A Case Study, Tambon Hua-Ngom , Amphur Phan, Chiangrai

The study of the knowledge management for Bank of Good to reinforce the strengthened by community participation, case study, Tambon Hua-Ngom, Amphur Phan, Chiangrai. The objectives of this research were to study knowledge management for the Bank of Good to reinforce the strengthened by community participation and study public opinion about knowledge management for the Bank of Good to reinforce the strengthen community by the researchers, the leader of community, executive group, working group and people. The qualitative analysis process-namely content 

analysis-was used to analyze the data which were derived from in-depth interview method, focus group discussion and observation method while the quantitative analysis.

The findings of this study showed that Knowledge management for the Bank of Good, Tambon Hua-Ngom, the community participation to reinforce the operation of Bank of Good. There were giving and sharing to promote positive behavior in the community. Giving and sharing to the shortages and poor to relief the adversity and inequality in society, including the success of the operation in strengthen and determination of working group and Bank of Good associate network to help each others as relatives. The community participation represented in high level. Overall, the tangible results of operations for the Bank of Good were participation, love, unity, improving quality of life, alcohol abstention, increasing generosity, and health.

It suggests that to several factors. There were human capital of community, the context of the social capital of the community and faith and good management. Therefore, Bank of Good should adapt to those in other communities need to concern a different social context. So there should be a brainstorming in community to encourage the participation of people in the community and creates a jointly owned truly.

Article Details

บท
บทความ