ปัจจัยที่นำไปสู่การบริหารจัดการทรัพยากรน้ำแบบบูรณาการลุ่มน้ำสาขาแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่

Main Article Content

ชลธร ทิพย์สุวรรณ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาสถานการณ์และสภาพปัญหาเกี่ยวกับการใช้ทรัพยากรน้ำ รวมถึงกระบวนการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำของกลุ่มผู้มีส่วนได้เสียจากการใช้ทรัพยากรน้ำในพื้นที่ลุ่มน้ำสาขาแม่ริม และเพื่อวิเคราะห์ปัจจัยที่นำไปสู่การบริหารจัดการทรัพยากรน้ำแบบบูรณาการในพื้นที่ลุ่มน้ำสาขาแม่ริม โดยผู้วิจัยได้กำหนดกลุ่มตัวอย่างเพื่อสร้างกระบวนการมีส่วนร่วมในพื้นที่จำนวน 6 กลุ่ม ได้แก่ ตัวแทนชุมชน ตัวแทนหน่วยงานองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ตัวแทนหน่วยงานภารกิจ ตัวแทนสถาบันการศึกษา ตัวแทนสถาบันศาสนาและตัวแทนภาคธุรกิจ รวมจำนวน 78 คน การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงผสานวิธีซึ่งผู้วิจัยได้ใช้กระบวนการมีส่วนร่วม การศึกษาเอกสารงานวิจัยที่เกี่ยวข้องประกอบกับการสังเกตแบบมีส่วนร่วมและไม่มีส่วนร่วม การสอบถาม การสัมภาษณ์ การสนทนากลุ่มย่อยและการประชุมระดับลุ่มน้ำ และการสำรวจความคิดเห็นเพื่อให้สามารถตอบวัตถุประสงค์การวิจัยในครั้งนี้

ผลการวิจัย พบว่า ในพื้นที่ลุ่มน้ำสาขาแม่ริมประสบปัญหาจากการใช้ทรัพยากรน้ำหลายประการ ได้แก่ ปัญหาการขาดแคลนน้ำ ในช่วงฤดูแล้ง ปัญหาน้ำท่วมในฤดูน้ำหลาก ปัญหาน้ำดื่มและน้ำประปาไม่เพียงพอและไม่สะอาด ปัญหาแหล่งน้ำตื้นเขินหรือชำรุดเสียหาย ปัญหาการทำลายแหล่งต้นน้ำ และปัญหาที่เกิดจากกระบวนการบริหารจัดการที่ขาดประสิทธิภาพ ขาดกระบวนการบูรณาการที่แท้จริง ดังนั้น เพื่อการแก้ปัญหาดังกล่าว ผู้มีส่วนได้เสียในพื้นที่จึงได้ร่วมกันวิเคราะห์ปัจจัยที่นำไปสู่การบริหารจัดการทรัพยากรน้ำแบบบูรณาการ โดยพบปัจจัยฯ ได้แก่ (1) ข้อตกลงร่วมกันในพื้นที่ลุ่มน้ำ (2) วัฒนธรรม ภูมิปัญญาและการจัดการทรัพยากรน้ำโดยชุมชน (3) การมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้เสียจากการใช้ทรัพยากรน้ำ (4) กฎหมาย ระเบียบข้อบังคับที่สอดคล้องกันตลอดทั้งลุ่มน้ำ (5) หลักคุณธรรมจริยธรรมและหลักธรรมาภิบาล (6) องค์กร/หน่วยงานหลักในการบูรณาการ (7) มาตรการและแรงจูงใจในการบริหารจัดการน้ำ (8) ระบบการศึกษาและกระบวนการสร้างความรู้ความเข้าใจ (9) แผนการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำแบบบูรณาการ และ (10) ระบบฐานข้อมูลที่สนับสนุนการจัดการทรัพยากรน้ำ ตามลำดับ โดยการวิจัยครั้งนี้มุ่งเน้นให้ชุมชนได้ตระหนักในคุณค่าของทรัพยากรและปัญหาเกี่ยวกับทรัพยากรน้ำที่เกิดขึ้น รวมถึงตระหนักในคุณค่าของตนเอง มีความภูมิใจในภูมิปัญญาของบรรพบุรุษ เปิดโอกาสอย่างเต็มที่ให้ชุมชนได้พัฒนาศักยภาพของตนเองเพื่อนำมาใช้ในการแก้ปัญหาจากการใช้ทรัพยากรน้ำที่เกิดขึ้นในพื้นที่ลุ่มน้ำสาขาแม่ริมด้วยตนเอง นำไปสู่การบริหารจัดการทรัพยากรน้ำแบบบูรณาการอย่างแท้จริง

 

FACTORS OF INTEGRATED WATER RESOURCE MANAGEMENT OF MAERIM SUB WATERSHED, CHIANG MAI PROVINCE

The purposes of this study were to study situation and challenges of water resource management and to analyze the factors of influencing on water resource management with the participation of stakeholders in the watershed. The 78 samples from 6 groups included representatives of community, local government, related government organization, education institutions, religion institutions, and business sectors in the watershed. The data were collected by observation, questionnaire, interview, seminar, focus group and discussion.

The study found that the challenges of water resources management in Mae Rim Sub watershed originated from inefficient management process and lack of proper integration. Regarding to the problem, the stakeholders in the watershed hard work on factors of integrated water resource management, and found the 10 main factors which were (1) The agreement of the sub watershed, (2) The efficiency of water management by community, (3) The participation of stakeholders, (4) Law and regulation enforcement, (5) The morality and good governance, (6) Main integrated organization, (7) Strategy (measure and incentive) of water management, (8) Education and understanding /knowledge system, (9) Integrated water resources management plan, and (10) Efficient data base system. The findings proposed that the communities should realize to value of resources, problems of water management, the value of themselves, and pride in the wisdom of their ancestors. The communities should also have the opportunity to fully develop their potential to solve the problems by themselves for a real integration of water resources management.

Article Details

บท
บทความ