การวิเคราะห์ปัจจัยภายในองค์กรที่ส่งผลต่อประสิทธิผลองค์กร ของธนาคารพาณิชย์ในประเทศไทย

Main Article Content

พีรญา ชื่นวงศ์
วิชิต อู่อ้น

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อวิเคราะห์ปัจจัยภายในองค์กรที่ส่งผลต่อประสิทธิผลองค์กรของธนาคารพาณิชย์ในประเทศไทย (2) เพื่อวิเคราะห์โครงสร้างความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของประสิทธิผลองค์กรของธนาคารพาณิชย์ในประเทศไทย ผู้วิจัยกำหนดประชากรในการวิจัยครั้งนี้ คือ ผู้บริหารในระดับปฏิบัติการของธนาคารพาณิชย์ในประเทศไทย จำนวน 29 ธนาคาร โดยมีกลุ่มตัวอย่างเป็นผู้บริหารในระดับปฏิบัติการของธนาคารพาณิชย์ในประเทศไทย จำนวน 509 ผู้วิจัยวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้เทคนิคการวิเคราะห์โมเดลสมการโครงสร้าง (Structural Equation Modeling: SEM)

ผลการวิจัย พบว่า วัฒนธรรมองค์กร ลักษณะปัจเจกบุคคลเป็นปัจจัยภายในองค์กรที่มีความสัมพันธ์ต่อกันและส่งผลต่อพฤติกรรมองค์กร และส่งผลต่อประสิทธิผลองค์กรของธนาคารพาณิชย์ในประเทศไทย โดยที่วัฒนธรรมองค์กรมีอิทธิพลทางตรงต่อประสิทธิผลองค์กรและมีอิทธิพลทางอ้อมต่อประสิทธิผลองค์กรของธนาคารพาณิชย์ในประเทศไทยโดยผ่านพฤติกรรมองค์กร ในขณะที่ลักษณะปัจเจกบุคคลมีอิทธิพลทางตรงต่อพฤติกรรมองค์กร และเป็นอิทธิพลทางอ้อมที่ส่งผลต่อประสิทธิผลองค์กรของธนาคารพาณิชย์ในประเทศไทย ซึ่งข้อค้นพบจากการทดสอบปัจจัยกับข้อมูลเชิงประจักษ์ในบริบทของธนาคารพาณิชย์ในประเทศไทย แสดงให้เห็นว่า ลักษณะปัจเจกบุคคลมีความเกี่ยวข้องกันกับองค์กร หน่วยงาน กำลังแรงงาน ซึ่งมีผลกระทบโดยตรงต่อพฤติกรรมของพนักงานในองค์กร จึงเป็นบทบาทที่สำคัญสำหรับผู้บริหารที่จะต้องเพิ่มพูนทักษะทางด้านการบริหารคนให้สามารถดึงศักยภาพของเฉพาะบุคคลออกมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อองค์กร และก่อเกิดเป็นพฤติกรรมองค์กรตามที่องค์กรคาดหวัง ในขณะที่วัฒนธรรมองค์กรก็จะเป็นแบบแผนพฤติกรรมขององค์กรที่จะก่อให้เกิดการผูกพัน การมีส่วนร่วมในการทำงานเพื่อองค์กร และเป็นเครื่องมือชี้แนะแนวทางสำหรับพนักงานในการประพฤติปฏิบัติหรือกระทำกิจกรรมต่าง ๆ ภายในองค์กร โดยองค์กรจะต้องมีการกำหนดภารกิจที่เหมาะสม มีกรอบ และทิศทางการบริหารจัดการที่ชัดเจน จึงจะทำให้องค์กรสามารถบรรลุผลสำเร็จหรือบรรลุสู่ประสิทธิผลตามที่ต้องการได้ แต่อย่างไรก็ตามการนำผลการวิจัยไปปรับใช้ต้องคำนึงถึงข้อจำกัดที่เกี่ยวกับข้อมูลดังกล่าว เพราะผลของการวิจัยนี้เป็นมุมมองของผู้บริหาร และเป็นการประเมินองค์กรของตนเองเท่านั้น

 

An Analysis of Internal Organization Factors Affecting Organization Effectiveness of Commercial Bank in Thailand

This study aims (1) to analyze internal organization factors affecting organization effectiveness of commercial bank inThailand, (2) to analyze the causal relationship structure of the organization effectiveness of commercial bank inThailand. The sample in the study was made up of 509 operational level executives from 29 commercial banks inThailand. The data were analyzed using Structural Equation Modeling. (SEM)

The findings showed that the organizational culture and individual characteristics are considered as internal organizational factors, which have a functional relationship to each other, affecting organizational behavior and effectiveness of commercial banks inThailand. The organizational culture has a direct impact on organizational effectiveness and has an indirect impact on organizational effectiveness in commercial banks through organizational behavior, whereas individual characteristics has a direct impact on organizational behavior and indirect impact on organizational effectiveness in commercial banks in Thailand. The results from the factors test and the available empirical evidence in the context of commercial banks inThailandshow that individual characteristics are associated with organizations, offices, and labor forces which have a direct impact on the behavior of employees in an organization. It is an important role for executives to enhance the human resources management and skills in order to awaken the individual potential to benefit the organization and create organizational behavior as expected. While organizational culture is also defined as the behavior patterns of organization, causing the relationship and the participation in work for the organization, it is considered as a guiding tool for employees to conduct activities within an organization. Also, an organization must create an appropriate mission and strategy to set the right framework and clear direction for the management; it will enable an organization to achieve success or desired effectiveness. However, the results of research adapted to take into account the limitations on such information. The results of this study are from the views of the management perspective and their organizational assessment.

Article Details

บท
บทความ