ศักยภาพและรูปแบบผู้นำในการเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชนแบบองค์รวม ผ่านกระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชนตำบลปงยางคก อำเภอห้างฉัตร จังหวัดลำปาง
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิชาการมีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ค้นหาศักยภาพของผู้นำและการมีส่วนร่วมของชุมชนในพื้นที่ตำบล ปงยางคก และ (2) วิเคราะห์รูปแบบภาวะผู้นำในการเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชนด้วยกระบวนการอย่างมีส่วนร่วมอย่างยั่งยืน ตำบลปงยางคก อำเภอห้างฉัตร จังหวัดลำปาง เป็นการสำรวจแบบมีส่วนร่วม ประชากร คือ ผู้นำชุมชนทั้ง 13 หมู่บ้าน โดยใช้วิธีการวิเคราะห์เนื้อหา การสังเกตการณ์ เทคนิค SWOT การสัมภาษณ์เชิงลึก การเสวนากลุ่มย่อย การประชุม เพื่อค้นหารูปแบบภาวะผู้นำของชุมชน
ผลการวิเคราะห์พบว่า ผู้นำส่วนใหญ่มีศักยภาพค่อนข้างสูงและมีส่วนร่วมกับสมาชิกทั้งภายในและภายนอกชุมชน แต่มีข้อจำกัด คือ ผู้นำชุมชนยังขาดองค์ความรู้ด้านการจัดการเชิงรุกและการดำเนินงานภายในชุมชนที่เป็นระบบ โอกาส คือ มีเครือข่ายหน่วยงานภาครัฐและท้องถิ่นที่คอยให้ความช่วยเหลือและส่งเสริม อุปสรรค คือ ฤดูกาลโดยเฉพาะฤดูเก็บเกี่ยวพืชผลทางการเกษตรชาวบ้านส่วนใหญ่ต้องทำอาชีพการเกษตร จึงทำให้การดำเนินงานขาดความต่อเนื่อง
ศักยภาพผู้นำมีความหลากหลาย ส่วนใหญ่มีการศึกษาในระดับปานกลางถึงสูง การมีมนุษยสัมพันธ์กับผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง มีเครือข่ายในการทำงาน มีทุนทางสังคมค่อนข้างมาก มีความมุ่งมั่น ตั้งใจและมีส่วนร่วมในการทำงาน และมีภาวการณ์เป็นผู้ประกอบการ
รูปแบบผู้นำชุมชนจำแนกได้ 7 รูปแบบ (1) ผู้นำทางธรรมชาติ (2) ผู้นำแบบเผด็จการ (3) ผู้นำแบบใช้พระคุณ (4) ผู้นำแบบประชาธิปไตย (5) ผู้นำแบบเสรีนิยม (6) ผู้นำที่เน้นงานเป็นศูนย์กลาง และ (7) ผู้นำแบบเป็นทางการ โดยจะมีการประยุกต์ใช้รูปแบบผู้นำตามสถานการณ์ภายในชุมชน เพื่อเป็นกลไกในการเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชนผ่านนโยบายท้องถิ่น โครงการหรือกิจกรรมเป็นปัจจัยขับเคลื่อนการทำงาน ผ่านกระบวนการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องภายในชุมชน เน้นการสื่อสารทั้งเป็นทางการและไม่เป็นทางการเพื่อให้ชุมชนเข้มแข็ง โดยมีตัวชี้วัดผู้นำ คือ (1) การมีส่วนร่วมของสมาชิก (2) การบูรณาการทรัพยากรให้เกิดประโยชน์สูงสุด (3) ผลลัพธ์ทั้งเชิงปริมาณและคุณภาพ (4) ทัศนคติของผู้ตาม (5) คุณภาพของกระบวนการกลุ่ม และ (6) ผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงานหรือโครงการ
Potential and Leadership Style in Reinforcing Holistic Community Strengths through Community Participatory Process at Pongyangkok Sub-district, Hangchat District, Lampang Province
The purposes of this article were to (1) search for leader capability and community participation in vicinity and (2) analyze leadership style in reinforcing community strengths with sustainable participatory process in Pongyangkok sub-district, Hangchat district, Lampang province. It was participatory action research. The population was community leaders of 13 villages, by applying content analysis, observation technique, SWOT, in-depth interview, small group seminar and conference in order to search for leadership style of the community.
The outcomes of analysis revealed that majority of leaders had rather high capability and had participatory involvement with members of both internal and external of community. But with the limitation that leaders still lack of proactive knowledge and systematic operation within the community. The opportunity was the networking of government and community sectors in assistance and supports. The obstacle was seasonal period, in particular during agriculture harvesting where majority of agricultural villagers had to do their agricultural occupation which led to the lack of continuity.
Leaders had variety with majority had educational level at medium or high, had human relationship with stakeholders, had networking at work, had rather high and social capital, had determination, intention, participation at work and had entrepreneurship.
Leadership style had 7 types (1) natural leader, (2) dictatorial leader, (3) benevolent leader, (4) democratic leader, (5) liberal leader, (6) task oriented leader and (7) official leader. Applying leadership style under community environment as mechanism in reinforcing community strengths through local policies, projects or activities and as driving factors through stakeholder participatory process within community by focused on both official and non official communication for community strengths. The key performance indicators of leaders were (1) member participation (2) resource utilization for all most benefits (3) output and outcome (4) attitude of followers (5) quality of group process and (6) impacts from operation or project.
Article Details
รายละเอียดของลิขสิทธ์