กระบวนการถ่ายทอดภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านดนตรีพื้นบ้านวงสะล้อ ซอ ซึง

Main Article Content

พรสวรรค์ มณีทอง

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากระบวนการถ่ายทอดภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านดนตรีพื้นบ้าน วงสะล้อ ซอ ซึงจากปราชญ์ชาวบ้าน รวมทั้งนำองค์ความรู้ไปเผยแพร่ผ่านสื่อออนไลน์ ซึ่งเป็นการวิจัยเชิงผสมผสานระหว่างการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมและการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยมีกลุ่มตัวอย่างจำนวน 40 คน ได้แก่ 1) ปราชญ์ชาวบ้านด้านดนตรีพื้นบ้านสะล้อ ซอ ซึงจำนวน 2 คน 2) นักเรียนโรงเรียนบ้านแม่ตาจำนวน 23 คน 3) คณะครูโรงเรียนบ้านแม่ตาจำนวน 2 คน และ 4) ตัวแทนชุมชนประกอบด้วยนายกองค์การบริหารส่วนตำบลปงดอน 1 คน รองนายกนายกองค์การบริหารส่วนตำบลปงดอน 3 คน ปลัดองค์การบริหารส่วนตำบลปงดอน 1 คน นักวิชาการศึกษา 1 คน ผู้ใหญ่บ้านบ้านแม่ตา 1 คน ประธานชมรมผู้สูงอายุตำบลปงดอน 1 คน และตัวแทนผู้ปกครอง 5 คน โดยใช้เครื่องดนตรีพื้นบ้านวงสะล้อ ซอ ซึง เป็นสื่อการเรียนการสอนการสอน เก็บข้อมูลจากแบบสอบถาม การสัมภาษณ์เชิงลึก แบบสังเกตการณ์แบบมีส่วนร่วมและไม่มีส่วนร่วม การจัดเวที นอกจากนั้นได้นำสื่อออนไลน์มาใช้ในกระบวนการเรียนการสอนนักศึกษาสาขาวิชาดนตรี ในรายวิชาการศึกษาเอกเทศทางดนตรี และแบบประเมินคุณภาพสื่อออนไลน์ ผลการวิจัยพบว่า ในอดีตชาวบ้านในหมู่บ้านแม่ตานิยมเล่นดนตรีพื้นบ้านโดยเฉพาะเครื่องดนตรีประเภทสะล้อ และซึง แต่ปัจจุบันการเล่นดนตรีดังกล่าวไม่เป็นที่นิยมของคนในหมู่บ้าน ทั้งที่ในหมู่บ้านยังมีผู้สูงอายุที่สามารถเล่นเครื่องดนตรีดังกล่าวถึง 7 คน โดยผู้สูงอายุเหล่านี้จะรวมตัวกันบรรเลงงานศพ งานเทศกาลของหมู่บ้าน โดยไม่คิดค่าจ้างแต่มาร่วมบรรเลงอย่างใด

กระบวนการถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านดนตรีพื้นบ้านสู่เด็กนักเรียน เป็นการถ่ายทอดด้วยวิธีการสอนแบบสาธิตแล้วให้นักเรียนฟังเสียง สังเกตท่าทางการบรรเลงแล้วปฏิบัติตาม แต่นักเรียนไม่เข้าใจ จึงไม่สามารถถ่ายโยงทำนองเพลงมาสู่การปฏิบัติเครื่องดนตรีได้ ผู้วิจัยจึงได้ปรับแนวทางการเรียนการสอนโดยให้นักวิจัยในพื้นที่ที่มีความรู้ และประสบการณ์ด้านดนตรีพื้นบ้านมาเป็นผู้ถ่ายโยงทำนองเพลงจากปราชญ์ชาวบ้านสู่เด็กนักเรียน ส่วนการนำองค์ความรู้ถ่ายทอดผ่านสื่อออนไลน์ พบว่าน่าสนใจและมีประโยชน์ต่อกิจกรรมการเรียนการสอน ในด้านการกระตุ้นผู้เรียนให้เกิดการเรียนรู้ แต่ควรใช้สื่อออนไลน์ควบคู่กับกระบวนการถ่ายทอดจากปราชญ์ชาวบ้านควบคู่กันไป นอกจากนี้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเช่น องค์การบริหารส่วนตำบลปงดอน และโรงเรียนบ้านแม่ตา ควรจะมีการอนุรักษ์ ส่งเสริม สนับสนุนภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านดนตรีพื้นบ้านวงสะล้อ ซอ ซึง ให้คงอยู่คู่กับชุมชนท้องถิ่นต่อไป

 

The Knowledge Transfer of “Salor Sor Sueng” band of Local music band

The purpose of this research were to study the knowledge transfer process of local wisdom of “Salor Sor Sueng” music band from Village Scholars as well as to publicize the knowledge through online media. The research was conducted by mixed method comprising with the action and qualitative researches. The total of 40 samples included 1) 2 village scholars of Salor Sor Sueng local music, 2) 23 students from Mae Ta School, 3) 2 teachers from the Mae Ta School and 4) 13 community representatives which are the Chief Executive of Pong Don Subdistrict Administrative Organization (SAO), 3 of the Deputy Chief Executives of the SAO, the Chief Administrator of the SAO, an academic service officer, the Mae Ta village chief, the head of Pong Don SAO Elderly Person Society and 5 students’ parents. The instructional tools were the Salor Sor Sueng music instruments. The data collection consisted of questionnaire, in-depth interview, participant and non-participant observation forms, discussion forum and quality assessment form for the online media. The finding revealed that the Mae Ta villagers used to play only the local Salor Sor Sueng music instruments in the past, but they are not popular among the villagers nowadays. Even though, there are 7 elders who can play the Salor Sor Sueng instruments and usually gather to play for free in the funerals, annual festivals and special events.

The knowledge of the local music was transferred to students by the demonstration method. The village scholars showed the students how to play the Salor Sor Sueng music, the students listened to the music, observed and practiced. At first, the students did not quite understand so that they could not practically transfer the melody to playing the instruments. The researcher, then, adjusted the transferring process by incorporated the local researchers who have knowledge and experiences with the local music as the mediators to help transferring the melody from the village scholars to the students. Regarding the promotion of the knowledge through the online media, the results showed that it is an interesting and useful channel to motivate the students to learn. Though, it should be used along with the transferring process by the village scholars. Also, the Solor Sor Sueng band should be set up with the management of the Subdistrict Administrative Organization along with supports from mea-tha school and the community in order to transfer and inherit the local wisdom of Salor Sor Sueng music to the young generation in the community.

Article Details

บท
บทความ