การพัฒนาสมรรถนะของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานในภาคเหนือตอนบน

Main Article Content

ทรงพล เทพคำ

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและวิเคราะห์สมรรถนะของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ในภาคเหนือตอนบน ตามแนวคิดของ David C McClelland และ J.P.Kotter เพื่อศึกษาแนวทางการยกระดับสมรรถนะของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ในภาคเหนือตอนบนที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพและประสิทธิผล ของการจัดการศึกษาและเพื่อเสนอแนวทางในการพัฒนาสมรรถนะของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ในภาคเหนือตอนบนที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพและประสิทธิผลของการจัดการศึกษาสู่การปฏิบัติ โดยใช้รูปแบบการวิจัยเชิงบรรยาย แนวคิดในการวิจัยประกอบด้วยแนวคิดเกี่ยวกับสมรรถนะและแนวคิดเกี่ยวกับการพัฒนาสมรรถนะ เก็บรวบรวมข้อมูล โดยการใช้แบบวิเคราะห์เอกสารด้านสมรรถนะ แบบสอบถามการพัฒนาสมรรถนะและแบบสัมภาษณ์หาแนวทางการพัฒนาเพื่อเพื่อยกระดับสมรรถนะ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติบรรยายการหาค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยและค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน

ผลการวิจัยสรุปได้ว่า การพัฒนาสมรรถนะของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ในภาคเหนือตอนบน ตามกรอบแนวคิดแบ่งเป็น 2 องค์ประกอบ 7 ด้าน ได้แก่ องค์ประกอบด้านสมรรถนะความเป็นผู้บริหารด้านทักษะ/ความสามารถได้แก่การมุ่งเน้นด้านคุณภาพของคนและงาน โดยมีปัจจัยและองค์ประกอบด้านอื่นๆ เป็นปัจจัยเสริมให้การบริหารจัดการเกิดประสิทธิภาพ ไม่ว่าจะเป็นด้านแนวคิด วิธีการและนวัตกรรมในการนำองค์กรไปสู่การบรรลุผลตามวิสัยทัศน์ เป้าประสงค์และพันธกิจที่กำหนดไว้และด้านความรู้ได้แก่การมุ่งเน้นด้านการใช้ข้อมูลในการบริหารจัดการ โดยมีการเรียนรู้และพัฒนาอย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่อง มีความหลากหลายในวิธีการที่จะทำให้การปฏิบัติงานประสบผลสำเร็จ

องค์ประกอบด้านความเป็นผู้นำ ด้านอัตลักษณ์ส่วนตนได้แก่การมุ่งเน้นสมรรถนะด้านการเป็นผู้มีวิสัยทัศน์ของผู้นำ ในการบริหารจัดการพัฒนาองค์กรโดยมีองค์ประกอบอื่นๆ เช่น การเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลงและการให้ความยุติธรรมแก่ผู้ร่วมงาน ตลอดจนคุณลักษณะอื่นๆ ที่ผู้นำพึงมีเพื่อนำพาองค์กรไปสู่ระบบงานที่มีประสิทธิภาพก่อให้เกิดประสิทธิผลด้านคุณลักษณะได้แก่การมุ่งเน้นการทำงานเป็นทีม ร่วมคิด ร่วมทำ มีการมอบหมายคนให้เหมาะสมกับงานที่ทำ เน้นระบบในการทำงานที่มีเป้าหมายชัดเจน ทำให้บรรลุวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ ด้านแรงจูงใจได้แก่การมุ่งเน้นด้านการสื่อสารระหว่างเพื่อนร่วมงานเป็นสำคัญ โดยการสร้างวิสัยทัศน์ร่วมในการทำงานร่วมกันในเชิงสร้างสรรค์ เกิดความเข้าใจ เอื้อเฟื้อเพื่อแผ่ซึ่งกันและกัน ส่งเสริมการพัฒนาศักยภาพในการ ทำงานของบุคลากรโดยคำนึงถึงความรู้ ความสามารถและความแตกต่างระหว่างบุคคล ก่อให้เกิดความสมัครสมานสามัคคีเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน อันจะเป็นปัจจัยสำคัญให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อหน่วยงานในทุกระดับ ด้านเจตคติได้แก่การมุ่งเน้นตามหลักของภาวะผู้นำที่ว่า ครองตน ครองคน ครองงาน และด้านค่านิยมได้แก่การมุ่งเน้น ให้มีนิสัยการทำงานโดยการใช้นวัตกรรมในการพัฒนาอย่างมีเหตุผล มีการจัดระบบข้อมูลสารสนเทศเพื่อนำมาใช้ในการพัฒนาองค์กรอย่างต่อเนื่องตามแผนงาน โครงการที่กำหนดอย่างมีประสิทธิภาพ          

สรุป ผลการศึกษาการพัฒนาสมรรถนะของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ในภาคเหนือตอนบน ปรากฏว่าการพัฒนาสมรรถนะของผู้บริหารสถานศึกษาในปัจจุบันนี้ ยังขาดความต่อเนื่องและไม่เป็นระบบ ผู้บริหารยังไม่เป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลงทางด้านต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านวิชาการ ควรมีการจัดทำอย่างเป็นระบบทั้งทางด้านการบริหารงานและทางด้านภาวะผู้นำ จะสามารถยกระดับสมรรถนะของผู้บริหารสถานศึกษาที่จะส่งผลต่อประสิทธิภาพและประสิทธิผล ของการจัดการศึกษาทำให้สังคมเกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืนต่อไป

 

The development of administrators’capacities in the schools under the jurisdiction of the Office of Basic Education Commission in the upper northern Thailand.

This study aimed to examine and analyze the administrators’ capacities in the schools based on David C. McClelland and J.P.Kotter’s theory , to investigate the strategies for developing the school administrators’ efficiency which affected the efficiency and effectiveness of educational management, and to recommend the guidelines for developing the administrators’ capacities which affected the efficiency and effectiveness of the educational management implementation. The samples were 346 consisting of the administrators in the schools under the jurisdiction of the Primary Education Area Office. The study was mainly based on descriptive analysis and data collections included the analysis and synthesis forms on the capacities, the questionnaire on the capacity development, the interviews to seek for developmental strategies for raising the administrators’ capacities, and focus groups. The obtained data were analyzed by descriptive analysis drawing on frequency, percentage, mean and standard deviation. The findings are presented as follows.

The administrators’ capabilities in accordance with the applied concept could be divided into 7 aspects.On the capabilities of being the administrators, it appeared the results as follows.On the administrators’ skills/abilities, these included the emphasis of work quality and the quality of working staff with other supportive factors – concept, methods and innovation leading the organizations to the set goals and missions and the administrators’ knowledge, it focused on the use of information for management through the regular learning and development with diverse methods which supported the success of work.

On the leadership components, it revealed as follows. On the self-identity, it aimed to develop the leadership capacity for organization management with other components – the leader for change, fairness for colleagues and other qualifications which could lead the success and effectiveness to the organization, the qualification, it aimed to create team-working allowing the colleagues to jointly share opinions, action, and responsibility appropriate to each staff, and to emphasize clear working goals which lead to achieve the goals, the motivation, it emphasized the communication among the staff through the shared vision in creative working, understanding and assistance. It was also needed to promote staff’s abilities in working based on their knowledge, capabilities and personnel differences in order to harmonize working team which was the most important factors leading to success of the organization, the attitude, it emphasize leadership principle – self control, staff management and work administration and  the value, it emphasized the administrators to have creative working habits  applying innovations for continual development with logical and systematic information technology based on the effective set plans.

It is to suggest that the capacity development of the administrators in the schools under the jurisdiction of the Office of Primary Education located in the upper northern Thailand needs to systematically implement in both working management and leadership. With these, it will be able to raise up the administrators’ capacities which sustainably promote the efficiency and effectiveness of educational management and social development.

Article Details

บท
บทความ