การใช้คำถามโสเครตีสเพื่อส่งเสริมทักษะการอ่านและความสามารถในการ คิดอย่างมีวิจารณญาณ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3

Main Article Content

ชฎาภรณ์ อินทร์ยา
ธูปทอง กว้างสวาสดิ์
อารยา ปิยะกุล

บทคัดย่อ

การศึกษานี้มีความมุ่งหมายเพื่อ พัฒนากิจกรรมการเรียนรู้การใช้คำถามโสเครตีส เพื่อส่งเสริมทักษะการอ่านและความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 เพื่อศึกษาดัชนีประสิทธิผลของการจัดกิจกรรมการเรียนรู้การใช้คำถามโสเครตีส เปรียบเทียบทักษะการอ่านภาษาอังกฤษ และความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณ ก่อนเรียนและหลังเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่ได้รับการสอนโดยการใช้คำถามโสเครตีส กับการสอนแบบปกติ ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างทักษะการอ่านกับความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่ได้รับการสอนโดยการใช้คำถามโสเครตีส และ เปรียบเทียบความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษ และการคิดอย่างมีวิจารณญาณ ที่ได้รับการสอนโดยการใช้คำถามโสเครตีสกับการสอนแบบปกติ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนกุฉินารายณ์ อำเภอกุฉินารายณ์ จังหวัดกาฬสินธุ์ ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2555 จำนวน 69 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบเกาะกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้ แบบทดสอบทักษะการอ่าน และแบบวัดความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ร้อยละ และการทดสอบสมมติฐานใช้ t-test (Dependent Samples) และ Hotelling’s T2 ผลการวิจัยปรากฎดังนี้ แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้คำถามโสเครตีสเพื่อส่งเสริมทักษะการอ่าน และความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 มีประสิทธิภาพเท่ากับ 73.97/73.49 ดัชนีประสิทธิผลของการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้คำถามโสเครตีสกับการสอนแบบปกติ มีค่าเท่ากับ 0.6050 คิดเป็นร้อยละ 60.50 ทักษะการอ่านภาษาอังกฤษและความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 หลังได้รับการสอนโดยการใช้คำถามโสเครตีสและการสอนแบบปกติสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ทักษะการอ่านและความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่ได้รับการสอนโดยการใช้คำถามโสเครตีส มีความสัมพันธ์กันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ทักษะการอ่านภาษาอังกฤษ และความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่ได้รับการสอนโดยการใช้คำถามโสเครตีส สูงกว่า การสอนแบบปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

 

Using Socratic Questioning to Promote Reading Skills and Critical Thinking Ability of Mathayomsueksa III

The purposes of this study were to develop instructional plans for organizing learning activities by using Socratic questioning to promote reading skills and critical thinking ability of Mathayomsueksa III students determine the effectiveness index of the instructional plans for organizing learning activities using Socratic questioning to promote reading skills and critical thinking ability and the traditional instruction, compare Mathayomsueksa III students' English reading and critical thinking abilities before and after learning through the use of Socratic questioning and the traditional instruction, study the relationship between English reading skills and critical thinking ability of Mathayomsueksa III students learning through Socratic questioning, and compare English reading and critical thinking abilities of Mathayomsueksa III students who learned through the Socratic questioning activities and those who learned through the traditional instruction. The sample used in this study consisted of 69 students from 2 Mathayomsueksa III classes of Kuchinarai School, studying in the first semester of the academic year 2012 and selected through cluster random sampling. The instruments used in this study were instructional plans, English reading test and critical thinking ability test. The statistics used for data analyses were mean, percentage, standard deviation, t-test (dependent sample) and Hotelling’s T2 for testing the hypotheses. The results of the study were as follows: The efficiency index of the developed instructional plans for organizing learning activities using Socratic questioning to promote Mathayomsueksa III students' reading skills and critical thinking ability was 73.97/73.49, which met the required efficiency criterion of 70/70. The effectiveness index of the learning activities using Socratic questioning to promote reading skills and critical thinking ability was 0.6050, or 60.50%. The English reading and critical thinking abilities of Mathayomsueksa III students assessed after learning through use of the Socratic questioning and the traditional instruction activities were higher than their pretest performances at the .01 level of statistical significance. There was a correlation between the reading ability and the critical thinking ability of the students who learned through Socratic questioning activities at the .01 level of statistical significance. The reading ability and the critical thinking ability of Mathayomsueksa III students who learned through the Socratic questioning activities were higher than the performances of those who learned through the traditional instruction at the .01 level of statistical significance.

Article Details

บท
บทความ