ตลาดแรงงานต่างประเทศของกลุ่มชาติพันธุ์อาข่า ในเขตพื้นที่จังหวัดเชียงรายที่มีผลต่อโครงข่ายความปลอดภัยทางสังคม

Main Article Content

สุพจน์ ทาวงศ์

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาบริบททั่วไปของการทำงานของกลุ่มชาติพันธุ์อาข่าในเขตพื้นที่จังหวัดเชียงราย โครงข่ายความปลอดภัยทางสังคมที่มีผลต่อมูลเหตุจูงใจที่เป็นแรงผลักในการไปทำงานในต่างประเทศของกลุ่มชาติพันธุ์อาข่าในเขตพื้นที่จังหวัดเชียงราย สภาพแวดล้อมการตั้งถิ่นฐาน และชีวิตความเป็นอยู่ในประเทศแหล่งงานของแรงงานกลุ่มชาติพันธุ์อาข่า จากจังหวัดเชียงราย และเพื่อศึกษาผลกระทบด้านวิถีการดำรงชีวิตของครอบครัว ชุมชน และการคง อัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมที่เกิดจากการไปทำงานในต่างประเทศของกลุ่มชาติพันธุ์อาข่าจากจังหวัดเชียงรายเป็นการศึกษากลุ่มตัวอย่างของประชากรที่เป็นกลุ่มชาติพันธุ์อาข่าในเขตพื้นที่จังหวัดเชียงราย ที่ไปทำงานในประเทศไต้หวัน จำนวน 70 คน และศึกษาข้อมูลจากกลุ่มผู้นำชุมชน ผู้อาวุโสในหมู่บ้าน/กลุ่มบ้านของกลุ่มชาติพันธุ์อาข่า จำนวน 41 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลในครั้งนี้ เป็นแบบสอบถามปลายเปิด เป็นแนวทางในการสัมภาษณ์ พูดคุย (Interview Guideline) และใช้วิธีการสังเกตอย่างมีส่วนร่วม (participant observation) การวิเคราะห์ชุมชนแบบมีส่วนร่วม (participatory rural appraisal : PRA) การสนทนากลุ่มย่อย (Focus Group) และหาข้อมูลเพิ่มเติม เพื่อใช้เป็นข้อมูลประกอบในการวิเคราะห์ ประเมินสถานการณ์

ผลการวิจัยนำเสนอใน 4 ส่วน ดังต่อไปนี้

ส่วนที่ 1 ผู้ไปทำงานในต่างประเทศ ส่วนใหญ่เป็นเพศชาย อายุอยู่ระหว่าง 27–31 ปี แต่งงานแล้ว มีบุตรคนละ 2 คน จบการศึกษาระดับประถมศึกษา ก่อนที่จะไปทำงานในต่างประเทศประกอบอาชีพรับจ้างทั่วไปมีรายได้ประมาณเดือนละ 3,001–4,500 บาท ส่วนใหญ่ไม่มีหนี้สิน เนื่องจากบางคนเพิ่งจะสำเร็จการศึกษา บางคนมีหนี้สิน ประมาณ คนละ 69,600 บาท ส่วนใหญ่ไม่เคยไปทำงานต่างประเทศมาก่อน และสมาชิกในครอบครัวก็ไม่เคยไปมาก่อน สำหรับคนที่เคยไป และสมาชิกในครอบครัวเคยไปทำงานในต่างประเทศนั้น ทุกคนเคยไปทำงานที่ประเทศไต้หวัน และส่วนใหญ่สามารถสื่อสารภาษาจีนได้

ส่วนที่ 2 หมู่บ้าน/กลุ่มบ้านของกลุ่มชาติพันธุ์อาข่าในจังหวัดเชียงราย ได้รับความช่วยเหลือจากรัฐบาล และหน่วยงานเอกชนด้านสวัสดิการสังคมที่หลากหลาย เหมือนกับหมู่บ้านของชุมชนพื้นราบ ได้รับการดูแลทั้งในด้านการศึกษา ด้านสาธารณสุข ด้านการคมนาคม การติดต่อสื่อสาร มีสาธารณูปโภค สิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ แต่ในด้านที่ทำกิน หมู่บ้าน/กลุ่มบ้านส่วนใหญ่อยู่ในเขตป่าสงวน ที่รัฐบาลจัดสรรให้หลังจากถูกอพยพจากที่สูงที่อยู่เดิมลงมา สามารถใช้เป็นที่ทำกินและอยู่อาศัย แต่ไม่มีเอกสารสิทธิ์ที่จะซื้อขาย ผู้ไปทำงานในต่างประเทศส่วนใหญ่ประกอบอาชีพรับจ้าง ได้รับค่าตอบแทนรายเดือนน้อย และบางคนประกอบอาชีพเกษตรกรรม ซึ่งราคาผลผลิตทางการเกษตรไม่แน่นอน จึงทำให้มีการกู้ยืมเงินมาใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน ดังนั้นความต้องการมีรายได้ที่สูงกว่าเดิม และหาเงินมาใช้หนี้ ประกอบกับมีคนในหมู่บ้านและญาติที่ไปทำงานในต่างประเทศมีฐานะทางเศรษฐกิจดีขึ้น สามารถเก็บเงินซื้อรถยนต์ สร้างบ้านใหม่ได้ ตนเองสามารถสื่อสารภาษาจีนได้บ้างจึงตัดสินใจไปทำงานในต่างประเทศ ดังนั้นเมื่อได้รับข้อมูลเกี่ยวกับการไปทำงานต่างประเทศจากบริษัทจัดหางาน และเห็นว่าค่าบริการ ค่าใช้จ่ายที่จะต้องจ่ายสำหรับการดำเนินการให้บริษัทไม่แพง จึง ให้บริษัทดำเนินการติดต่อหางานให้ จนสามารถเดินทางไปถึงแหล่งงานในประเทศไต้หวันได้ โดยเสียค่าใช้จ่ายเฉลี่ยคนละ 127,000 บาท ซึ่งเงินที่จะนำมาจ่ายให้บริษัทจัดหางานเป็นค่าดำเนินการนั้นส่วนใหญ่จะกู้ยืมเงินจากญาติ โดยเฉพาะจากพ่อแม่ และมีบางคนกู้ยืมจากธนาคาร โดยใช้วิธีให้พ่อ แม่กู้ให้บางคนมีบริษัทออกค่าใช้จ่ายให้ก่อนส่วนหนึ่ง อีกส่วนก็ยืมจากผู้ปกครอง

ส่วนที่ 3 การไปทำงานในต่างประเทศนี้ส่วนใหญ่ไม่ได้ฝึกทักษะหรือฝึกฝีมือก่อนไป และงานที่ทำในประเทศไต้หวันส่วนใหญ่จะเป็นงานที่ไม่ต้องใช้ฝีมือ หรือทักษะพิเศษมากนัก เนื่องจากเป็นงานในโรงงาน เช่น ช่างเฟอร์นิเจอร์ โรงงานพลาสติก โรงงานเหล็ก โรงงานผลิตภัณฑ์โลหะ โรงงานประกอบชิ้นส่วนรถยนต์ โรงงานผลิตเครื่องออกกำลังกาย โรงงานจักรยาน โรงงานกระดาษ โรงงานผลิตชิ้นส่วนคอมพิวเตอร์ เป็นต้น ได้รับเงินเดือนเฉลี่ยเดือนละ 16,400 บาท โดยทำงานวันละ 8 ชั่วโมง และทำงานสัปดาห์ละ 6 วัน และยังมีรายได้จากการทำงานล่วงเวลา ถ้าได้ทำงานล่วงเวลาจะทำวันละ 4 ชั่วโมง ชั่วโมงละประมาณ 170 บาท บางคนสามารถทำงานล่วงเวลาได้ประมาณเดือนละ 5,000–6,000 บาท นอกจากนี้บางคนยังได้รับเงินพิเศษเป็นโบนัสเมื่อถึงวาระสำคัญๆโดยเฉพาะตอนสิ้นปี ส่วนค่าใช้จ่ายจะเป็นค่าที่พัก อาหาร ประกันสังคม ฯลฯ เฉลี่ยประมาณคนละ 5,100 บาทส่วนใหญ่ก็มีความพึงพอใจกับรายได้ที่ได้รับเพราะรายได้ดี มีเงินเก็บ และงานไม่หนักนอกจากนี้ยังได้รับประสบการณ์ทักษะการทำงานเพิ่มเติม บางคนเปลี่ยนแปลงอุปนิสัยหรือพฤติกรรมดีขึ้น

ปัญหาที่ผู้ไปทำงานในประเทศไต้หวันพบ คือ คิดถึงบ้าน บางคนได้รับค่าจ้างน้อย บางโรงงานไม่มีงานล่วงเวลา โรงงานบางแห่งมีงานไม่แน่นอน รายได้น้อย ไม่สามารถสื่อสารด้วยภาษาจีนได้ การเจ็บป่วย หัวหน้างานไม่ยุติธรรม

ส่วนที่ 4 ผู้ไปทำงานในต่างประเทศนำเงินที่ได้รับจากการไปทำงานไปชำระหนี้ นำไปใช้จ่ายในครัวเรือน บางครอบครัวมีทรัพย์สินเพิ่มขึ้น มีรถจักรยานยนต์ รถยนต์บรรทุกสี่ล้อ และรถไถเดินตาม ส่วนใหญ่จะมีเครื่องใช้ไฟฟ้าได้แก่ เครื่องรับโทรทัศน์ เครื่องเล่นวีซีดี ตู้เย็น เครื่องซักผ้า พัดลม หม้อหุงข้าวไฟฟ้า

ผู้ไปทำงานในต่างประเทศยังอยู่อาศัยกับครอบครัวเดิม ที่มีพ่อแม่ ยังเลี้ยงดูพ่อแม่ เข้าร่วมกิจกรรมกับชุมชนทุกอย่างเหมือนกับที่เคยปฏิบัติ ให้ความช่วยเหลือกิจกรรมต่าง ๆ ในชุมชน ให้ความใส่ใจในสิทธิและหน้าที่ของพลเมืองไทย โดยไปเลือกตั้งทุกครั้ง ให้ความสนใจติดตามข่าวสารข้อมูล โดยเฉพาะข่าวสารต่าง ๆ จากรายการโทรทัศน์และวิทยุ เห็นความสำคัญของการศึกษา ผู้นำชุมชนบางคนจะสนับสนุน ส่งเสริมให้ทุกครอบครัวส่งเสียให้บุตรหลานได้เรียนหนังสือ และบางชุมชนเด็ก ๆ จะได้รับทุนการศึกษา และส่วนใหญ่สนับสนุนให้บุตรหลานประกอบอาชีพรับราชการ เช่น แพทย์ พยาบาล ทหาร ตำรวจ  

 

Foreign Labor Market of A-Kha Ethic Group in Chiangrai Province With an Effect on Social Safety Nets

This research aims to study the general context of the ethnic A-kha in Chiang Rai province. Social Safety Nets that influence and be the motivation  for them to work overseas. How about the settlement environment and the lives of the workers in the country that they work.And to study the impact on the lifestyle of the family, community and cultural identity resulting from working in overseas. The sample of this study are 70 ethnic Akha in Chiang Rai province who work in Taiwan and 41 community leaders/ elders in the A-kha ethnic group villages, the tools used to collect data in this research are an open-ended questionnaire (Interview Guideline), participant observation, Participatory rural appraisal(PRA), Focus Group and find out more for the analysis and assess the situation.

The results of the research have 4 sections  below.

1. Almost of the A-kha ethnic,  who went to work abroad are male age between 27-31 years old , married with two children. They graduated from elementary school. Before going to work abroad are workers. They have income about 3001 to 4500 Baht per month. Some of them has debt and has debts of around 69,600 baht each, most have never worked abroad before. And family members had not been too. Some of them, who ever been worked abroad they worked in Taiwan. Many of them can communicate with Chinese language.

2. Akha-ethic villages in Chiang Raireceived assistance from the government, private social welfare agencies as the other Thai villages, such as Million fund. Strong Thailand fund. Farmers Relief Fund, Elderly Fund, SME project, budget from Sub-district. They were supported in education, healthy, transport, communication, But all of them stayed in the area conserved, provided by the government after being evacuated from the top of the mountain, can be used to stay and work. But without the right in the land. Almost of the workers who went to work abroad  are employment. The monthly remuneration less. And some agricultural occupations, the agricultural output price uncertainty. As a result, they always borrow  money to spend on a daily basis. Therefore, they want to get more money and take the money to repay the debt. They observed their neighbors and relatives who worked in the other countries they get more money and can buy a car, build a new home and they can communicate in Chinese language. So they decided to work abroad. When they know about the administration for working at overseas country of  the international recruitment company, and that the service expenses to be paid for doing so, the company can contact the company to find a job. They paid about 127,000 Baht to the recruitment agency then they can get a job in the Republic of Taiwan. Agencies. It is the most likely to borrow from relatives, especially from parents, and some loans from banks. Some recruitment agencies loan them some money and the other they borrowed from their parents.

3.  Some of the workers who went to work in the Republic of Taiwan was not skilled or trained prior to training and work in Taiwan are mostly jobs that do not require skill or special skills too, because they worked in factories such as furniture, plastic factory , steel factory , metal products factory, paper factory, etc. The average salary of 16,400 Baht per month by working 8 hours per day and 6 days per week and also have income from overtime. They have been working overtime four hours per day for about 170 baht per hour, someone could get from about 5000-6000 Baht per month from overtime, some people have earned extra money as a bonus on the agenda, especially at the end of the year. They paid for food, social security, etc. on average about 5,100 Baht per month. Many of them were satisfied with the income that they earn , they could collect the money and the work was not heavy too. They also had been experienced skills more and some people change habits or behaviors improved.

The A-khas- ethnic workers , who works in Taiwan had the problem about homesick, got underpaid, didn’t not have overtime, some factories are not certainly work, and some workers can not communicate with Chinese language.

4. The A-khas-ethnic workers, who went to work abroad, they got the money that received from working to repay debt, to household expenses. Some families have more assets, such as motorcycle, four wheel drive truck, tillers, the appliances are TV., CD player, refrigerator, washing machine, rice cooker, electric fan. They still stay with the same family with parents to foster parents, didn’t separate the family. They always join the community to treat everything like the past, assistance activities in the community too. They attended  on the rights and duties of Thai people by going to every election, focus tracking information, particular variety of television and radio news. They realized the importance of education. Some community leaders support and encourage all families send their children to school. Some children in some community got scholarships for studying. The A-khas ethnic workers wanted their children to be Royal officers, such as doctors, nurses, civil servants, military officers.

Suggestion

1. The Department of Employment should accelerate the market and seeking new jobs in the overseas especially in Europe and America. The country would benefit from receiving foreign currency into Thailand a lot and people who are unemployed will decrease too.

2. The Department of Employment should supply workers to work in Abroad increased, by optimizing in competition with the private sector, to help the workers not pay more for working abroad. And they will confident that they will have  a job when they go abroad too.

3. The Department of Employment should promote about the service of credit programs to work abroad that conducted in collaboration with commercial banks. The workers who wish to work in overseas can get this service, because the interest is lower rate. Then they can help the workers to reduce the cost of borrowing for a job and protect workers to borrow the money from illegal money system.

4. Government should enforce the law and protect the jobs of Employment Act2528 Amendment (No. 2) Act 2537 seriously, consistently and continuously with private employment agencies that charge and get more money for seek the job service. To protect the workers to pay unnecessarily high costs that make them have too much debt.

5. Assisting individuals in the form of Social Safety Nets should be the bottom up. That is, for the needs of the community first. The community will benefit. Of the budget and not wasted.

6. About the identity of the community, stakeholders, government officials, community leaders and A-kha ethnic people should work together to realize the importance of their identity. And rescue operations to the identity of ethnic groups remain forever.

Article Details

บท
บทความ