รูปแบบการเรียนรู้เชิงรุกเพื่อส่งเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์ในวรรณคดี สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย

ผู้แต่ง

  • นันทญ์ณภัค พรมมา โรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง
  • วิชยา กรพิพัฒน์ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
  • อาทิตย์ ซาวคำ โรงเรียนโกวิทธำรงเชียงใหม่
  • อุบลวรรณ ส่งเสริม คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร

คำสำคัญ:

ทักษะการคิดวิเคราะห์, รูปแบบการเรียนรู้เชิงรุก, วรรณคดี

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อพัฒนารูปแบบการเรียนรู้เชิงรุกเพื่อส่งเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์ในวรรณคดีสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย 2) เพื่อศึกษาประสิทธิผลของรูปแบบการเรียนรู้เชิงรุกเพื่อส่งเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์ในวรรณคดีสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย ดำเนินการวิจัยในลักษณะของการวิจัยและพัฒนาโดยใช้ระเบียบวิธีการวิจัยแบบผสมผสานวิธีที่มีลักษณะเป็นแบบแผน เชิงผสมผสานแบบรองรับภายใน (The Embedded Design)โดยกลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/1 โรงเรียนโกวิทธำรงเชียงใหม่ อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่
ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565 จำนวน 39 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วยรูปแบบการเรียนรู้เชิงรุกเพื่อส่งเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์ในวรรณคดีสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย คู่มือการใช้รูปแบบ แผนการจัดการเรียนรู้ แบบทดสอบวัดทักษะการคิดวิเคราะห์ในวรรณคดี และแบบสอบถามความคิดเห็น วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที (t-test) แบบ Dependent และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัย พบว่า 1) รูปแบบการเรียนรู้เชิงรุกเพื่อส่งเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์ในวรรณคดีสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายมีชื่อว่า “MECPA Model” มี 4 องค์ประกอบ คือ 1) หลักการ 2) วัตถุประสงค์ 3) กิจกรรมการจัดการเรียนรู้ 4) การวัดและประเมินผล สำหรับกิจกรรมการจัดการเรียนรู้ที่ใช้คือขั้นตอนตามรูปแบบ MECPA Model ประกอบไปด้วย ขั้นที่ 1 กระตุ้นความสนใจ (M: Motivate) ขั้นที่ 2 ค้นให้เห็นสถานการณ์ (E: Explore) ขั้นที่ 3 ร่วมมืออภิปราย (C: Collaborate) ขั้นที่ 4 นำเสนอความรู้ (P: Present) ขั้นที่ 5 ประยุกต์ใช้ (A: Apply) มีคุณภาพสามารถนำไปใช้ได้จริงกับกลุ่มตัวอย่าง 2) ประสิทธิผลของรูปแบบพบว่า 2.1) หลังใช้รูปแบบนักเรียนมีความสามารถในการคิดวิเคราะห์สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.05 2.2) นักเรียนมีความคิดเห็นต่อรูปแบบอยู่ในระดับเห็นด้วยมากที่สุด

References

ทิศนา แขมมณี. (2560). ศาสตร์การสอน: องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. (พิมพ์ครั้งที่8). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

มาเรียม นิลพันธุ์. (2558). วิธีวิจัยทางการศึกษา. (พิมพ์ครั้งที่ 9). นครปฐม: ภาควิชาหลักสูตรและวิธีสอน คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร.

รื่นฤทัย สัจจพันธุ์. (2549). สุนทรียภาพแห่งชีวิต. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ ณ เพชร.

สง่า วงศ์ไชย. (2560). การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนโดยบูรณาการแนวการสอนที่เน้นภาษา วรรณกรรม และประสบการณ์เพื่อส่งเสริมความสามารถในการอ่านเพื่อความเข้าใจและเขียนสรุปความของ นักศึกษา ระดับปริญญาบัณฑิต. (วิทยานิพนธ์ปริญญาญาดุษฎีบัณฑิต) นครปฐม. มหาวิทยาลัยศิลปากร.

แสงดาว นพพิทักษ์. (2557). การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระหว่างการใช้กับไม่ใช้โปรแกรมควบคุมเครื่องคอมพิวเตอร์รายวิชาระบบฐานข้อมูล. มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2562). นโยบายสํานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ปีงบประมาณ พ.ศ.2562. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ.

Armstrong, P. (2010). Bloom’s Taxonomy. Vanderbilt University Center for Teaching. Retrieved January 30, 2022 from https://cft.vanderbilt.edu/guides- sub-pages/blooms-taxonomy.

Felder, R. M. and Brent, R. (2009). Active Learning: An Introduction. สืบค้น 2 กันยายน 2565, จาก http://www4.ncsu.edu/unity/lockers/users/f/felder/bublic/Papers/

McKinney, Kathleen. (2010). Active Learning. สืบค้น 2 กันยายน 2565, จาก http://www.cat.ilstu.edu/additional/active.php

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-11-15