การพัฒนาทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนชั้นอนุบาล 3 โรงเรียนวัดเวตวันธรรมาวาส โดยใช้กิจกรรมประกอบอาหาร

ผู้แต่ง

  • พรพรรณ จิตต์เพียร คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
  • ภาวิยา ขนาบแก้ว คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
  • สิริมณี บรรจง คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
  • ดิษิรา ผางสง่า คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา

คำสำคัญ:

ทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณ, กิจกรรมประกอบอาหาร, นักเรียนชั้นอนุบาล

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อสร้างและหาประสิทธิภาพการจัดกิจกรรมประกอบอาหารของนักเรียนชั้นอนุบาล 3 โรงเรียนวัดเวตวันธรรมาวาส และเพื่อเปรียบเทียบทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนชั้นอนุบาล 3  โรงเรียนวัดเวตวันธรรมาวาส ก่อนและหลังโดยใช้กิจกรรมประกอบอาหาร กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ นักเรียนชั้นอนุบาล 3/1 โรงเรียนวัดเวตวันธรรมาวาส ที่กำลังศึกษาในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2565 จำนวน 29 คน โดยใช้วิธีการสุ่มแบบกลุ่ม เนื่องจากนักเรียนขาดทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณ สังเกตจากนักเรียนไม่สามารถคิด และสรุปเป็นคำตอบของการทำกิจกรรมได้ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ แผนการจัดกิจกรรมประกอบอาหาร และแบบประเมินทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณ สถิติที่ใช้ในวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสถิติทดสอบสมมติฐาน (t-test) ผลการวิจัยพบว่า กิจกรรมประกอบอาหารเพื่อพัฒนาทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนชั้นอนุบาล 3/1 โรงเรียนวัดเวตวันธรรมาวาสมีประสิทธิภาพ เท่ากับ 85.40 /91.95 ซึ่งผ่านเกณฑ์ 80/80 ตามที่กำหนด และนักเรียนชั้นอนุบาล 3 โรงเรียนวัดเวตวันธรรมาวาส หลังได้รับการจัดกิจกรรมประกอบอาหาร มีทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณ สูงกว่าก่อนได้รับการจัดกิจกรรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). หลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2560. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.

กรวิภา สรรพกิจจำนง. (2564). การเปรียบเทียบความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของเด็กปฐมวัยระหว่างการจัดประสบการณ์โดยใช้หนังสือภาพปริศนา ชุดหนูดีรักผลไม้กับการจัดประสบการณ์แบบปกติ. วารสารนวัตกรรมการศึกษาและการวิจัย, 5(2). 3-4.

จารุวรรณ คงทวี. (2561). การคิดวิจารณญาณของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมละเลงสีด้วยนิ้วมือ. (ปริญญานิพนธ์ การศึกษามหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

ชุลีพร สงวนศรี. (2562). ได้ทำการศึกษาการพัฒนาศักยภาพการคิดของเด็กปฐมวัยด้วยชุดคู่มือบูรณาการองค์ความรู้. วารสารลวะศรีมหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี, 3(2), 38-42.

ณัฐญา นันทราช. (2563). การพัฒนาทักษะการคิดพื้นฐานของเด็กปฐมวัย โดยการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบไฮสโคปด้วยกิจกรรมเกมการศึกษา (รายงานการวิจัยในชั้นเรียน). สกลนคร: มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.

ดารารัตน์ อุทัยพยัคฆ์. (2563). ประโยชน์ของการประกอบอาหารในเด็กปฐมวัย. สืบค้นเมื่อ 27 สิงหาคม 2565, จาก http://daratim54.blogspot.com/2012/04/blog-post_08.html.

ตฤณ หงส์ใส. (2562). การส่งเสริมการคิดอย่างมีวิจารณญาณของเด็กปฐมวัยโดยใช้กระบวนการเรียนรู้แบบสืบสอบ. วารสารครุศาสตร์, 47(2), 243-244.

นุจรีย์ บูรณศิล. (2563). การจัดประสบการณ์การเรียนรู้ โดยใช้ชุดกิจกรรมการประกอบอาหาร เพื่อพัฒนาทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย. วารสารเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 3(7), 38-53.

ปานอาภา วีชะรังสรรค์, นฤมล เนียมหอม, ธิติกาญจน์ ฐิติโสภณศักดิ์ และ สุพันธ์วดี ไวยรูป. (2566). การพัฒนาความสามารถในการคิดแก้ปัญหาของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2/2 โรงเรียนทุ่งมหาเมฆ โดยใช้วีดิทัศน์เพื่อการสอนทางไกล วารสารวิชาการ ครุศาสตร์สวนสุนันทา, 7(1), 14-22.

ปิยมาศ พลผอม, นูรไอนี เจะมะ และธีรารัตน์ ศรีวิรัตน. (2559). ผลการจัดกิจกรรมสีสันจากธรรมชาติเพื่อพัฒนาทักษะการคิดแก้ปัญหาของเด็กปฐมวัย. ในการประชุมหาดใหญ่วิชาการระดับชาติและนานาชาติ การนำเสนอผลงานวิจัยของนักศึกษา สาขาการศึกษา ระดับปริญญาตรี ครั้งที่ 8. (หน้า 2026-2027). หาดใหญ่: มหาวิทยาลัยหาดใหญ่.

พัชรี ผลโยธิน. (2561). ได้ทำการศึกษาการพัฒนารูปแบบการสอนเพื่อพัฒนาการคิดอย่างมีวิจารณญาณของเด็กปฐมวัยโดยใช้การไตร่ตรองการสอนและสารนิทัศน์. วารสารศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยนเรศวร, 20(1), 26-27.

พิสณุ ฟองศรี. (2558). วิจัยชั้นเรียน: หลักการและเทคโนโลยีปฏิบัติ (พิมพ์ครั้งที่ 10). กรุงเทพฯ: ด่านสุทธาการพิมพ์.

รัตนา ใจเร็ว, ศรัญวิภา เงินดี และสิริมณี บรรจง. (2564). การพัฒนาแผนการจัดกิจกรรมเรียนปนเล่นและแบบประเมินทักษะการคิดแก้ปัญหาของนักเรียนอนุบาล 2/2 โรงเรียนพญาไท. รายงานการประชุมวิชาการระดับชาติ การนำเสนอผลงานวิจัยของนักศึกษา สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย ระดับปริญญาตรี ครั้งที่ 3 (1463-1464). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.

อัครพล ไชยโชค. (2563). การพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์โดยการจัดกิจกรรมทางวิทยาศาสตร์นอกห้องเรียน ประกอบผังกราฟิกสำหรับเด็กปฐมวัย. วารสารพัฒนาการเรียนการสอน มหาวิทยาลัยรังสิต, 14(1), 16-17.

อารยา ระศร. (2558). ผลการจัดประสบการณ์เพื่อส่งเสริมพัฒนาการด้านทักษะการคิดอนุบาลปีที่ 2 โดยเกมการศึกษาตามแนวคิดพัฒนาการและการเรียนรู้ของสมอง. วารสารเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 3(8), 145-146.

Dewey, John (1910). How we think. Boston: D. C. Heath and Company.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-11-15