แนวทางการพัฒนาสมรรถนะด้านเทคโนโลยีดิจิทัล ของนักศึกษาครู มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา

ผู้แต่ง

  • นันทิยา น้อยจันทร์ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
  • กรกมล ชูช่วย คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
  • สุดารัตน์ ศรีมา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา

คำสำคัญ:

แนวทางการพัฒนาสมรรถนะ, สมรรถนะด้านเทคโนโลยีดิจิทัล, นักศึกษาครู

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ และวิเคราะห์ความต้องการจำเป็นในการพัฒนาสมรรถนะด้านเทคโนโลยีดิจิทัล และ 2) สังเคราะห์หาแนวทางการพัฒนาสมรรถนะด้านเทคโนโลยีดิจิทัลของนักศึกษาครู กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ นักศึกษาครู คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา จำนวน 50 คน ระดับชั้นปีที่ 1 - 3 ซึ่งเป็นหัวหน้าและรองหัวหน้าของทุกกลุ่มเรียน จากประชากร คือ นักศึกษาปริญญาตรี คณะครุศาสตร์ จำนวน 1,000 คน ที่ได้มาจากการเลือกแบบเจาะจง (Purposive sampling) เครื่องมือการวิจัย ได้แก่ 1) แบบสอบถามสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ และความต้องการจำเป็นของสมรรถนะด้านเทคโนโลยีดิจิทัลของนักศึกษาครู และ 2) ตารางสังเคราะห์แนวทางพัฒนาสมรรถนะด้านเทคโนโลยีดิจิทัลของนักศึกษาครู สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล  ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าดัชนีความต้องการจำเป็น (Priority Needs Index) ผลการวิจัย พบว่า  1. ผลศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ และวิเคราะห์ความต้องการจำเป็นในการพัฒนาสมรรถนะด้านเทคโนโลยีดิจิทัล พบว่า คะแนนเฉลี่ยของสภาพปัจจุบันอยู่ในระดับมาก ( gif.latex?\bar{X}= 3.86, S.D = 0.87) คะแนนเฉลี่ยของสภาพพึงประสงค์ อยู่ในระดับ มากที่สุด (gif.latex?\bar{X} = 4.61, S.D = 0.49) โดยมีระดับความต้องการจำเป็นในการพัฒนาสมรรถนะด้านเทคโนโลยีดิจิทัลของนักศึกษาครูมากที่สุด คือ สมรรถนะด้านที่ 5 : การใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในการสอน (PNI modified = 0.23)  2. ผลการสังเคราะห์หาแนวทางการพัฒนาสมรรถนะด้านเทคโนโลยีดิจิทัล พบว่า มี 8 แนวทาง ได้แก่ 1. สร้างกลุ่มเครือข่ายความร่วมมือด้านเทคโนโลยีดิจิทัล 2. นิเทศติดตามผลการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล 3. จัดกิจกรรมพัฒนาทักษะด้านเทคโนโลยีดิจิทัล 4. เสริมสร้างความรู้ในการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในการเรียนการสอน 5. พัฒนาตนเองและองค์กร 6. ศึกษานโยบายของหน่วยงานต้นสังกัด และนำมากำหนดกลยุทธ์ 7. ติดตามข่าวสาร /เป็นแบบอย่างในการนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอนและชีวิตประจำวัน และ 8. จัดสรรงบประมาณ จัดหาวัสดุ อุปกรณ์ และแหล่งเรียนรู้ด้านเทคโนโลยีดิจิทัล

References

กณิชชา ศิริศักดิ์. (2559). การวิจัยหลักสูตรวิชาชีพครูเพื่อพัฒนาแนวทางการส่งเสริมสมรรถนะดิจิทัล. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิตไม่ได้ตีพิมพ์]. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2562). นโยบายและจุดเน้นการจัดการศึกษา ของกระทรวงศึกษาธิการปีงบประมาณ 2562. สืบค้น 20 มิถุนายน 2566, จาก : https://www.moe.go.th/wp-content/uploads/2023/01/%E0%B8%99%E0%B9%82%E0%B8%A2%E0%B8%9A%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B9%81%E0%B8%A5%E0%B8%B0%E0%B8%88%E0%B8%B8%E0%B8%94%E0%B9%80%E0%B8%99%E0%B9%89%E0%B8%99%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%88%E0%B8%B1%E0%B8%94%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%A8%E0%B8%B6%E0%B8%81%E0%B8%A9%E0%B8%B2%E0%B8%82%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%97%E0%B8%A3%E0%B8%A7%E0%B8%8762.pdf

กรุณพล พราหมเภทย์. (2557). รูปแบบการจัดการความรู้เพื่อการพัฒนาครู : กรณีศึกษากลุ่มโรงเรียนน้ำผุดโพธาราม สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตรังเขต 1 [วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิตไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

จารุภา สังขารมย์. (2560). การพัฒนาสมรรถนะด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของผู้ปฏิบัติหน้าที่ประชาสัมพันธ์ระดับสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา (พิมพ์ครั้งที่ 1). บริษัท ด็อกคิวเมนท์ พลัส จำกัด.

ฐานิตา แก้วศรี. (2566). การใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในการปฏิบัติงานทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียน. วารสารวิจัย และพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา, 15 (2), 27-36. สืบค้นจาก https://so05.tci-thaijo.org/index.php/irdssru/article/view/266071

ณัฏฐา ผิวมา. (2558). การพัฒนาสมรรถนะด้านเทคโนโลยีสารสนเทศของนักศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต. วารสารปัญญาภิวัฒน์, 8 (ฉบับพิเศษ), 234-247.

นวพัฒน์ เก็มกาแมน. (2563). แนวทางการพัฒนาการรู้ดิจิทัลสำหรับครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 7. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิตไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

นัทธีรัตน์ พีระพันธุ์. (2561). การพัฒนาเครื่องมือประเมินสมรรถนะด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสารที่จำเป็นในการจัดการเรียนรู้สำหรับครูในศตวรรษที่ 21. วารสารวิชาการศึกษาศาสตร์, 19(1), 244-260.

บุญชม ศรีสะอาด. (2545). วิธีการสร้างสถิติสำหรับการวิจัย. สุวิริยาสาส์น.

พรทิพย์ ไชยพนารัตน์. (2564). แนวทางการพัฒนาสมรรถนะทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศในยุคดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษาโรงเรียนขยายโอกาส สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประถมศึกษาพิษณุโลก เขต 1. Journal of roi kaensarn academi., 6(9), 74-75. https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JRKSA/article/view/249839/169709

พรภวิษย์ อุ่นวิเศษ. (2564). ความสัมพันธ์ระหว่างสมรรถนะด้านเทคโนโลยีสารสนเทศของผู้บริหารกับประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 1 [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิตไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

เพชรรัตน์ วงค์คำ. (2562). แนวทางการพัฒนาสมรรถนะด้านการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศของครูโรงเรียนมัธยมศึกษา ในจังหวัดปทุมธานี.วารสารการบริหารการศึกษาและภาวะผู้นำ, 8(29), 71-75.

มุกดา อันศิริ. (2565). แนวทางการพัฒนาสมรรถนะทางเทคโนโลยีสารสนเทศของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาฬสินธุ์ เขต 2. วารสารการบริหารการศึกษาและภาวะผู้นำ, 11(41), 226-236.

วิชัย วงษ์ใหญ่ และมารุต พัฒผล. (2564). การเรียนรู้เชิงสร้างสรรค์ = Creative Learning (พิมพ์ครั้งที่ 1). จรัลสนิทวงศ์การพิมพ์

ศรีเพ็ญ พลเดช. (2561). สมรรถนะด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์, ใน อนันต์ พลธานี และคณะ (บ.ก.), มหาวิทยาลัยประกอบการในศตวรรษที่ 21: การพัฒนาการศึกษาด้านผู้ประกอบการและวิจัยเพื่อสังคมที่ยั่งยืน. รายงานสืบเนื่องจากการประชุมวิชาการระดับชาติและนานาชาติ ครั้งที่ 2 (น. 908-916). บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์.

สุมาลี เทียนทองดี. (2566). แนวทางการพัฒนาทักษะการสื่อสารและเทคโนโลยีในศตวรรษที่ 21 ของโรงเรียนในเครือข่ายศูนย์ฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา. วารสารวิชาการ ครุศาสตร์สวนสุนันทา,7(2), 25-34. https://so04.tci-thaijo.org/index.php/ssru-edu/article/view/264101

สุวิมล ว่องวาณิช. (2558). การวิจัยประเมินความต้องการจำเป็น (พิมพ์ครั้งที่ 4). สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-05-14