COMMUNICATION WITH POWER OPERATING SYSTEM HISTORICAL COMPARISON : THAI - NORTH KOREAN SOCIAL AND CULTURAL RECONCILIATION
Keywords:
Communication with Power, Operating System, Historical Comparison, Thai – North Korean Social and CulturalAbstract
การสื่อสารของรัฐที่ไร้ซึ่งอำนาจ คือการที่ประชาชนได้รับสารที่มีความกำกวมต่อทิศทางการบริหารประเทศของผู้นำองค์กรทางการเมืองสื่อมวลชนยังมีพลานุภาพในการเข้าถึงประชาชนผู้รับสาร ผู้ที่มีการศึกษาสูงมักแสวงหาข่าวสารทางการเมืองที่มีคุณภาพจากสื่อหนังสือพิมพ์เพื่อพิจารณาเข้าสู่การมีส่วนร่วมทางการเมือง การสำรวจประชามติเป็นตัวแปรหนึ่งที่มีอำนาจทางการสื่อสาร ตอกย้ำการตัดสินทางสังคมของผู้คนส่วนใหญ่ต่อการวาทกรรมและการกระทาของรัฐ แรงกดดันจากระบบปฏิบัติการอาจนำไปสู่สานึกที่ก่อตัวจากความเงียบโดยทวีความกดดันในสังคมเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ซึ่งคนที่เห็นต่าง หรือไม่กล้าแสดงออกจะหวาดกลัวการถูกรังเกียจเดียดฉันท์เพราะตนคิดแปลกแยกจากสังคม ความขัดแย้งจะค่อยๆขยายตัวสู่วงกว้างรอการปะทุ การเปรียบเทียบอดีตกับปัจจุบันถือเป็นอาวุธทางการสื่อสารที่มีพลานุภาพทำให้การขับเคลื่อนสิ้นข้อสงสัย แต่การเปรียบเทียบอดีตนั้นควรเปรียบเทียบบนฐานระบบปฏิบัติการเดียวกัน สานึกสังคมและ 1 อาจารย์ประจำสาขาวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม วิทยาเขตขอนแก่น วัฒนธรรมไทยสะท้อนสภาวะความเป็นไปของเกาหลีเหนือ การสื่อสารที่ครอบงำก่อให้เกิดภาพลักษณ์เชิงลบต่อผู้นำองค์กรทางการเมือง ทั้งนี้ เพราะประชาชนถูกหลอมจากสังคมวัฒนธรรมที่แตกต่าง ปฏิกิริยาตอบสนองจึงแตกต่างกัน ความกลัวหรือหลีกเลี่ยง และเบื่อหน่ายที่จะรับรู้ข่าวสารจากผู้นำองค์กรทางการเมืองทาให้การสื่อสารล้มเหลว ทว่า “ การเมืองแบบไทยต้องบริหารจัดการแบบไทยๆ” สะท้อนระบบการผลิตตามแนวสังคมนิยมสไตล์เกาหลีเหนือที่เน้นพึ่งตัวเองตามอุดมการณ์จูเช่โดยไม่หวังพึ่งพิงชาติใด ๆ ซึ่งราวนับสิบปีที่ผ่านมาในเกาหลีเหนือได้ทำให้ผลผลิตลดลง เศรษฐกิจลดต่าลงเรื่อยๆ เนื่องมาจากคนขาดกำลังใจในการทำงาน แต่ผู้นำเกาหลีเหนือยังปฏิเสธที่จะยอมรับแนวทางอื่น เพราะเกรงว่าระบบทุนนิยมจะเข้าไปทำลายรากฐานระบบเผด็จการเดิมลง
References
ดารง ฐานดี. (2555). เอกสารประกอบคาบรรยาย. เรื่องการเมืองการปกครองเปรียบเทียบ: จีนและเกาหลี. หลักสูตรการเมืองการปกครองในระบอบประชาธิปไตย. สถาบันพระปกเกล้า.
ตรัยรัตน์ ปลื้มปิติชัยกุล. (2559). อิทธิพลของการเปิดรับสื่อและการรับรู้ข่าวสารต่อการมีส่วนร่วมทางการเมืองของนักศึกษาเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารศาสตร์มหาบัณฑิต (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต).มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์).
ประจักษ์ ก้องกีรติ. (2558). ทาไมระบอบเผด็จการจึงประสบความสำเร็จในสังคมไทย. (รายงานการวิจัย). สืบค้นเมื่อวันที่ 2 มกราคม 2561, จาก https://themomentum.co/momentum-feature-dictatorship-prajak/. [Prajak Kongkeerati. (2016).
ผกาพรรณ หะรังษี. (2549). การกำหนดวาระสารในชุมชนออนไลน์ www.pantip.com กรณีศึกษาโต๊ะเฉลิมไทยและโต๊ะราชดาเนิน. วารสารศาสตร์มหาบัณฑิต (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
Almond, Gabriel A. and Powell. (1980). Comparative Politics Today: A World View. Boston: Little, brown & Co.Cohen, William (1971). Democracy. New York: The Free Press.
Campbell, Roald F. and Miller. (1954). Introduction to Educational Administration. (4 th). Boston: Allyn and Bacan.
Choi, Hyeon Cheol. and Samuel L’ Becker .(1987). Media Use Issue / Image Discriminations and Voting Communication Research. n.p.
Huntington, S. P. and G. Dominguez. (1975). Political Development. In Fred, G. and W. N. Polsby
(EDS.) Handbook Political Science : Non Government Politic. R. Massachusette: Addison Wesley.
Milbrath, L. W. and Goel. (1977). Political Participation: How and Why Do People Get Involved in Politics. 2d ed. Chicago: Rand McNally College Publishing Company.
Mullins, L. E. & McCombs. (1989). Agenda setting and the young voter. In The Emergence of American Political Issues: The Agenda Setting Function of the Press. New York: West.
Noelle-Neumann, E. (1974). The spiral of silence: a theory of public opinion. in Journal of Communication, 24 (2): 43-51.
Pakapan Harangsee. (2006). Setting Online Agenda. www.pantip.com Case Study Thai and Rajadamnern tables. Master of Journalism Master's thesis.
Robison, J. (1977). Employment and the Choice of Technique, Society and Change; repr. In Robinson
pp. 228-40.
Schramm, W. (1973). Channels and Audience in Handbook of Communication. Chicago: Rand McNally College.
Downloads
Published
Issue
Section
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิชาการ สถาบันเทคโนโลยีแห่งสุวรรณภูมิ
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับสถาบันเทคโนโลยีแห่งสุวรรณภูมิ และคณาจารย์ท่านอื่นๆในสถาบันฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว