ความตระหนักรู้เกี่ยวกับโรคสมองเสื่อมของประชาชนในเขตกรุงเทพมหานคร

ผู้แต่ง

  • วรรณา มุ่งทวีเกียรติ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยปทุมธานี
  • วลัยนารี พรมลา คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยปทุมธานี

คำสำคัญ:

พฤติกรรมสุขภาพ, ความตระหนักรู้เกี่ยวกับโรคสมองเสื่อม

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ เป็นการวิจัยเชิงบรรยาย (Descriptive Research Design) เพื่อศึกษาความตระหนักรู้เกี่ยวกับโรคสมองเสื่อมของประชาชนในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 126 คน (Power = .80, Effect Size = .25) เลือกกลุ่มตัวอย่างโดยวิธีแบบสะดวก (Convenient sampling) เครื่องมือที่ใช้ประกอบด้วย แบบบันทึกข้อมูลส่วนบุคคล แบบ สอบถามพฤติกรรมสุขภาพ และแบบสอบถามความตระหนักรู้เกี่ยวกับโรคสมองเสื่อม ตรวจสอบสอบความตรงของเครื่องมือของแบบสอบถาม เท่า กับ .87 และ .80 ตามลำดับ และตรวจสอบความเที่ยงได้ค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาครอนบาค เท่ากับ .83 และ .85 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าสถิติเชิงพรรณนา และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน

ผลการวิจัย พบว่า (1) พฤติกรรมสุขภาพของกลุ่มตัวอย่างโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง (Mean = 25.70, SD = .75) (2) ความตระหนักรู้เกี่ยวกับโรคสมองเสื่อม โดยรวมอยู่ในระดับสูง (Mean = 40.84, SD = .44) (3) พฤติกรรมสุขภาพ มีความสัมพันธ์ทางบวกในระดับปานกลางกับความตระหนักรู้เกี่ยวกับโรคสมองเสื่อมที่ระดับ .05 (r = .450)

References

นงลักษณ์ คำบัวตอง. (2553). วิเคราะห์สถานการณ์การดูแลผู้สูงอายุโรคสมองเสื่อมที่มารับบริการ ที่โรงพยาบาลสวนปรุง จังหวัดเชียงใหม่. (การค้นคว้าแบบอิสระพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสุขภาพจิตและการพยาบาลจิตเวช บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่).

บุญใจ ศรีสถิตย์นรากูร. (2550). ระเบียบการวิจัยทางพยาบาลศาสตร์. (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

พรสวรรค์ คำทิพย์ และ ชนกพร จิตปัญญา. ( 2557). ความสัมพันธ์ระหว่างความรู้ ความเชื่อ และความตระหนักรู้ด้านพฤติกรรมการปฏิบัติตัวของผู้ป่วยอายุน้อยที่เสี่ยงต่อโรคหลอดเลือดสมอง. วารสารพยาบาลตำรวจ. 6(2), 45 -55.

วิชัย เอกพลากร และคณะ.(บรรณาธิการ). (2553). สำนักงานสารวจสุขภาพประชาชนไทย. สถาบันวิจัย ระบบสาธารณสุขรายงานการสารวจสุขภาพ ประชาชนไทยโดยการตรวจร่างกาย ครั้งที่ 4 พ.ศ. 2551-2. นนทบุรี: บริษัทเดอะกราฟิโกซิสเต็มส์ จำกัด.

สิรินทร ฉันศิริกาญจน และคณะ. (2558). สมรรถนะสมองของผู้ใหญ่และผู้สูงอายุไทย : ปัจจัยเสี่ยงต่อภาวะสมองเสื่อม. วารสารพิษวิทยาไทย. 30(1). 41 – 59.

สุทัสสา ทิจะยัง. (2557). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการป้องกันโรคในผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยงโรคหลอดเลือดสมอง. (วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการพยาบาลเวชปฏิบัติชุมชน บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยคริสเตียน).

สุภา เกตุสถิตย์. (2554). พฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพของประชาชนกลุ่มเสี่ยงต่อการเป็นโรคหลอด เลือดสมอง อาเภอทุ่งตะโก จังหวัดชุมพร. (วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์, มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี).

สมจินต์โฉมวัฒนะชัย, และสมฤดี เนียมหอม. (2552). การศึกษาสภาพปัญหาในการดูแลผู้สูงอายุภาวะสมองเสื่อมในชุมชนจังหวัดนนทบุรี. สถาบันเวชศาสตร์ผู้สูงอายุ กรมการแพทย์กระทรวงสาธารสุข.

อุมาพร แซ่กอ และชนกพร จิตปัญญา. (2552). การศึกษาความตระหนักรู้ในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองกลุ่มเสี่ยงในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์. 6 (2), 13 -23.

Alzheimer’s Association. (2010). Alzheimer’s disease facts and fingures. Alzheimer’s Association Report.

Rosenstock, I.M. (1974). Historical Origin of Health Believe Model. Health Education Monographs : McGraw-Hill Book Company.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-06-27