อิทธิพลทางสังคมที่มีผลต่อนโยบายการเตรียมชุมชนเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

ผู้แต่ง

  • พภัสสรณ์ วรภัทร์ถิระกุล มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น

คำสำคัญ:

อิทธิพล, การส่งเสริม, การออกกำลังกาย, ผู้สูงอายุ

บทคัดย่อ

การศึกษาวิจัยในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ คือ (1) เพื่อศึกษาปัจจัยเชิงนโยบายด้านการส่งเสริมกิจกรรมทางกายของผู้สูงอายุในชุมชนตามมิติปัจจัยทางสังคม (2) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ปัจจัยการเชิงนโยบายตามมิติทางสังคมกับความต้องการทำกิจกรรมทางกายของผู้สูงอายุในชุมชน และ(3) เพื่อศึกษารูปแบบการเตรียมชุมชนเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กลุ่มตัวอย่างใช้ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นผู้สูงอายุทั้งหญิงและชายที่พักอาศัยในชุมชนเขตเทศบาลเมืองในจังหวัดที่ได้รับการสุ่มเป็นพื้นที่เป้าหมาย จำนวน 420 คน โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องเก็บรวบรวมข้อมูล ซึ่งมีสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย  ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์เปรียบเทียบความแตกต่างปัจจัยทางสังคม และการส่งเสริมการออกกำลังกายผู้สูงอายุ โดยใช้ (1) ค่า t-test ค่า F - test (2) ค่าไค-สแคร์ chi-square test (3) ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ (Correlation Coefficient) (4)ค่าถดถอยพหุคูณ (Multiple Hierarchy Regression Analysis) และ(5)วิเคราะห์องค์ประกอบสมการโครงสร้าง (Structural Equation  Modeling : SEM) ผลการวิจัยสรุปได้ ดังนี้

  1. ปัจจัยทางสังคมมีอิทธิพลต่อการออกกำลังกายของผู้สูงอายุ พบว่า ปัจจัยทางสังคมมีอิทธิพลต่อความต้องการเข้าร่วมกิจกรรมการออกกำลังกายของผู้สูงอายุ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ .01 โดยมีค่าน้ำหนักของตัวแปรเรียงจากมากไปหาน้อย คือ ระดับสังคมในชุมชน ระดับชุมชน ระดับองค์การ ระดับระหว่างบุคคล
  2. การเปรียบเทียบปัจจัยทางสังคม และการส่งเสริมการออกกำลังกายผู้สูงอายุของสูงอายุในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ แตกต่างกันที่นัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ.01 โดยมีค่าน้ำหนักของตัวแปรเรียงจากมากไปหาน้อย คือ การวางแผน การจัดองค์การ ด้านบุคคล การสั่งการ ด้านกระบวนการ การประสานงาน และด้านการจัดสถานที่
  3. รูปแบบการส่งเสริมการออกกำลังกายผู้สูงอายุ คือ การให้มีศูนย์ออกกำลังกายที่มีกิจกรรมการออกกำลังกายหลากหลายและสอดคล้องกับวิถีชีวิต มีสิ่งอำนวยความสะดวก บรรยากาศร่มรื่น พร้อมอุปกรณ์การออกกำลังกายที่เหมาะกับทุกกลุ่มวัย

References

กระทรวงสาธารณสุข. (2555). แผนพัฒนาสุขภาพแห่งชาติในช่วงแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม ฉบับที่ 11. นนทบุรี: องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก.

ขวัญหทัย ไตรพืช, พรทิพย์ มาลาธรรม, ขนิตฐา หาญประสิทธิ์คำ และ วิศาล คันธารัตนกุล. (2553). การสังเคราะห์งานวิจัยเกี่ยวกับการออกกำลังกายที่มีผลต่อการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดในผู้ที่เป็นเบาหวานชนิดที่ 2, รามาธิบดีพยาบาลสาร (Ramathibodi Nursing Journal, May - August 2010, 259-278.

คณะกรรมการส่งเสริมและประสานงานผู้สูงอายุแห่งชาติ. (2545). แผนผู้สูงอายุแห่งชาติฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2545-2564). กรุงเทพฯ: สำนักนายกรัฐมนตรี.

บุหลัน ทองกลีบ. (2550). บทบาทภาครัฐในการจัดสวัสดิการแก่ผู้สูงอายุในเขตกรุงเทพมหานคร. (ดุษฎีนิพนธ์ หลักสูตรปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (รัฐประศาสนศาสตร์), มหาวิทยาลัยรามคำแหง).

ปิยากร หวังมหาพร. (2546). นโยบายผู้สูงอายุของประเทศไทย. (ดุษฎีนิพนธ์รัฐศาสตรดุษฎีบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย).

พรรณี ปานเทวัญ. 2560. โมเดลเชิงนิเวศวิทยากับการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมสุขภาพ. กรุงเทพมหานคร: วิทยาลัยพยาบาลกองทัพบก.

สำนักสถิติสังคม. (2557). รายงานสำรวจประชากรสูงอายุในประเทศไทย พ.ศ.2557. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานสถิติแห่งชาติ.

อัจฉรา ปุราคม. 2552. การลงทุนด้านการส่งเสริมกีฬาและออกกำลังกายเพื่อสุขภาพในประเทศไทย (Online).https://www.rdi.ku.ac.th/kasetresearch54/GroupSocial/20- Atchara_pur/temp iate.html, 15 มกราคม 2560.

Hordern, MD1, D.W. Dunstan, J.B. Prins, M.K. Baker, M.A. Singh and J.S. Coombes. (2012). “Exercise prescription for patients with type 2 diabetes and pre-diabetes: a position statement from Exercise and Sport Science Australia”. J Sci Med Sport 15 (1): 25-31.

Van, R.A.J., P. Rheeder, C.J. Eales and P.J. Becker. 2004.“Effect of exercise versus relaxation on haemoglobin A1C in Black females with type 2 diabetes mellitus”. QJM. 97(6): 343-351.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-06-23