การประเมินความเสี่ยงอันตรายของฟูมโลหะในกระบวนการเชื่อมที่ส่งผลต่อการปฏิบัติงานของคนงาน
คำสำคัญ:
ฟูมในงานเชื่อม, โลหะหนัก, การประเมินความเสี่ยงบทคัดย่อ
การเชื่อมโลหะเป็นกระบวนการหลักที่สำคัญในโรงงานอุตสาหกรรมหลายประเภท แต่ในขณะเดียวกันนั้นก็เป็นแหล่งที่มาของการปล่อยไอฟูมพิษของโลหะหนัก เช่น โครเมียม ตะกั่ว นิกเกิล แคดเมียม และเบริลเลียม งานวิจัยชิ้นนี้ได้ทำการประเมินความเสี่ยงการรับสัมผัสโลหะหนักของคนงานจำนวน 7 คน โดยทำการประเมินจากสภาพแวดล้อม และพฤติกรรมของการปฏิบัติงานของคนงาน การวิเคราะห์ปริมาณความเข้มข้นของโลหะหนักจากองค์ประกอบของฟูมโลหะในงานเชื่อมวิเคราะห์โดยเทคนิค Inductively coupled plasma (ICP) ตามมาตรฐาน NIOSH Method 7301 พบว่าฟูมไม่มีส่วนประกอบของโลหะหนักประเภท เบริลเลียม แคดเมียม ตะกั่ว แต่ตรวจพบโครเมียม และนิกเกิล ความเข้มข้น 3.125 และ 2.75 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตรตามลำดับ ซึ่งถือว่าอยู่ในเกณฑ์ต่ำกว่าค่ามาตรฐานของ OSHA ที่กำหนดไว้ แต่ปริมาณโลหะที่ได้รับก็ยังคงสูงกว่าที่ประชากรทั่วไปได้รับ และจากการประเมินพฤติกรรมของคนงานที่พึงปฏิบัติเพื่อเป็นการเลี่ยงต่อการรับสัมผัสโลหะในขณะปฏิบัติงาน พบว่าคนงานส่วนมากไม่เคยปฏิบัติหรือไม่ได้ปฏิบัติอย่างสม่ำเสมอ ดังนั้นหากคนงานได้รับปริมาณโลหะเป็นระยะเวลานานสามารถส่งผลให้เกิดความเสียหายต่อสุขภาพในระยะยาว งานวิจัยนี้เป็นการประเมินความเสี่ยงต่อสุขภาพ เพื่อที่จะนำไปเป็นมาตรการบริหารความเสี่ยงสำหรับคนงานเชื่อม
References
Robert V. Albert, Fume generation in gas metal arc welding, University of New Hampshire, 1996.
Anthony T. Zimmer, Pratim Biswas, Characterization of the aerosols resulting from arc welding processes: Aerosol Science. 32 (2001) 993-1008
Renaud Persoons, Damien Arnoux, Théodora Monssu, Olivier Culié, Gaëlle Roche, Béatrice Duffaud, Denis Chalaye, Anne Maitre, Determinants of occupational exposure to metals by gas metal arc welding and risk management measures: A biomonitoring study, Toxicology Letters. 231 (2014) 135-141.
K. Yu. Kirichenko, V. A. Drozd, V. V. Chaika, A. V Gridasov, A. S. Kholodov, K. S. Golokhvast, Nano- and microparticles in welding aerosol: granulometric analysis, Physics Procedia 86 ( 2017) 50 – 53.
Olivera Popović, Radica Prokić-Cvetković, Meri Burzić, Uroš Lukić, Biljana Beljić, Fume and gas emission during arc welding :Hazards and recommendation, Renewable and Sustainable Energy Reviews 37 (2014) 509-516.
Antonini, J.M., Health effects of welding, Crit. Rev. Toxicol. 33 (2003) 61–103.
James M. Antonini, Sam Stone, Jenny R. Roberts, Bean Chen, Diane Schwegler-Berry, Aliakbar A. Afshari, David G. Frazer, Effect of short-term stainless steel welding fume inhalation exposure on lung inflammation, injury, and defense responses in rats, Toxicology and Applied Pharmacology 223 (2007) 234–245.
T. Wittczak, J. Walusiak, C. Palczynski, Welding-related respiratory diseases,Med. Pr. 60 (2009) 201–208.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิชาการ สถาบันเทคโนโลยีแห่งสุวรรณภูมิ
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับสถาบันเทคโนโลยีแห่งสุวรรณภูมิ และคณาจารย์ท่านอื่นๆในสถาบันฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว