การพัฒนามาตรวัดเจตคติต่อวิชาชีพครูตามโมเดลการตอบสนองข้อสอบแบบพหุมิติ: การทดสอบปรับเหมาะแบบพหุมิติด้วยคอมพิวเตอร์

ผู้แต่ง

  • ชญารัตน์ บุญพุฒิกร, เสรี ชัดแช้ม, ปิยะทิพย์ ประดุจพรม

คำสำคัญ:

มาตรวัดเจตคติต่อวิชาชีพครู, โมเดลการตอบสนองข้อสอบแบบพหุมิติ, การทดสอบปรับเหมาะแบบพหุมิติด้วยคอมพิวเตอร์

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนามาตรวัดเจตคติต่อวิชาชีพครูตามโมเดลการตอบสนองข้อสอบแบบพหุมิติ 2) จัดทำคลังข้อคำถามสำหรับมาตรวัดเจตคติต่อวิชาชีพครู 3) พัฒนาโปรแกรมการทดสอบปรับเหมาะแบบพหุมิติด้วยคอมพิวเตอร์สำหรับมาตรวัดเจตคติต่อวิชาชีพครู และ 4) ศึกษาความสัมพันธ์ของผลการประมาณค่าเจตคติต่อวิชาชีพครูจากผลการทดสอบด้วยโปรแกรมการทดสอบปรับเหมาะแบบพหุมิติด้วยคอมพิวเตอร์กับผลการทดสอบโดยใช้ข้อคำถามทั้งหมดในคลังข้อคำถาม กลุ่มตัวอย่าง เป็น นิสิต นักศึกษา หลักสูตรทางการศึกษา ชั้นปีที่ 4 ปีการศึกษา 2560 ในสถาบันอุดมศึกษาของรัฐ 17 สถาบัน จำนวน 952 คน ได้มาจากการสุ่มแบบหลายขั้นตอน

            ผลการวิจัยปรากฏว่า

  1. มาตรวัดเจตคติต่อวิชาชีพครูประกอบด้วย ข้อคำถาม จำนวน 97 ข้อ แบ่งออกเป็น 3 องค์ประกอบ คือ ด้านปัญญา ด้านอารมณ์ความรู้สึก และด้านพฤติกรรม ผลการตรวจสอบความเที่ยงของมาตรวัดด้วยการวิเคราะห์แบบพหุมิติ (EAP Reliability) มีค่าเท่ากับ .935, .953 และ .960 ตามลำดับ ผลการตรวจสอบความตรงเชิงโครงสร้างปรากฏว่า โมเดลการวัดเจตคติต่อวิชาชีพครูแบบพหุมิติระหว่างข้อมีความเหมาะสมมากกว่าโมเดลการวัดแบบเอกมิติรวมและแบบเอกมิติแยกตามมิติ และผลการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันโมเดลมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ (x2= 70.37, = 69, = .43, = 0.00) เกณฑ์ปกติสำหรับมาตรวัดเจตคติต่อวิชาชีพครูประกอบด้วย ตำแหน่งเปอร์เซ็นต์ไทล์ คะแนนซี คะแนนที และสเตไนน์ ซึ่งแบ่งระดับเจตคติต่อวิชาชีพครูออกเป็น 5 ระดับ (ดีมาก ดี ปานกลาง ค่อนข้างไม่ดี และ ไม่ดี)
  2. คลังข้อคำถามแบ่งออกเป็น 3 คลังย่อย ได้แก่ ด้านปัญญา จำนวน 31 ข้อ ด้านอารมณ์ความรู้สึก จำนวน 32 ข้อ และด้านพฤติกรรม จำนวน 34 ข้อ
  3. โปรแกรมการทดสอบปรับเหมาะแบบพหุมิติด้วยคอมพิวเตอร์สำหรับมาตรวัดเจตคติต่อวิชาชีพครูมีความเหมาะสมในการนำไปใช้งานอยู่ในระดับมาก
  4. ผลการประมาณค่าเจตคติต่อวิชาชีพครูด้วยโปรแกรมการทดสอบปรับเหมาะแบบพหุมิติด้วยคอมพิวเตอร์กับผลการทดสอบด้วยข้อคำถามทั้งหมดในคลังข้อคำถามมีความสัมพันธ์กันทางบวก โดยมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ เท่ากับ 0.34 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

References

ข้อบังคับคุรุสภาว่าด้วยจรรยาบรรณของวิชาชีพ. (2556, 4 ตุลาคม). ราชกิจจานุเบกษา. หน้า 72-74.

สุชาดา สกลกิจรุ่งโรจน์, เสรี ชัดแช้ม และ ม.ร.ว. สมพร สุทัศนีย์. (2558). การพัฒนาโปรแกรม การทดสอบแบบปรับเหมาะด้วยคอมพิวเตอร์ สาหรับมาตรวัดความสุขของคนไทย. วิทยาการวิจัยและวิทยาการปัญญา, 13(1), 1-17

Adams, R. J., Wilson, M., & Wang, W. C. (1997). The multidimensional random coefficients multinomial logit model. Applied Psychological Measurement, 21(1), 1-23.

Allen, D. D., & Wilson, M. (2006). Introducing multidimensional item response modeling in health behavior and health education research. Health Education Research, 21(suppl_1), i73-i84.

De Ayala, R. J. (2009). The Theory and Practice of Item Response Theory. New York: The Guildford Press.

Edmonds, W. A., & Kennedy, T. D. (2017). An applied reference guide to research designs: Quantitative, qualitative, and mixed methods (2nded.). Thousand Oaks, California: Sage Publications.

Embetson, S. E., & Reise, S. P. (2000). Item response theory for psychologists. Mahwah, New York: Lawrence Erlbaum.

Frey, A., & Seitz, N. N. (2009). Multidimensional adaptive testing in educational and psychological measurement: Current state and future challenges. Studies in Educational Evaluation, 35(2), 89-94.

Garcia Nascimento Graveto, J. M., Martins Cardoso, R. J., & Dias Zamith Silva, F. A. (2015). Construction and Validation of the Escala de Comportamentos de Abordagem aos Média por Enfermeiros (Scale of Media Use Behaviours by Nurses). Revista de Enfermagem Referência, 4(7), 61-70.

Gravetter, F. J., & Forzano, L. B. (2012). Research Methods for the Behavioral Sciences (4th ed.). Canada: Wadsworth Cengage Learning.

Hajjar, S. T. E. (2018). Statistica analysis: Internal- consistency reliability and construct validity. International Journal of Quantitative and Qualitative Research Methods, 6(1), 46-57.

Hogg, M. A., & Cooper, J. (Eds.). (2003). The Sage handbook of social psychology. New York: Psychology Press.

Kuo, B. C., Daud, M., & Yang, C. W. (2015). Multidimensional computerized adaptive testing for Indonesia junior high school biology. Eurasia Journal of Mathematics, Science and Technology Education, 11(5), 1105-1118.

Maio, G., & Haddock, G. (2014). The psychology of attitudes and attitude change. London: Sage Publications Ltd.

Polit, D.F., Beck, C.T. (2008). Nursing Research: Generating and Assessing Evidence for Nursing Practice (8th ed). Philadelphia: Lippincott Williams & Wilkins.

Pratkanis, A. R., Breckler, S. J., & Greenwald, A. G. (1989). Attitude structure and function. Psychology Press.

Reckase, M. (2009). Multidimensional item response theory (Vol. 150). New York, New Jersey: Springer.

Renthlei, M. L., & Malsawmi, H. (2015). Construction of an Attitude Scale towards Teaching Profession: A Study among Secondary School Teachers in Mizoram. Art, Humanities and Management, 1(4), 29-36.

Reynolds, C. R., & Livingston, R. B. (2012). Mastering modern psychological testing: Theory and methods. Upper Saddle River, New Jersey: Pearson Education.

Thompson, N. A., & Weiss, D. J. (2011). A Framework for the Development of Computerized Adaptive Tests. Practical Assessment, Research & Evaluation, 16(1). Available online: https://pareonline.net/getvn.asp?v=16&n=1.

Veldkamp, B. P., & Matteucci, M. (2013). Bayesian computerized adaptive testing. Ensaio: Avaliação e Políticas Públicas em Educação, 21(78), 57-82.

Wainer, H., Dorans, N., Eignor, D., Flaugher, R., Green, B. F., Mislevy, R. J., & Steinberg, L. (2001). Computerized adaptive testing: A primer. Qual Life Res, 10(8), 733-734.

Weiten, W. (2013). Psychology: Themes and variations: Themes and variations (9nd ed.). Las Vegas: Cengage Learning.

Wright, B. D., Linacre, J. M., Gustafson, J. E., & Martin-Lof, P. (1994). Reasonable mean-square fit values. Rasch Measurement Transactions, 13(3), 122-128.

Wu, M. L., Adams, R. J., Wilson, M., & Haldane, S. A. (2007). ACER ConQuest: Generalized item response modelling software. Camberwell. Victoria: ACER Press.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-06-23