ความสัมพันธ์ระหว่างความฉลาดทางสุขภาพและปัจจัยส่วนบุคคลกับพฤติกรรมสุขภาพ ในกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง ตำบลตลาด อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา
คำสำคัญ:
ความฉลาดทางสุขภาพ, พฤติกรรมสุขภาพ, โรคความดันโลหิตสูงบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา แบบภาคตัดขวาง (cross sectional study) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมสุขภาพในกลุ่มเสี่ยงโรคความดัน โลหิตสูง ตำบลตลาด อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 300 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลทั่วไปโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์ สถิติการทดสอบไคสแควร์ (Chi-Square Test) และสถิติสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน (Pearson’s Product Moment Correlation Coefficient)
ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ร้อยละ 60.0 เพศชาย ร้อยละ 40.0 อายุเฉลี่ย 34.43 ปี ดัชนีมวลกายเฉลี่ย 38.12 กก./ม.2 มีสถานภาพสมรส ร้อยละ 49.0 การศึกษาต่ำกว่ามัธยมศึกษา ร้อยละ 50.7 มีอาชีพนอกภาคเกษตรกรรม (ค้าขาย, รับจ้าง) ร้อยละ 48.7 มีรายได้ต่อเดือนเฉลี่ย 9,155.67 บาท กลุ่มตัวอย่างมีความรู้ ความเข้าใจด้านสุขภาพอยู่ในระดับสูง ร้อยละ 54.7 การเข้าถึงข้อมูลด้านสุขภาพอยู่ในระดับปานกลาง ร้อยละ 43.3 การสื่อสารข้อมูลสุขภาพอยู่ในระดับปานกลาง ร้อยละ 47.0 การจัดการตนเองด้านสุขภาพอยู่ในระดับต่ำ ร้อยละ 39.7 การรู้เท่าทันสื่อด้านสุขภาพอยู่ในระดับปานกลาง ร้อยละ 49.0 การตัดสินใจด้านสุขภาพในระดับดี ร้อยละ 72.3 และพฤติกรรมสุขภาพอยู่ในระดับปานกลาง ร้อยละ 68.0 โรคความดันโลหิตสูง ได้แก่ การเข้าถึงข้อมูลด้านสุขภาพ การสื่อสารข้อมูลสุขภาพ การจัดการตนเองด้านสุขภาพ การรู้เท่าทันสื่อด้านสุขภาพ และการตัดสินใจด้านสุขภาพ มีความสัมพันธ์เชิงบวกกับพฤติกรรมสุขภาพของกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r = .176, .211, .349, .243 และ .188, P-value < .05)
References
กัลยารัตน์ แก้ววันดี วราภรณ์ ศิริสว่าง และจิติมา กตัญญู. (2556). “ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเองของประชาชนกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลหนองยาว อำเภอเวียงหนองล่อง จังหวัดลำพูน”. การประชุมสัมมนาวิชาการการนำเสนอ งานวิจัยระดับชาติและนานาชาติเครือข่ายบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏภาคเหนือ ครั้งที่ 15. วันที่ 23 กรกฎาคม 2558 ณ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์. นครสวรรค์.
รายงานการเฝ้าระวังโรค กระทรวงสาธารณสุข. (2558). โรคความดันโลหิตสูง. [ออนไลน์]. แหล่งที่มา : http://www.203.157.71.139/group_sr/allfile/1425279191.pdf. [12 ธันวาคม 2560].
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลกระฉอด. (2560). ข้อมูลการคัดกรองกลุ่มเสี่ยงความดันโลหิตสูง โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลกระฉอด ตำบลตลาด อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา. ณ เดือนธันวาคม 2530.
สุภาพ พทธปัญโญ นิจฉรา ทูลธรรม และนันทิพัฒน์ พัฒนโชติ. (2559). “ประสิทธิผลของโปรแกรมพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพต่อความฉลาดทางสุขภาพของบุคลากรที่มีภาวะโภชนาการเกินในโรงพยาบาลร้อยเอ็ด อำเภอเมือง จังหวัดร้อยเอ็ด”. วารสารการพยาบาลและการศึกษา. Vol. 9(4) : 42-59.
หทัยกานต์ ห้องกระจก. (2559). อิทธิพลของความแตกฉานด้านสุขภาพ การรับรู้ สมรรถนะแห่งตน และการสื่อสารระหว่างผู้ป่วยกับบุคลากรสุขภาพต่อพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงปฐมภูมิ. วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต (การพยาบาลผู้ใหญ่) มหาวิทยาลัยบูรพา. อัดสำเนา.
อาเนช โออิน. (2559). “ความฉลาดทางสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพของคนไทยที่มีอายุ 15 ปขึ้นไป อําเภอนาโยง จังหวัดตรัง”. วารสารการวิจัยการพัฒนาการบริหาร, Vol. 9(1).113-132.
World Health Organization. (2014). A global brief on hypertension. Geneva: World Health Organization : WHO.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิชาการ สถาบันเทคโนโลยีแห่งสุวรรณภูมิ
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับสถาบันเทคโนโลยีแห่งสุวรรณภูมิ และคณาจารย์ท่านอื่นๆในสถาบันฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว