สมรรถนะของผู้จัดการทรัพยากรมนุษย์สัมพันธ์กับประสิทธิภาพและผลการปฏิบัติงานของบุคลากรโรงงานอุตสาหกรรมการผลิตจังหวัดปทุมธานี
คำสำคัญ:
สมรรถนะ, ประสิทธิภาพการ ปฏิบัติงาน, ผลการปฏิบัติงานบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ
1) ศึกษาระดับสมรรถนะของผู้จัดทรัพยากรมนุษย์ 2) ศึกษาระดับประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของบุคลากร 3) ศึกษาระดับผลการปฏิบัติงานของบุคลากร 4) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างสมรรถนะของผู้จัดการทรัพยากรมนุษย์ ประสิทธิภาพการปฏิบัติงาน และผลการปฏิบัติงานของบุคลากรโรงงานอุตสาหกรรมการผลิตจังหวัดปทุมธานี จำนวนโรงงานทั้งหมดรวม 3,776 แห่ง สุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง ได้โรงงานมาทั้งหมด 30 แห่ง คำนวณขนาดตัวอย่างตามสูตรของ Cochran,W.G. (1953) ซึ่งเป็นวิธีคำนวณแบบไม่ทราบจำนวนประชากร ได้กลุ่มตัวอย่าง 385 คน และได้เก็บข้อมูลจากบุคลากรโรงงานอุตสาหกรรมการผลิต แห่งละ 13 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสอบถาม ค่าดัชนีความสอดคล้อง (IOC) มีค่า 0.954 ถึง 1.00 ค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .923 และเป็นการวิจัยเชิงปริมาณ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน
ผลการศึกษาพบว่า
1) ระดับความสำคัญของสมรรถนะผู้จัดการทรัพยากรมนุษย์ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านการทำงานเป็นทีม มีระดับความสำคัญสูงสุด รองลงมา คือด้านการมุ่งผลสัมฤทธิ์ ด้านจริยธรรม ด้านทักษะ ด้านคุณลักษณะ ด้านความเชี่ยวชาญ และด้านความรู้
2) ระดับความสำคัญของประสิทธิภาพการปฏิบัติงาน โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านปริมาณงาน มีระดับความสำคัญสูงสุด รองลงมา คือด้านคุณภาพงาน ด้านค่าใช้จ่ายและด้านเวลา
3) ระดับความสำคัญของผลการปฏิบัติงาน โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านประสิทธิผลของงาน มีระดับความสำคัญสูงสุด รองลงมา คือด้านความพึงพอใจในงาน และความสามารถเกี่ยวกับงาน
4) สมรรถนะของผู้จัดการทรัพยากรมนุษย์มีความสัมพันธ์กับประสิทธิภาพการปฏิบัติงานในทางบวกในระดับปานกลาง (r = .636) สมรรถนะของผู้จัดการทรัพยากรมนุษย์มีความสัมพันธ์กับผลการปฏิบัติงานทางบวกในระดับปานกลาง (r = .601) และประสิทธิภาพการปฏิบัติงานมีความสัมพันธ์กับผลการปฏิบัติงานทางบวกในระดับปานกลาง (r = .554) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
References
ณัฐพร ฉายประเสริฐ, นิธิมา ยืนยงและพงศ์ธวัช จันทบูลย์. (2560). ความสัมพันธ์ระหว่างการจัดการทรัพยากรมนุษย์กับประสิทธิภาพการปฏิบัติงาน ของพนักงานโรงงานอุตสาหกรรม จังหวัดปทุมธานี.วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยธนบุรี, Vol 11, No 25 (2017): พฤษภาคม – สิงหาคม 2560.
ทำเนียบโรงงานอุตสาหกรรมจังหวัดปทุมธานี.(2560). www.industry.go.th/pathumthani/ ข้อมูล ณ วันที่ 2 มีนาคม 2560.
ประเวศน์ มหารัตน์สกุล. (2550). การจัดการทรัพยากรมนุษย์: มุ่งสู่อนาคต.กรุงเทพฯ: พิมพ์ตะวัน.รายงานประมาณการเศรษฐกิจ.(2560). จังหวัดปทุมธานี สำนักงานคลังจังหวัดปทุมธานี (ฉบับที่ 4/2560).
แผนพัฒนาอุตสาหกรรมอุตสาหกรรม ระยะ 20 ปี (พ.ศ. 2555-2574). แนวทางการพัฒนาอุตสาหกรรม ระยะ 20 ปี. (พ.ศ. 2555-2574).
วีระวัฒน์ (2553). บทบาทสมรรถนะ และความเป็นมืออาชีพของนักทรัพยากรมนุษย์ไทย: วิกฤตเงียบท่ามกลางความดื้อรั้นในธรรมเนียมปฏิบัติ. วารสารพัฒนบริหารศาสตร์ NIDA Development Journal.
สำนักงานคลังจังหวัดปทุมธานี (2561). รายงานภาวะเศรษฐกิจจังหวัดปทุมธานี. www.cgd.go.th/cs/ptt/ptt/ เดือนพฤษภาคม 2561.
Alldredge, M. E., & Nolan, K. J. (2000). 3M’s leadership competency model: An internally developed solution. Human Resource Management, 39, 133–145.
Amirul, and H.N. Daud. (2012). A study on the relationship between leadership styles and leadership effectiveness in Malaysian GLCs. European journal of business and management, 4 (8), 193-201.
Barnard, C. I. (2013). Advanced in Organization and Management Theories. (Online).Available:http://www.rungdba-04.blogspot.com/2012/09/chester-barnard.html.15 August 2013.
Bohlander, G., Snell, S. & Sherman, A. Managing human resources. New York: South- Western College. 2010.
Campbell, Steven J. Armstrong. (2013) .A longitudinal study of individual and organizational Learning. The Learning Organization, Vol. 20 Issue: 3, pp.240-258.
Cancelliere, C., Cassidy, D. J., Ammendolia, C., & Côté, P. (2011). Are workplace health promotion programs effective at improving presenteeism in workers A systematic review and best evidence synthesis of the literature. BMC Public Health, 11:395.
Certo, Samuel C. (2000). Modern management. New Jersey: Prentice-Hall. Cochran, W.G. (1953). Sampling Techniques. New York : Johe Wiley & Sons. Inc.
Colvin, A. J. S. & Boswell, W. R. (2007). The problem of action and interest alignment: Beyond job requirements and incentive compensation [Electronic version]. Retrieved from Cornell University, ILR School site:http://digitalcommons.ilr. cornell.edu/ articles /579
Dizgah, Mehrdad Goudarzvand Chegini, Farzin Farahbod, Sajjad Salehi Kordabadi. (2011). Employee Empowerment and Organizational Effectiveness in the Executive Organizations. Journal of Basic and Applied Scientific Research, J. Basic. Appl. Sci. Res., 1(9)973-980, 2011.
Fiore, S.M.,Rosen, M. A., Pavlas, D. (2012). Conceptualizing cognition at multiple levels in support of training team cognitive readiness. Proceedings of the Human Factors and Ergonomics Society (Pages448-452).
Forster, David.,et al. (2000). Career Assignment Program (Cap) Competency Development Resource Guide. Canada: Public Service Commission of Canada. Retrieved December 11, 2005.
Geary & Dobbins, (2001). Team working: a new dynamic in the pursuit of management control. Human Resource Management Journal Volume 11, Issue 1, Version of Record online: 24 AUG 2006.
Grigoryev, P. 2006. Hiring by Competency Models. The Journal for Quality and Participation; 29(4).
Hellriegel, Don., Jackson Susan E., Slocum, John W. (2001). Management: A Competency Based Approach, 9th ed. United State of America: Thompson, South- Western Educational Publishing.
Kaprinis Stylianos. (2013). Employee performance appraisal in health clubs and sport Organizations: a review. American Journal of Sports Science 2013; 1(4): 44-57.
Kennedy, Peter W.; Dresser, Sandy Grogan. (2009). Creating a Competency-Based Workplace. Benefits & Compensation Digest; Feb2005, Vol. 42 Issue 2, p1.
Koopmans, L.C., Bernards, V. Hildebrandt, S. Van Buuren, A.J. van der Beek and H.C.W. de Vet. (2013). Development of an individual work performance questionnaire. International journal of productivity and performance management, 62(1),(2013),6-28.
Lawler, E.E. III, S.A. Mohrman, and G.E. Ledford, Jr. (1992). Employee Involvement and Total Quality Management: Practices and Results in Fortune 1000 Companies. San Francisco: Jossey-Bass.
Mathis and Jackson. (2003). Human Resource Management. (10thed.) Thomson-South Western.
McClelland, D.C. (1999). Testing for competence rather than intelligence. American Psychologist, (28), 1-14.
Nai-Wen Chi., & Carol Yeh-Yun Lin, (2010. Beyond the High -Performance Paradigm: Exploring the Curvilinear Relationship between High-performance Work System and Organizational Performance in Taiwanese Manufacturing Firms. British Journal of Industrial Relations. 49(3). 486-514.
Plowman, E., & Peterson, C. (1989). Business organization and management. Illinois: Irwin.
Sedera, Darshana & Gable, Guy. (2010). Knowledge management competence for Enterprise System success. The Journal of Strategic Information Systems, 19(4), pp. 296-306.
Scott B. Parry. (1998). The Quest for Competencies. Journal of Training, pp. 48-56.
Voom, H. V., & L. Edward Deci. (1997). Management and motivation. New York: Penguin Book.
Zeinabadi, H. (2010). Job satisfaction and organizational commitment as antecedents of Organizational behavior of teachers. Procedia Social and Behaviors Sciences, 5, 998-1003.
Zwell, M. (2000). Creating a Culture of Competence. New York : John Wiley and Sons, Inc.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิชาการ สถาบันเทคโนโลยีแห่งสุวรรณภูมิ
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับสถาบันเทคโนโลยีแห่งสุวรรณภูมิ และคณาจารย์ท่านอื่นๆในสถาบันฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว