โปรแกรมส่งเสริมสุขภาพของผู้สูงอายุชาวมอญ จังหวัดปทุมธานี

ผู้แต่ง

  • นฤนาท ยืนยง, วลัยนารี พรมลา

คำสำคัญ:

ผู้สูงอายุชาวมอญ, โปรแกรมการส่งเสริมสุขภาพ, ความรู้, ทัศนคติ, พฤติกรรม

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นงานวิจัยกึ่งทดลอง  (Quasi Experimental Research) เพื่อศึกษา โปรแกรมส่งเสริมสุขภาพของผู้สูงอายุชาวมอญ จังหวัดปทุมธานี ได้แก่ ความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมการส่งเสริมสุขภาพ ของผู้สูงอายุชาวมอญ จังหวัดปทุมธานี จำนวน 30 คน เลือกกลุ่มตัวอย่างโดยการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ประกอบด้วย แบบบันทึกข้อมูลส่วนบุคคล แบบสอบถามความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมการส่งเสริมสุขภาพ และโปรแกรมส่งเสริมสุขภาพ ตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาของโปรแกรมส่งเสริมสุขภาพ มีค่าเท่ากับ .76 แบบสอบถามทัศนคติต่อการส่งเสริมสุขภาพ และแบบสอบถามแบบสอบถามพฤติกรรมการส่งเสริมสุขภาพ ตรวจสอบสอบความเที่ยงมีค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาครอนบาค มีค่าเท่ากับ .78  และ .80 ตามลำดับและแบบสอบถามความรู้เกี่ยวกับการส่งเสริมสุขภาพ นำไปหาค่าความเชื่อมั่น KR 20 ได้ค่าความเชื่อมั่น .72   วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าสถิติเชิงพรรณนา และสถิติเปรียบเทียบ  (t- test dependent) 

ผลการวิจัย

ผลการวิจัย พบว่า โปรแกรมส่งเสริมสุขภาพ ได้แก่ ความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมการส่งเสริมสุขภาพ ของผู้สูงอายุชาวมอญ จังหวัดปทุมธานี หลังการทดลองสูงกว่าก่อนทดลอง ดังนี้

  1. ความรู้เกี่ยวกับการส่งเสริมสุขภาพ อยู่ในระดับมากเพิ่มขึ้นหลังการได้รับโปรแกรม จากร้อยละ 70 เป็นร้อยละ 88 (ก่อน Mean = 18.75, S.D. = .50, หลัง Mean = 25.00, S.D. = .55) และทดสอบค่าที พบว่าความรู้เกี่ยวกับการส่งเสริมสุขภาพก่อนและหลังทดลองมีความแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (t= 2.88, P=.01)
  2. ทัศนคติต่อการส่งเสริมสุขภาพของผู้สูงอายุชาวมอญ อยู่ในระดับมาก เพิ่มขึ้นหลังจากการได้รับโปรแกรมจากร้อยละ 80 เป็นร้อยละ 85 (ก่อน Mean = 2.70, S.D. = .50, หลัง Mean = 2.90, S.D. = .40) และทดสอบค่าที พบว่า ทัศนคติเกี่ยวกับการส่งเสริมสุขภาพก่อนและหลังได้รับโปรแกรมมีความแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (t= 2.04, P=.01)
  3. พฤติกรรมการส่งเสริมสุขภาพของผู้สูงอายุชาวมอญ อยู่ในระดับดี เพิ่มขึ้นหลังจากการได้รับโปรแกรมจากร้อยละ 75 เป็นร้อยละ 90 (ก่อน Mean = 2.50, S.D. = .60, หลัง Mean = 2.89, S.D. = .50) และทดสอบค่าที พบว่า พฤติกรรมการส่งเสริมสุขภาพก่อนและหลังมีความแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (t= 3.04, P=.01)

References

นิภารัตน์ ศรีรักษ์. (2557). ผลของโปรแกรมการส่งเสริมสุขภาพต่อพฤติกรรมสุขภาพของผู้สูงอายุในชมรมผู้สูงอายุบ้านน้าขาว ตำบลกายูคละ อำเภอแว้ง จังหวัดนราธิวาส. วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา.

บุญใจ ศรีสถิตย์นรากูร. (2550). ระเบียบการวิจัยทางพยาบาลศาสตร์ (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ:จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

บุญเอื้อ ยงวานิชากร และ ปิยะดา ประเสริฐสม. (2554). ความสัมพันธ์ของปัจจัยสุขภาพต่อคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ. วิทยาสารทันตสาธารณสุข, 16 (1). 57 -74.

ปานชีวา ณ หนองคาย. (2551). การพัฒนารูปแบบการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมเพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพผู้สูงอายุในจังหวัดอุดรธานี.ปริญญานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาสิ่งแวดล้อมศึกษา, บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัย มหาสารคาม.

ปิ่นนเรศ กาศอุดม และมัณฑนา เหมชะญาติ. (2554). ผลของโปรแกรมการส่งเสริมพฤติกรรมสุขภาพของผู้สูงอายุในเขตเทศบาลตำบลบางกะจะ อำเภอเมือง จังหวัดจันทบุรี.วารสารวิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า. 22(2), 61 – 70.

ร่างยุทธศาสตร์การวิจัยรายสาขา : ด้านสังคมผู้สูงอายุ พ.ศ. ๒๕๕๖-๒๕๕๙.สืบค้นเมื่อ 20 มิถุนายน 2559, จาก http://www.dmh.go.th

วรรณวิมล เมฆวิมล. (2553). รายงานวิจัย พฤติกรรมการดูแลสุขภาพของประชาชนในพื้นที่ฝึกปฏิบัติงานของ นักศึกษาสาขาวิชาการแพทย์แผนไทยประยุกต์ คณะวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา. มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.

วิชัย เอกพลากร วราภรณ์ เสถียรนพเก้า และศักดา พรึงลำภู . (2553). การสำรวจด้านโภชนาการ การสำรวจสุขภาพประชาชนไทยโดยการตรวจร่างกายครั้งที่ 4 พศ 2551-2552.นนทบุรี : สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข

สุวรรณา สุวรรณผล และวลัยนารี พรมลา. (2559). พฤติกรรมการดูแลสุขภาพ และการสนับสนุนทางสังคมต่อคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุชาวมอญ จังหวัดปทุมธานี. วารสารสถาบันเทคโนโลยีแห่งสุวรรณภูมิ. 3(2), 67-78.

อรวรรณ แผนคง และสุนทรีย์ คำ เพ็ง. (2551). ผลของการส่งเสริมสุขภาพโดยใช้ชุมชนเป็นฐานต่อพฤติกรรมการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุและความพึงพอใจในการมีส่วนร่วมของผู้ที่ให้การดูแลผู้สูงอายุ. รายงานการวิจัย.

Bloom S.B. (1975). Taxonomy of EducationObjective, Hand Book I : CognitiveDomain. New York : David MackayCo., Inc.

Chen H, Chunharas S. (2009). Introduction to Special Issue on “Population Aging in Thailand”. AgeingInt. 33, 1-2.

Pender, N.J., Murdaugh, C.L. & Parsons, M.A. (2002). Health Promotion in Nursing Practice. 4th (ed). New Jersey : Pearson Education, Inc.

Pender, N.J., Murdaugh, C.L. & Parsons, M.A . (2006). Health Promotion in Nursing Practice. 5th (ed). New Jersey : Pearson Education, Inc.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-06-29

ฉบับ

บท

บทความวิจัย