A STUDY OF THE SELF-DIRECTED LEARNING READINESS OF THE FIRST YEAR NURSING STUDENTS OF GOVERNMENT COLLEGE AND PRIVATE UNIVERSITY

Authors

  • วรรณา มุ่งทวีเกียรติ Faculty of Nursing in pathumthani

Keywords:

Self-directed learning readiness, First year nursing students, Government College and Private University

Abstract

การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงเชิงพรรณนา (Descriptive research) เพื่อเปรียบเทียบความพร้อมในการเรียนรู้ด้วยการนำตนเองของนักศึกษาพยาบาลชั้นปีที่ 1 ระหว่างสถาบันอุดมศึกษารัฐบาลและเอกชน และเพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความพร้อมในการเรียนรู้ด้วยการนำตนเองของนักศึกษาพยาบาลชั้นปีที่ 1 ในสถาบันอุดมศึกษารัฐบาลและเอกชน ตัวอย่างเป็นนักศึกษาพยาบาลชั้นปีที่ 1 จำนวน 156 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถามปัจจัยที่สัมพันธ์กับความพร้อมในการเรียนรู้ด้วยการนำตนเอง และแบบสอบถามความพร้อมในการเรียนรู้ด้วยการนำตนเอง ตรวจสอบความเที่ยงของเครื่องมือทั้งหมดโดยใช้สัมประสิทธิ์แอลฟ่าของครอนบาครายด้านอยู่ระหว่าง .68 ถึง .91 นำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์ โดยคำนวณหาความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติทดสอบสมมุติฐานคือ ค่าสถิติ ที (Independent t-test) และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียรสัน (Pearson’s product moment correlation coefficient)

            ผลการวิจัยพบว่าความพร้อมในการเรียนรู้ด้วยการนำตนเองของนักศึกษาพยาบาลชั้นปีที่ 1 อยู่ในระดับสูง ทั้งในสถาบันอุดมศึกษารัฐบาล (M = 3.64, SD = 0.47) และสถาบันอุดมศึกษาเอกชน (M = 3.80, SD = 0.56) ผลการเปรียบเทียบความพร้อมในการเรียนรู้ด้วยการนำตนเองของสถาบันอุดมศึกษารัฐบาลไม่แตกต่างจากสถาบันอุดมศึกษาเอกชนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และความสัมพันธ์กับบุคคลอื่นมีความสัมพันธ์ทางบวกกับความพร้อมในการเรียนรู้ด้วยการนำตนเองอยู่ในระดับปานกลางอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (r = .52, p < .001) ส่วนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสะสมและสภาพแวดล้อมทางการเรียนไม่มีความสัมพันธ์กับความพร้อมในการเรียนรู้ด้วยการนำตนเองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

References

กนกวรรณ ทองฉวี. (2545). ความสัมพันธ์ระหว่างความรู้สึกมีคุณค่าในตนเอง บทบาทอาจารย์ในการอำนวยความสะดวกในการเรียนรู้ สภาพแวดล้อมในสถาบัน กับความพร้อมในการเรียนรู้ด้วยตนเองของนักศึกษาพยาบาล สถาบันการศึกษาพยาบาลของรัฐ สังกัดทบวงมหาวิทยาลัย. (ปริญญาพยาบาลศาสตร มหาบัณฑิต, คณะพยาบาลศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย).
นฤมล เถื่อนมา. (2538). ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคล และสภาพแวดล้อมในวิทยาลัยกับความพร้อมในการเรียนด้วยตนเองของนักศึกษาพยาบาล วิทยาลัยพยาบาลสังกัดกระทรวงสาธารณสุข. (ปริญญามหาบัณฑิต, คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย).
บุศรินทร์ ผัดวัง และสุภาภรณ์ อุดมลักษณ์. (2554). ความพร้อมในการเรียนรู้ด้วยตนเองของนักศึกษาพยาบาล วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครลำปาง. วารสารพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข, 21(2), 74-84.
บรรจง มไหสวริยะ และคณะ. (2560). การสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้เพื่อพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีศึกษา ครั้งที่ 3 (The 3rd International Conference on Innovation in Education: Building Professional Learning Community in Improving Science and Technology Education). จุลสารนวัตกรรม, 12(46), 3-4.
ปรินดา ตาสี. (2551). ลักษณะทางจิตและสภาพแวดล้อมทางการเรียนที่เกี่ยวข้องกับความพร้อมในการเรียนรู้ด้วยการนำตนเองของนักศึกษาชั้นปีที่ 1 ของมหาวิทยาลัยในกรุงเทพมหานคร. (วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต, สาขาการวิจัยพฤติกรรมศาสตร์ประยุกต์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ).
พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ. (2553). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ ฉบับที่ 3 พ.ศ. 2553. ราชกิจจานุเบกษา, เล่มที่ 127 ตอนที่ 45 ก.
มณี อาภานันทิกุล, รุจิเรศ ธนูรักษ์, และยุวดี ฦาชา. (2551). การพัฒนาเครื่องมือวัดความพร้อมในการเรียนรู้ด้วยตนเองของนักศึกษาพยาบาลไทยระดับปริญญาตรี. วารสารสภาการพยาบาล, 23(2), 52-69.
ลดาพร ทองสง และถนิมพร พงศานานุรักษ์. (2550). รายงานการวิจัย เรื่อง ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาการพยาบาลเด็กของนักศึกษาพยาบาล วิทยาลัยพยาบาลเกื้อการุณย์. เอกสารอัดสำเนา.
วัลภา ศรีบุญพิมพ์สวย. (2557). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเรียนรู้ด้วยการนำตนเองของนักศึกษาพยาบาลศาสตร์ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุดรธานี. วารสารการพยาบาลและการศึกษา, 7(4), 78-91.
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ .(2559). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่สิบสอง พ.ศ. 2560-2564. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.


สุริยัน อ้นทองทิม, ภูกิจ เล้าจีรัณกุล, ศศิวิมล พจน์พาณิชพงศ์ และชลิตตาภรณ์ ดวงติ๊บ. (2560). การปรับตัวของนักศึกษาระดับปริญญาตรีชั้นปีที่ 1 สถาบันอุดมศึกษาภายในเขตอำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย. สมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี, 23(1), 18-25.
อมรรัตน์ เสตสุวรรณ และอรชร ศรีไทรล้วน. (2557). ความสัมพันธ์ระหว่างสภาพแวดล้อมในคณะพยาบาลศาสตร์กับความพร้อมในการเรียนรู้ด้วยตนเองของนักศึกษาพยาบาล คณะพยาบาลศาสตร์เกื้อการุณยย์ มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช. วารสารเกื้อการุณย์, 21(ฉบับพิเศษ), 124-138.
อาชัญญา รัตนอุบล. (2551). การพัฒนาการเรียนรู้และการจัดกิจกรรมสำหรับผู้ใหญ่. กรุงเทพฯ: สาขาวิชาการศึกษานอกระบบโรงเรียน คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
อาทิตยา ดวงมณี และคณะ. (2560). ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยด้านสภาพแวดล้อมทางการเรียนกับความพร้อมในการเรียนรู้ด้วยการนำตนเองของนักเรียนพยาบาลศาสตร์ วิทยาลัยพยาบาลกองทัพเรือ. วารสารแพทย์นาวี, 44(2), 19-35.
Blackman, I., Hall, M., & Darmawan, I. G. N. (2007). Undergraduate nurse variables that predict academic achievement and clinical competence in nursing. International Education Journal, 8(2), 222-236.
Guglielmino, L. M. (1977). Development of the self-directed learning readiness scale. Doctoral dissertation, University of Georgia.
Klunklin, A., Viseskul, N., Sripusanapan, A., & Turale, S. (2010). Readiness for self-directed learning among nursing students in Thailand. Nursing and Health Sciences, 12, 177-181.
Knowles, M. S. (1975). Self-directed learning: A guide for learners and teachers. Chicago: Association Press.
Skager, R. (1978). Lifelong education and evaluation practice. Hamburg: Pergamon Press and the UNESCO Institute for Education.
Taro Yamane. (1973). Statistics: An introductory analysis 3rd Ed. New York. Harper and Row Publications.

Downloads

Published

2019-12-17

Issue

Section

Research Articles