A STUDY OF SELF-DIRECTED LEARNING READINESS OF NURSING STUDENTS IN PATHUMTHANI UNIVERSITY
Keywords:
Self-directed learning readiness, Nursing studentsAbstract
การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ (survey research) เพื่อศึกษาระดับความพร้อมในการเรียนรู้ด้วยการนำตนเองและเปรียบเทียบความพร้อมในการเรียนรู้ด้วยการนำตนเองของนักศึกษาพยาบาล จำแนกตามชั้นปี ตัวอย่างเป็นนักศึกษาพยาบาลชั้นปีที่ 1-4 ระดับปริญญาตรี จำนวน 228 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถามความพร้อมในการเรียนรู้ด้วยการนำตนเอง ตรวจสอบความเที่ยงของเครื่องมือโดยใช้สัมประสิทธิ์แอลฟ่าของครอนบาครายด้านอยู่ระหว่าง .84 ถึง .93 นำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์ โดยคำนวณหาความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และใช้สถิติวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (one-way ANOVA)
ผลการวิจัยพบว่า ความพร้อมในการเรียนรู้ด้วยการนำตนเองของนักศึกษาพยาบาล โดยรวมอยู่ในระดับสูง (M = 3.92, SD = 0.52) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า นักศึกษาพยาบาลมีความพร้อมในการเรียนรู้ด้วยการนำตนเองทั้ง 5 ด้านอยู่ในระดับสูง ด้านความสามารถในการประเมินด้วยตนเองอยู่ในระดับสูงสุด (M = 4.14, SD = 0.68) รองลงมาคือ ด้านความสามารถในการสืบค้นด้วยตนเอง (M = 3.99, SD = 0.61) โดยนักศึกษาพยาบาลชั้นปีที่ 4 มีความพร้อมในการเรียนรู้ด้วยการนำตนเองสูงที่สุด (M = 4.15, SD = 0.36) รองลงมาคือ นักศึกษาพยาบาลชั้นปีที่ 2 (M = 3.92, SD = 0.43) และเมื่อเปรียบเทียบความพร้อมในการเรียนรู้ด้วยการนำตนเองของนักศึกษาพยาบาลชั้นปีที่ 1-4 พบว่า นักศึกษาพยาบาลชั้นปีต่างกันมีความพร้อมในการเรียนรู้ด้วยการนำตนเองแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .05) โดยนักศึกษาชั้นปีที่ 4 มีความพร้อมในการเรียนรู้ด้วยการนำตนเองโดยรวมสูงกว่าชั้นปีที่ 1, 2 และ 3
References
ขจี พงศธรวิบูลย์. (2559). การเรียนรู้ตลอดชีวิตกับวิชาชีพพยาบาล. วารสารพยาบาลทหารบก, 17(3), 1-9.
บุศรินทร์ ผัดวัง และสุภาภรณ์ อุดมลักษณ์. (2554). ความพร้อมในการเรียนรู้ด้วยตนเองของนักศึกษาพยาบาลวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครลำปาง. วารสารพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข, 21(2), 74-84.
มณี อาภานันทิกุล, รุจิเรศ ธนูรักษ์, และยุวดี ฦาชา. (2551). การพัฒนาเครื่องมือวัดความพร้อมในการเรียนรู้ด้วยตนเองของนักศึกษาพยาบาลไทยระดับปริญญาตรี. วารสารสภาการพยาบาล, 23(2), 52-69.
อมรรัตน์ เสตสุวรรณ และอรชร ศรีไทรล้วน. (2557). ความสัมพันธ์ระหว่างสภาพแวดล้อมในคณะพยาบาลศาสตร์กับความพร้อมในการเรียนรู้ด้วยตนเองของนักศึกษาพยาบาล คณะพยาบาลศาสตร์เกื้อการุณยย์ มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช. วารสารเกื้อการุณย์, 21(ฉบับพิเศษ), 124-138.
Black, B. P. (2013). Professional nursing: concepts & challenges. 7th ed. St. Louis (MO): Elsevier Saunders.
Boud, D. (1982). Developing Study Autonomy in Learning. New York: Nichols Publishing Company.
Klunklin, A., Viseskul, N., Sripusanapan, A., & Turale, S. (2010). Readiness for self-directed learning among nursing students in Thailand. Nursing and Health Sciences, 12, 177-181.
Knowles, M. S., Holton, E. F. III., & Swanson, R. A. (2015). The adult learner: The definitive classic on adult education and human resource development (8thed.). New York: Routledge.
Knowles, M. S. (1975). Self-directed learning: A guide for learners and teachers. Chicago: Association Press.
Guglielmino, L. M. (1977). Development of the self-directed learning readiness scale. Doctoral dissertation, University of Georgia.
Fisher, M., King, J., & Tague, G. (2001). The development of a self-directed learning readiness scale for nursing education. Nurse Education Today, 21, 516–525.
Taro Yamane. (1973). Statistics: An introductory analysis 3rdEd. New York. Harper and Row Publications.
Zhang, X. H., Meng, L. N., Liu, H. H., Luo, R. Z., Zhang, C. M., Zhang, P. P., & Liu, Y. H. (2018). Role of academic self-efficacy in the relationship between self-directed learning readiness and problem-solving ability among nursing students. Frontiers of Nursing, 5(1), 75-81.
Downloads
Published
Issue
Section
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิชาการ สถาบันเทคโนโลยีแห่งสุวรรณภูมิ
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับสถาบันเทคโนโลยีแห่งสุวรรณภูมิ และคณาจารย์ท่านอื่นๆในสถาบันฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว