ผู้นำเทคโนโลยี SPACE ODYSSEY & THE TERMINATOR

Authors

  • จิรัฐฏ์ สิริเฉลิมพงศ์

Abstract

 

ในปี 1968 มีหนังวิทยาศาสตร์ล้ำยุคออกมาเรื่องหนึ่ง ในยุคที่คำว่า CG–Computer Graphic ยังไม่เป็นที่รู้จัก เพียงแค่ file รูปธรรมดาตอนนั้นยังเรื่องใหญ่ แต่ Stanley Kubrick ก็ได้ใช้เทคโนโลยีในยุคนั้นสร้าง 2001 : A Space Odyssey ออกมา แม้ว่าในช่วงที่ออกมาภาพยนตร์อาจจะไประสบความสำเร็จนัก เพราะความล้ำก็คือความงง  และเมื่องงเงินก็อาจจะไม่มา   แต่ปัจจุบัน   2001: A Space Odyssey กลายเป็นภาพยนตร์ระดับตำ นานขึ้นหิ้งไปเรียบร้อยแล้ว แต่สำหรับยุคนี้ถ้าอยากดูหนังล้ำๆก็คงต้องเป็นของ Christopher Nolan และภาพยนตร์เรื่อง Interstella, Inception หรือ Memento หรือแม้กระทั่งภาพยนตร์เรื่อง Batman ในตอนที่ Nolan เป็นผู้กำกับก็ทำให้ผู้ใหญ่ต้องมาตีความภาพยนตร์เด็กกันยกใหญ่

แต่ถ้าจะว่ากันด้วยโลกของ commercial ในปัจจุบัน คนที่มีหรือคนที่ใช้เทคโนโลยีล้ำยุคมาจัด การกับสินค้าบริการ หรือวิถีชีวิตสำหรับวันพรุ่งนี้แล้ว ตอนนี้ผมมองเห็นภาพยนตร์เด่นๆ โผล่มา 3 ชื่อ Elon Musk, Jeff Bazos และ คู่หู  Sergey Brin กับ Larry Page แต่ละคนมีความล้ำที่แตกต่าง มีจินตนาการในแบบที่ Kubrick และ Nolan ทำให้เราชมบนจอภาพยนตร์นั่นเลยเชียว

ชื่อของ Jeff Bazos ไม่ใคร่จะเป็นที่รู้จักในไทย

เหมือนกับ  Steve Jobs  หรือ  Bill Gates  หรือ Mark Zuckerberg    แต่ถ้าบอกว่านี่คือ ผู้ก่อตั้ง Amazon ทุกคนจะร้องอ๋อ ร้านกาแฟในปั๊ม ปตท นี่เอง …. ไม่ใช่ Amazon.com ร้านหนังสือออนไลน์ต่างหาก แต่จริงๆนั่นคืออดีต เพราะปัจจุบันคุณสามารถหาซื้อทุกอย่างได้บน    Amazon.com ยกเว้นเรือรบเท่านั้นที่อาจจะหาไม่ได้ นอกนั้นคุณหาซื้อได้ไล่ย้อนลงไปถึงไม้ตีพริก ความล้ำยุคของ Bazos   ไม่ได้อยู่เพียงแค่การทำให้ร้านหนังสือ กลายเป็นร้านขายของทุกอย่าง แต่เพราะ Amazon มีการใช้เทคโนโลยีมาบริหาร  supply chain  ได้อย่างสุดยอด แม้ว่า   IT research จาก Gartner Inc.  เคยจัดลำดับให้  supply chain ของ Apple เป็น the best supply chain in the world เป็นเวลา 5 ปีติดต่อกัน แต่ก็มีงานวิจัยหลายๆที่ออกมาแย้งและยกให้ Amazon.com เป็นเบอร์ 1 ในเรื่อง supply chain  ของโลก ด้วยการวัดผลของ factor ต่างๆ   ที่เป็นตัวสำคัญในการดูประสิทธิภาพของ supply chain  เช่น  inventory turnover  ของ Amazon กับ Apple คือ 10 กับ 59 วันตามลำดับ เมื่อดูจำนวน SKU ก็จะพบว่าอยู่ที่ 135 ล้าน กับ 26,000 items ตามลำดับ แค่ตัวเลข 2 ตัวนี้ก็น่าทึ่งแล้ว เพราะ Amazon ต้องดีลกับสินค้าที่มี SKU จำนวนมหาศาลแต่ inventory turnover กลับสั้นกว่า ของ Apple เกือบ 6 เท่า แต่แค่นั้นก็ยังไม่ถือเป็นความเก่งประดับสุดยอดของ  Bazos  เพราะตอนนี้เขากำลังทดลองที่จะนำโดรนมาใช้เป็นอุป กรณ์ในการจัดส่งสินค้าของ Amazon ซึ่งในระดับการทดลองถือว่าประสบความสำเร็จทีเดียวและถ้าวันหนึ่งสามารถออกมาใช้งานแพร่หลายจริง  นี่คือการปฏิวัติระบบการจัดส่งของการค้าปลีกเลยทีเดียว นอกจากนั้นทาง Amazon ก็พยายามสร้างช่องทางในการจัดจำหน่ายของตัวเองใน model ล้ำยุคอย่าง Amazon Go   (หาชมได้ทาง YouTube)   ร้านค้าปลีกที่ไม่ต้อง scan bar code ไม่ต้องเข้าเคาท์เตอร์จ่ายเงิน ไม่ต้องใช้เงินสดและยืนรูดบัตรเครดิต เพียงคุณเลือกสินค้าจนพอใจแล้วก็เข็นมันออกไปเลย ระบบเซ็นเซอร์จะทำการบันทึกรายการสินค้าและส่งไปตัดค้าใช้จ่ายในบัตรเครดิต หรือโทรศัพท์มือถือคุณเอง อย่างไรก็ดีเนื่องจาก Amazon Go อยู่ในระหว่างการทดลอง จึงยังพบข้อผิดพลาด ทำให้การขยายตัวอาจจะไม่เร็วถูกใจพอ ล่าสุดทาง Amazon เลยกระโดดข้ามไปซื้อ โฮลฟู้ดส์ มาร์เก็ต (Whole Foods Market) ด้วยเงินกว่า 4.6 แสนล้านบาท เพื่อเข้าสู่ Retail เต็มตัว ด้วยสาขากว่า 460 สาขาทั่วโลก ซึ่งนอกจากจะเป็นการเพิ่มรายได้จากธุรกิจอาหารของ Whole Foods แล้ว ในอีกด้านมันคือ ช่องทางการส่งมอบสินค้าของ Amazon.com ที่ต้นทุนต่ำแต่เข้าใกล้ผู้บริโภค กลายเป็นยักษ์ใหญ่ Omni-Channel ของโลก เพราะใหญ่ยักษ์ทั้งในโลกออนไลน์ และออฟไลน์ เห็นความล้ำในเชิงกลยุทธ์และเทคโนโลยีจากมันสมองของ Bazos แล้วน่าทึ่ง นี่ยังไม่รวมหนังสือพิมพ์ Washington Post ที่ทาง Bazos   เข้าซื้อที่ยังตีความไม่ออกว่าเขาจะเอากิจ การที่คนเชื่อว่า โลก  online  กำลังจะทำให้มันตาย

มาทำอะไร แต่เชื่อเถอะหัวระดับนี้ไม่มีมั่ว  

Elon Musk ก็เหมือน Bazos ที่ตอนนี้ไม่ค่อยเป็นที่รู้จักในไทยมากนัก ทั้งๆ  ที่ในอีกสัก 20 ปีข้างหน้า  เวลาเราจะพูดชื่อของอัจฉริยะของโลก อาจจะไม่ใช่ชื่อ ไอน์สไตน์อีกต่อไป  Elon Musk คือหนึ่งในผู้ก่อตั้ง PayPal  ซึ่งถือเป็นหนึ่งใน  turning point  ของ   e-Commerce   และพัฒนาจน shopping online กลายเป็นพฤติกรรมผู้บริโภคกระแสหลักในปัจจุบัน และเขาก็ทำเงินมหาศาลจากการขาย  PayPal  ให้ eBay จากนั้น Elon Musk เอาเงินไปลงในธุรกิจอวกาศที่เขาหลงไหลมาแต่เด็ก ในชื่อ Space X เป็นการตัดสินใจที่มีแต่คนคิดว่าเขาบ้าที่เอาเงินไปละลายทิ้ง สิ่งที่ Elon Musk คิดเกี่ยวกับธุรกิจอวกาศ ไม่ใช่  model  แบบของ Sir Richard Branson แห่ง  Virgin   ที่พาคนไปท่องอวกาศ แต่  Elon Musk  จะไปสร้างนิคมในอวกาศ เพื่อรองรับมนุษยชาติในวันที่โลกนี้อยู่ไม่ได้แล้ว

คนเราต้องมีความเชื่อมั่นในมันสมองขนาดไหนกัน ถึงจะกล้าคิดที่จะสร้างบริษัทให้มีความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีอวกาศกว่า  NASA เพราะ Space X เป็นบริษัทเอกชนแรกที่ส่งยานอวกาศตัวเองไปเชื่อมต่อสถานีอวกาศของ  NASA  โดย  Space X เป็นเจ้าของ เทคโนโลยีการนำจรวดกลับลงมาจอด (เหมือนที่เราได้เห็นในหนังการ์ตูนแต่เด็กนั่นแหละฮะ) ทำให้สามารถนำจรวดกลับมาใช้ใหม่ ลดต้นทุนการขึ้นสู่อวกาศได้มหาศาล (เราสามารถเข้าไปหาดู ได้ทาง YouTube และถ้าคุณขนไม่ลุก ก็ให้มันรู้ไป) นอกจาก Space X แล้ว อีก 2 ธุรกิจใหญ่ๆของ Elon Musk ก็คือ Tesla และ SolarCity และทั้ง 2 ธุรกิจก็ไม่มีธรรมดา เพราะคือผู้ผลิตรถยนต์ Tesla ที่โคตรล้ำ และ เทคโนโลยีพลังงานแสงอาทิตย์ที่ MIT  ให้เป็น  breakthrough technology เพราะ $750 mio.  คือมูลค่าของ  high-efficiency solar facility ใน Buffalo ที่ จะสร้างไฟฟ้า 1  GigaWatt ต่อปี จะเป็น  solar manufacturing plant ที่ใหญ่สุดใน อเมริกาเหนือและใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งของโลก นอกจากนั้น Hyperloop คืออีก 1 โคตรนวัตกรรมที่ คนอื่นทำได้แค่วาดเป็นการ์ตูน แต่ Elon กำลังจะเอามันมาติดตั้งให้ใช้บนโลก  Hyperloop เป็น supersonic train  ที่สามารถวิ่งจาก  London ไป Edinburgh หรือ LA ไป San Francisco   ในครึ่งชั่วโมง!! แต่ด้วยความที่เขาโหมไปกับงานส่วนอื่นมากๆเลยทำให้ hyperloop อาจจะก้าวไปช้า เขาจึงส่งผ่านมันให้กับ start up ไปทำต่อ ล่าสุดเมื่อไม่กี่วันก่อนส่งต้นฉบับก็มีข่าวว่า Hyperloop Oneก็ทำการทดสอบได้สำเร็จ ใช้ได้จริงเป็นเจ้าแรก โดยพวกเขาใช้พาหนะที่ใช้ระบบแม็กเลฟ (mag-lev) เพื่อยกตัวอยู่เหนือรางแทนการใช้ล้อและยิงทะยานออกไป มันถูกทดสอบให้อยู่ในการจัดกัดความเร็วที่ราวๆ 112 กม./ชม เท่านั้น เมื่อสำเร็จในขั้นแรก ขั้นต่อไปจะเพิ่มให้ได้ 400 กม./ชม. และให้ถึงเป้าที่ 1,200 กม./ชม. ซึ่งจะเป็นอีกหนึ่งการปฏิวัติของโลกเลย (มีข่าวว่า บริษัท Hardt ซึ่งก่อตั้ง โดยนักศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีเมืองเดลฟท์   ประเทศเนเธอร์แลนด์ก็ทำการทดลอง hhperloop นี้และคืบหน้าไปมากจนประกาศจะสร้าง   hyperloop ความเร็ว  1,200 กม./ชม.  เพื่อเชื่อม  กรุงอัม สเตอร์ดัม-ปารีส ในอีก 4 ปีข้างหน้า)

ในส่วนของการพัฒนาด้าน  AI – Artificial Intelligence  นั้น Elon Musk ก็ถือว่าเป็นอีกเรื่องที่เขาทำเพื่อมวลมนุษยชาติ เขาบอกว่าเทคโนโลยีด้าน AI พัฒนาไปเร็วจนใกล้ที่ AI จะพัฒนาตัวเองได้และจะฉลากดกว่ามนุษย์แล้ว   AI  มี 3 ระดับ Artificial Narrow Intelligence (ANI), Artificial General Intelligence (AGI) และ ASI – Artificial Super Intelligence เจ้าตัวสุดท้ายนี่แหละที่น่ากลัว เพราะไม่ได้คุยกันที่ IQ หลักร้อย  แต่เป็นหลักพันหรือหมื่น และเป็น IQ ที่พัฒนาตัวเอง 24 ชั่วโมงไม่ต้องพัก เวลาที่เราพูดถึง AI เราอาจะคิดว่ามันก็คือ คอมพิวเตอร์แบบที่เราใช้   และถูกพัฒนาขึ้นเรื่อยๆ  จนล้ำ แต่จริงๆไม่ใช่เพราะ เวลาเราพูดถึงคอมพิวเตอร์นั้น การทำงานมันใช้อัลกอริทึ่ม คนเป็นผู้สร้างอัลกอริทึ่มให้คอมพิวเตอร์ ว่าต้องทำงานตามขั้นตอนอย่างนั้นอย่างนี้ แต่ความเร็วคอมพิว เตอร์จะมากกว่า ดังนั้นเรื่องการคำนวณด้วยอัลกอริทึ่ม คอมพิวเตอร์เร็วชนะมนุษย์ แต่ถ้าแบบนั้นมันไม่ใกล้เคียงกับสิ่งที่เรียกว่า AI เพราะความแตกต่างของคนกับคอมพิวเตอร์ก็คือ งานที่ไม่ใช่การคำนวณ ซึ่งเมื่อก่อนคอมพิวเตอร์จะทำไม่ได้ เช่นการจำหน้าคน การมองภาพแล้วแยกแยะว่าอันไหนหมาอันไหนแมว … คอมพิวเตอร์สมัยก่อนจะอึ้ง แต่เดี๋ยวนี้งานประเภทนี้คอมพิวเตอร์ทำได้แล้ว … นั่นคือ พัฒนา การของ machine learning และ AI มันเกิดจากการเลียนแบบการเรียนรู้ของคน จากการมองแล้วจดจำเข้าไปในสมอง ดังนั้นก็ใช้การ load รูปเข้าไปมากๆ จนคอมพิวเตอร์เรียนรู้และแยกแยะออก หรือ AI ที่เพิ่งเป็นข่าวอย่างเจ้า AlphaGo ที่แข่งกับ Ke Jie เซียนโกะมือหนึ่งของโลก แล้ว AlphaGoชนะไป 3-0 ก็เป็นอีกตัวอย่างที่เห็นว่าคอมพิวเตอร์สามารถเรียนรู้เองได้ เพราะเกมส์โกะมีความซับซ้อนมาก หากเขียนอัลกอริทึ่มธรรมดาคงสู้มือระดับโลกไม่ได้ แต่ AI สามารถเรียนรู้เพิ่มขึ้นจากการเข้าแข่งขัน สะสมประสบการณ์ได้เหมือนมนุษย์ ที่สำคัญไม่รู้จักคำว่าล้าและเหนื่อย เดิมนักวิทยาศาสตร์สายคอม พิวเตอร์ทั้งหลายเชื่อว่า น่าจะอีกเป็น10ปี กว่า AI จะชนะเกมส์โกะเมื่อแข่งกับคน ซึ่งหลังจาการชนะ Ke Jie  ได้ ทาง  Demis Hassabis  ซึ่งเป็น Co-founder และ co-CEO ของ DeepMind  ปัจจุบัน DeepMind เป็น unit หนึ่งของ Google กล่าวว่าอาจจะเป็น match สุดท้ายที่จะเอา AlphaGo มาแข่งในงาน event เพราะถือเป็นจุดสุดยอดในเชิงของโปรแกรมการแข่งขันแล้ว (พอพูดถึง Hassabis กับ DeepMind ต้องบอกว่า   นี่คือองค์กรที่มีการพัฒนา AI ก้าวหน้ามากแห่งหนึ่ง   จน Google ต้องไปซื้อมา)   DeepMind    เคยถูกเรียกว่าเป็น Mysterious  London  Laboratory    ซึ่งจะว่าไป Hassabis กับ Elon Musk  แห่ง Space X  และ Tesla มีมุมมองที่ค่อนข้างต่างกันสุดขั้วในเชิง AI

Elon Musk กังวลถึงการพัฒนา AI โดยไม่คำนึงถึงการพัฒนาด้านจริยธรรมควบคู่กันไป ความซีเรียสในมุมมองนี้ถึงขนาดที่ Elon Musk ไปเป็นหนึ่งใน investor ของ DeepMind (ก่อนที่จะถูก Google ซื้อไป) ซึ่ง Elon Musk  บอกว่า เขาไปลงทุนใน DeepMind ไม่ใช่เพื่อผลกำไร แต่เพื่อให้ตามความก้าวหน้าของการพัฒนาได้ใกล้ชิด เพราะ Elon Musk ย้ำว่า AI พัฒนาไปไกกว่าที่คนทั่วไปเข้าใจ เป็นเพราะเรายังไม่เห็นหุ่นยนต์เดินบนท้องถนนเราเลยคิดว่า  AI  ยังไปไม่ถึงไหน แต่กรณี AlphaGo ก็พิสูจน์คำพูด Elon Musk ได้ดี มันจึงมีการโต้ตอบกันในเชิงหลักการของทั้ง 2 ค่าย Elon Musk บอกว่า “ultimate goal ของ Space X คือ การอพยพมนุษย์ไปสร้างอาณานิคมใหม่ที่ดาวอื่น” ส่วน Hassabis บอกว่า “จริงๆเขาทำโครงการที่สุดสำคัญบนโลกใบนี้แหละ   คือ การสร้าง ASI” ได้จังหวะให้ Musk สวนกลับเลยว่า “นั่นเป็นเหตุผลนึงที่เขาต้องไปสร้างนิคมที่ดาวอังคาร” เมื่อ Super Power 2 ค่ายสู้กันทางความคิด   ค่ายหนึ่งคือ Hassabis  ซึ่งอยู่กับ Google ซึ่งมีทั้ง Page  และ Brin หนุนหลัง ในขณะที่อีกค่ายก็ใช่ย่อย เพราะคนหนึ่งที่ support  ความคิดของ Elon Musk มากๆคือ Stephen Hawking ที่พูดไว้ว่า “มนุษย์อาจจะถึงคราวสูญพันธุ์ ไม่ใช่เพราะโลกร้อน หรือ อุกกา บาต แต่เป็น AI นี่แหละ” จนถึงขนาดมีการเขียนบทความเชื่อว่า “ให้หนีจากโลกนี้ภายใน 100 ปีก่อนจะสูญพันธุ์” ทั้งๆที่ก่อนหน้านี้  Hawking เคยบอกว่าโลกมีโอกาสที่จะล่มสลายใน 1,000 ปีข้าง หน้า  อย่างไรก็ดีเมื่อต้นปีที่ผ่านมา  ได้มีการตั้งกฎเกณฑ์เพื่อป้องกันความผิดพลาดที่จะเกิดกับมนุษยชาติในการพัฒนา AI  ขึ้นมา ชื่อว่า Asimolar AI Principles  เพราะกำหนดกันขึ้นที่  Asilomar conference   ใน California   ซึ่งแน่นอนว่า Stephen Hawking (AI could end humanity) และ Elon Musk (AI is more dangerous than nukes)      กล่าวสนับสนุนในแนวทางนี้เต็มที่ Asimolar AI Principle มี 23 ข้อครอบคลุมทั้ง 3 ด้าน คือ    1) Research issues, 2) Ethics and values, 3) Long-term issues    แม้อาจจะเป็นกฏเกณฑ์ที่ครอบคลุมและมีหลักการแต่การที่จะควบคุมใช้งาน คงเป็นเพียงระดับขอความร่วมมือ เพราะขนาดพิธีศาลเกียวโตในการจัดการภาวะโลกร้อนพี่เบิ้มอย่างอเมริกายังเบี้ยว แล้วเจ้า Asimolar AI Principle จะได้รับความใส่ใจขนาดไหน ยิ่งเห็นความก้าวหน้าของ AI แล้ว   ผมว่าแพ็คกระเป๋าเตรียมไปอยู่ดาวอังคารอาจจะง่ายกว่า หรือไม่ก็ต้องเตรียมอยู่ฝั่งมนุษย์ที่ทาง Musk ได้ฝัง AI เข้าไปในสมอง ไว้สู้กับ AI แล้ว นี่ก็เป็นอีกหนึ่งโครงการจริง จังของ Elon Musk ที่จะไว้สู้กับ AI ในวันข้างหน้า ไม่ใช่ผมพูดลอยๆ

สาเหตุที่ Elon Musk เข้ามาในธุรกิจอวกาศ ก็เพราะ ‘เขาเชื่อว่านี่คือทางรอดเดียวของมนุษย ชาติ’ และเขาไม่ได้ตั้งเป้าอีก 100 ปี แต่เขาพูดไว้ว่า “ในอีก 10-20 ปีข้างหน้าเราน่าจะได้ไปปลูกผักบนดาวอังคาร” ถึงวันนี้ ผมคนหนึ่งที่เชื่อหมดหน้าตักว่าเขาทำได้ และ Elon Musk เองก็ทุ่มทั้งชีวิตว่า เขาเนี่ยแหละจะเดินทางไปที่นั่นเอง

“I Would like to die on Mars. Just not on impact”

(ผมจะไปตายบนดาวอังคาร แต่ไม่ใช่ตอนลงจอดหรอกนะ)

 

นี่จะกลายเป็นประโยคแห่งมวลมนุษยชาติ ยิ่งกว่าที่  Niel Armstrong   กล่าวไว้ตอนก้าวเหยียบดวงจันทร์

มีบทสรุปหนึ่งที่น่าสนใจ เขาพูดว่า “หรือ มนุษย์เป็นเพียงหนึ่งในลำดับขั้น การวิวัฒนาการของ Artificial Intelligence?” ตรงนี้ทำให้ผมนึกถึงภาพยนตร์เรื่อง The Matrix ขึ้นมา ในขณะที่ยิ่งผมอ่านเรื่อง Elon Musk มากขึ้น มาถึงตรงนี้ ผมก็ยิ่งเริ่มสงสัยมากขึ้นว่า บางทีหนังสือพิมพ์ในปี 2029 อาจจะมีบทสัมภาษณ์ของ Randall Frakes & Bill Wisher ผู้เขียนเรื่อง Terminator ว่า “ใช่ ผมเขียนเรื่อง The Terminator ตั้งแต่ปี 1985 และใช่ที่มัน Based on True Story   ในปีนั้น มีคนเล่าเรื่องอนาคตให้ผมฟัง เขาไม่ได้ชื่อ John Connor หรอก แต่เป็นเค้าโครงเรื่องจริงของ   Elon Musk  และ Elon Musk ไม่ได้เกิดปี 1971 หรอกนะ” 

 


 

 

 

 


 

 

 

 

 

 

 

 

Downloads

Published

2018-06-27

Issue

Section

Review Articles