เทคนิคการฟ้อนนีโอล้านนา ในละครฟ้อนล้านนา เรื่อง พรหมจักร ของกฤษฏิ์ ชัยศิลบุญ

Authors

  • ดิฐดา นุชบุษบา

Abstract

เทคนิคการฟ้อนนีโอล้านนา ของกฤษฏิ์ ชัยศิลบุญ เป็นผลผลิตจากการสร้างสรรค์ละครฟ้อนล้าน นาเรื่อง  พรหมจักร ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2544 โดยการใช้ทักษะท่าฟ้อนล้านนาดั้งเดิมที่เคยได้รับการถ่าย ทอดจากพ่อครูแม่ครูช่างฟ้อนในจังหวัดเชียงราย ผนวกกับความรู้ในด้านศิลปะการแสดงตะวันตกที่ได้เรียนรู้จากโรงละครภัทราวดีเธียเตอร์ และความสน ใจในการศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับศิลปวัฒนธรรมล้านนา โดยเฉพาะด้านวรรณกรรมล้านนา เรื่อง พรหมจักร ชาดกนอกนิบาต นำมาสร้างสรรค์เป็นละครฟ้อนล้านนาที่มีการออกแบบท่าฟ้อนให้กับตัวละครต่างๆ การมีโอกาสจัดแสดงหลายครั้งทำให้ผู้สร้างสรรค์ผลงานและนักแสดงได้ฝึกทักษะ ปรับปรุง พัฒนาจนเกิดเป็นเทคนิคการฟ้อนนีโอล้านนาของตนเอง ได้แก่ 1. การพัฒนาท่าฟ้อนล้านนาดั้งเดิมจากท่าฟ้อนที่มีความเรียบง่ายให้มีพลังด้วยการเคลื่อนไหวร่างกายมากกว่าปกติ และนำท่าฟ้อนล้านนาดั้งเดิมที่เป็นจุดเด่นหลายๆ ท่ามาเรียบเรียงเป็น ชุดท่าฟ้อน ไว้ใช้ในการแสดงเพื่อช่วยสร้างการสื่อความ หมาย อาทิ ท่าฟ้อนเกี้ยวพาราสี ท่าฟ้อนกวางคำ ท่าฟ้อนนกยูง ท่าฟ้อนดอกไม้ เป็นต้น 2.การเคลื่อน ไหวร่างกายที่เป็นเอกลักษณ์ ประกอบด้วย 2.1 การเคลื่อนไหวร่างกายที่เชื่องช้าลื่นไหลด้วยการบิดเอวและยกสะโพกทำให้รางกายเป็นรูปตัวเอส (S) การเอนและโน้มตัวไปในทิศทางต่างๆ โดยใช้ไหล่เป็นอวัยวะเอนนำทิศทางไปก่อนแล้วค่อยโน้มศีรษะตามไปในทิศทางเดียวกัน และการไล่ลำดับการเคลื่อน ไหวข้อต่อหัวไหล่ ข้อศอก และข้อมือ ทำให้เกิดลักษณะการเคลื่อนไหวร่างกายที่ดูพลิ้วไหว 2.2 การเคลื่อนไหวแบบรวดเร็ว ว่องไว ฉวัดเฉวียน มีพลัง โดยการทำท่าฟ้อนให้มีจังหวะเร็วและมีพลังเพิ่มมากขึ้น 3. ลักษณะการใช้มือจีบและตั้งวงเหมือนท่าฟ้อนรำทั่วไป แต่ต่างกันที่ระดับของการใช้มือหรือวง โดยส่วนใหญ่มือฟ้อนอยู่ในระดับสูงเหนือศีรษะ และมีการใช้มือลักษณะพิเศษ คือ การจีบนิ้วโป้งกับนิ้วกลางและนิ้วนางให้เหมือนหัวกวาง และการกรีดนิ้วคล้ายกับโนราใต้ 4.การฟ้อนแบบด้นสดโดยให้นักแสดงนำความสามารถทักษะท่าฟ้อนของตนเองแสดงออกมาใช้ทำให้การแสดงเกิดความหลากหลายไม่ตายตัว 5.มีการออกแบบท่ายกที่พัฒนามาจากการขึ้นลอยของการแสดงโขนเพื่อทำให้เกิดความน่าสนใจ 6.การใช้พลังและอารมณ์ของนักแสดงที่สอดคล้องกับบทบาทการแสดง

จากเทคนิคการฟ้อนนีโอล้านนาที่กล่าวมาข้างต้น     ได้กลายเป็นแม่แบบในการสร้างสรรค์ผลงานการแสดงของตัวกฤษฏิ์ ชัยศิลบุญ เอง รวมถึงนักแสดง ทีมงาน และลูกศิษย์ที่ได้รับการถ่ายทอดนำความรู้และเทคนิคดังกล่าวไปใช้ในการสร้างสรรค์ผลงานของตนเองในวงกว้าง

References

กฤษฎิ์ ชัยศิลป์บุญ. (2561). กรรมการผู้จัดการ บริษัทกฤษฎิ์ทีม ออร์แกไนเซอร์ แอนด์ เพอร์ฟอรม์แมนส์. สัมภาษณ์.

ชมนาด กิจขันธ์. (2551). การพัฒนานาฏยจารึกนาฏยศัพท์ไทยโดยใช้ระบบของลาบาน. กรุงเทพมหานคร: คณะศิลปกรรมศาสตร์ สถาบันราชภัฏสวนสุนันทา.

ชะลูด นิ่มเสมอ. (2531). องค์ประกอบศิลปะ. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ อมรินทร์.

ธันยวัฒน์ แพรวงศ์นุกูล, ศิลปะแบบนีโอคลาสสิค (ออนไลน์) . สืบค้นเมื่อ 28 มกราคม 2557 http://worldcivil14.blogspot.com/2014/01/neo-classic.html)

ธีรยุทร ยวงศรี. (2540). การดนตรี การขับ การฟ้อน ล้านนา. เชียงใหม่: สุรวงศ์บุ๊ตเซนเตอร์.

นราพงษ์ จรัสศรี (2548). ประวัตินาฏยศิลป์ตะวันตก. กรุงเทพฯ. โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ปัทมา ยาชูชีพ และคณะ. (2547). ประวัติและผลงานทางนาฏยศิลป์ของ กฤษฏิ์ ชัยศิลบุญ. (งานวิจัย นาฏศิลป์ 1 ภาควิชานาฏยศิลป์ คณะศิลปกรรมศาตร์, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย).

ภัทราวดี มีชูธน. (2561). ผู้เชี่ยวชาญด้านศิลปะการแสดง สัมภาษณ์.

มาณพ มานะแซม, NEO – LANNA. การกลับมาอย่างมีสีสันของล้านนา, (ออนไลน์). https://www.facebook.com/chiangtung.kengtung.shanstate/posts/845619872229366 สืบค้นเมื่อ 2 มิถุนายน 2561)

แสง มนวิทูร. (2541). นาฏยศาสตร์. กรุงเทพฯ. กรมศิลปากร

อนุกูล โรจนสุขสมบูรณ์. (2549). แนวคิดทฤษฎีการฟ้อมล้านนาแบบใหม่. (วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตร์ดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชานาฏยศิลป์ไทย ภาควิชานาฏยศิลป์ คณะศิลปกรรมศาสตร์, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย).

Downloads

Published

2018-06-27

Issue

Section

Review Articles