การจัดการทรัพยากรมนุษย์และพฤติกรรมการปฏิบัติงานส่งผลต่อสมรรถนะการปฏิบัติงานของบุคลากรโรงงานอุตสาหกรรมการผลิต จังหวัดปทุมธานี

ผู้แต่ง

  • ณัฐพร ฉายประเสริฐ คณะบริหารธุรกิจและการบัญชี มหาวิทยาลัยปทุมธานี

คำสำคัญ:

การจัดการทรัพยากรมนุษย์, พฤติกรรมการปฏิบัติงาน, สมรรถนะการปฏิบัติงาน

บทคัดย่อ

         การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษา 1) ระดับความสำคัญของการจัดการทรัพยากรมนุษย์ พฤติกรรมการปฏิบัติงาน และสมรรถนะการปฏิบัติงาน 2) การจัดการทรัพยากรมนุษย์ส่งผลต่อสมรรถนะการปฏิบัติงานของบุคลากรโรงงานอุตสาหกรรมการผลิต จังหวัดปทุมธานี 3) การจัดการทรัพยากรมนุษย์ส่งผลต่อพฤติกรรมการปฏิบัติงานของบุคลากรโรงงานอุตสาหกรรมการผลิต จังหวัดปทุมธานี 4) พฤติกรรมการปฏิบัติงานส่งผลต่อสมรรถนะการปฏิบัติงานของบุคลากรโรงงานอุตสาหกรรมการผลิต จังหวัดปทุมธานี และ 5) การจัดการทรัพยากรมนุษย์และพฤติกรรมการปฏิบัติงานมีความสัมพันธ์กับสมรรถนะการปฏิบัติงานของบุคลากร โรงงานอุตสาหกรรมการผลิตจังหวัดปทุมธานี ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง เป็นบุคลากรที่ทำงานในโรงงานอุตสาหกรรมการผลิต จังหวัดปทุมธานี จากจำนวนโรงงานทั้งหมดรวม 3,887 แห่ง โดยการสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง เลือกโรงงานอุตสาหกรรมการผลิตการผลิตมาทั้งหมด 30 แห่ง วิธีการคำนวณแบบไม่ทราบจำนวนประชากรได้ขนาดตัวอย่าง 385 คน และเก็บข้อมูล แห่งละ 13 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสอบถาม และแบบสัมภาษณ์ เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การส่งผลใช้สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์พหุคูณในการวิเคราะห์การถดถอย (Multiple Regression Analysis) และการหาความสัมพันธ์โดยใช้สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียรสัน (Pearson Correlation) และการวิจัยเชิงคุณภาพการวิเคราะห์ข้อมูลโดยวิธีวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) ตามประเด็นที่กำหนดไว้

  ผลการศึกษา

     1) ระดับความสำคัญของการจัดการทรัพยากรมนุษย์ พฤติกรรมการปฏิบัติงานของบุคลากร และสมรรถนะการปฏิบัติงานของบุคลากร พบว่า ทุกด้านอยู่ในระดับมาก

     2) การจัดการทรัพยากรมนุษย์ส่งผลต่อสมรรถนะการปฏิบัติงานของบุคลากรโรงงานอุตสาหกรรมการผลิต จังหวัดปทุมธานี พบว่าส่งผลในเชิงบวก (β = .394, Sig < .01) ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์พหุคูณเชิงบวก (R = .394) ได้ค่า (R2= .156) ร้อยละ 15.6 

     3) การจัดการทรัพยากรมนุษย์ส่งผลต่อพฤติกรรมการปฏิบัติงานของบุคลากรโรงงานอุตสาหกรรมการผลิต จังหวัดปทุมธานี พบว่าส่งผลในเชิงบวก (β = .499, Sig < .01) มีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์พหุคูณเชิงบวก (R = .499) ได้ค่า (R2= .249)  ร้อยละ 24.9

     4) พฤติกรรมการปฏิบัติงานส่งผลต่อสมรรถนะการปฏิบัติงานของบุคลากรโรงงานอุตสาหกรรมการผลิต จังหวัดปทุมธานี พบว่า ส่งผลในเชิงบวก (β = 0.787, Sig < .01) มีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์พหุคูณเชิงบวก (R = .787) ได้ค่า (R2 = .619) ร้อยละ 61.9

     5) การจัดการทรัพยากรมนุษย์ (r = .499) พฤติกรรมการปฏิบัติงาน (r = .394) มีความ สัมพันธ์กับสมรรถนะในการปฏิบัติงานของบุคลากร ทางบวกในระดับต่ำ และพฤติกรรมการปฏิบัติงานมีความสัมพันธ์กับสมรรถนะในการปฏิบัติงานของบุคลากรโรงงานอุตสาหกรรมการผลิตจังหวัดปทุมธานี ทางบวกในระดับสูง (r = .787) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 

References

ณัฐพร ฉายประเสริฐ. (2561). สมรรถนะของผู้จัดการทรัพยากรมนุษย์สัมพันธ์กับประสิทธิภาพและผลการ ปฏิบัติงานของบุคลากรโรงงานอุตสาหกรรมการผลิต จังหวัดปทุมธานี. วารสารวิชาการ สถาบัน เทคโนโลยีแห่งสุวรรณภูมิ ฉบับพิเศษ (หน้า 271-284) ปีที่พิมพ์ 2561.

เบญญาภา เอกวัตร. (2556). การศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อสมรรถนะการปฏิบัติงานของบุคลากรองค์การ บริหารส่วนตำบลในจังหวัดประจวบคีรีขันธ์. วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย ปีที่ 5 ฉบับที่ 1 2556.

สมบูรณ์ ศรีสมานุวัตร. (2553). การพัฒนาสมรรถนะของบุคลากรในองค์กรโดยอาศัยสมรรถนะ Competency-based HRD. หลักสูตรวิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร.

สุวิทย์ เมษินทรีย์. (2559). ประเทศไทย 4.0. สืบค้น 25 เมษายน 2560 จาก https://planning 2. mju.ac.th/ goverment/20111119104835_planning/Doc_25590823143652_358135.

Alldredge, M. E., & Nolan, K. J. (2000). 3M’s leadership competency model: An internally developed solution. Human Resource Management, 39, 133–145.

Cancelliere et al. (2011). BMC Public Health. 2011, 11:395.

Chuang, C.H., & Liao, H. (2010). Strategic Human Resource Management in Service Context: Taking care of business by taking care of employees and customers. Personnel Psychology. 63. 153-196.

Cochran, W.G. (1953). Sampling Techniques. New York : Johe Wiley & Sons. Inc.

Dizgah, Mehrdad Goudarzvand Chegini, Farzin Farahbod, Sajjad Salehi Kordabadi. (2011). Employee Empowerment and Organizational Effectiveness in the Executive Organizations. Journal of Basic and Applied Scientific Research, J. Basic. Appl. Sci. Res., 1(9)973-980, 2011.

Forster, David., et al. (2000). Career Assignment Program (Cap) Competency Development Resource Guide. Canada: Public Service Commission of Canada. ca/cap/pdf/cap_ guide_e.pdf Management. Davies – Black Publishing, California.

Gittell, J.H., Seidner, R.B., Wimbush, J. (2010). A Relational Model of How High- Performance Work Systems Work. Organization Science, 21(2): 490-506.

Gong, Y., Law, K.S., Chang, S., & Xin, K.R. (2009). Human resources management and firm performance: The differential role of managerial affective and continuance commitment. Journal of Applied Psychology, 94(1).

Gong, Y., Chang, S., & Cheung, S. (2010). High performance work system and collective OCB: A collective social exchange perspective. Human Resource Management Journal. 20. 119-137.

Hellriegel, Don., Jackson Susan E.,Slocum, John W. (2001). Management: A Competency Based Approach, 9th ed. United State of America: Thompson, South-Western Educational Publishing.

Kennedy, Peter W.; Dresser, Sandy Grogan. (2009). Creating a Competency-Based Workplace. Benefits & Compensation Digest; Feb2005, Vol. 42 Issue 2, p1.

Nai-Wen Chi., & Carol Yeh-Yun Lin, (2010). Beyond the High-Performance Paradigm: Exploring the Curvilinear Relationship between High-performance Work System and Organizational Performance in Taiwanese Manufacturing Firms. British Journal of Industrial Relations. 49(3). 486-514.

Nishii, L.H., Lepak, D.P., & Schneider, B. (2008). Employee attributions of the “why” of HR practices: Their effects on employee attitudes and behaviors, and customer satisfaction. Personnel Psychology. 61. 503–545.

Robinson, G. C. (1994). Managers in Team: How Valuing Individualism or Collectivism Affects Their Participation. Dissertation Abstracts International, 55(04).

Robbins and Coulter. (2007: 89). Organization Theory: Structure, Design, and Applications. New Jersey: Prentice-Hal.

Schiffman, Leon G., & Kanuk, Leslic L., (2000). Consumer Behavior, 7th ed., upper saddle river. NJ: Prentice Hill.

Wageeh Nafei. (2015). The Effects of Job Embeddedness on Organizational Cynicism and Employee Performance: A Study on Sadat City University. International Journal of Business Administration ISSN 1923-4007(Print) ISSN 1923-4015 (Online)

Zwell, M. (2000). Creating a Culture of Competence. New York: John Wiley and Sons, Inc.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-12-17