อิทธิพลเชิงโครงสร้างของสมรรถนะ สภาพแวดล้อมการทำงาน และความพึงพอใจของพนักงานที่มีผลต่อความจงรักภักดีของพนักงานในอุตสาหกรรม การผลิตเครื่องจักรกล จังหวัดระยอง

ผู้แต่ง

  • สิทธิศักดิ์ สวัสดีผล ธัญนันท์ บุญอยู่ และ สุมาลี รามนัฏ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเอเชียอาคเนย์

คำสำคัญ:

สมรรถนะ, สภาพแวดล้อมในการทำงาน, ความพึงพอใจของพนักงาน, ความจงรักภักดีของพนักงาน

บทคัดย่อ

การทำวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับสมรรถนะ สภาพแวดล้อมในการทำงาน ความพึงพอใจของพนักงานและความจงรักภักดีของพนักงาน 2) เพื่อศึกษาอิทธิพลของความพึงพอใจของพนักงานในฐานะตัวแปรคั่นกลางที่เชื่อมโยงสมรรถนะสู่ความจงรักภักดีของพนักงาน และ 3) เพื่อศึกษาอิทธิพลของความพึงพอใจของพนักงานในฐานะตัวแปรคั่นกลางที่เชื่อมโยงสภาพแวดล้อมในการทำงานสู่ความจงรักภักดีของพนักงานในอุตสาหกรรมการผลิตเครื่องจักรกล จังหวัดระยอง โดยกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือ พนักงานแห่งหนึ่งในอุตสาหกรรมการผลิตเครื่องจักรกล จังหวัดระยอง จำนวนทั้งสิ้น 175 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาเป็นแบบสอบถาม สถิติใช้ในการวิจัย คือค่าแความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน  และวิเคราะห์ตัวแบบสมการโครงสร้าง (SEM) โดยใช้โปรแกรม Smart PLS 3.0

ผลการศึกษาพบว่า 1) พนักงานในอุตสาหกรรมการผลิตเครื่องจักรกล จังหวัดระยอง มีระดับของสมรรถนะ สภาพแวดล้อมในการทำงาน ความพึงพอใจของพนักงานและความจงรักภักดีของพนักงานโดยรวมอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.94, 3.85, 3.85 และ 3.82 ตามลำดับ และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.570, 0.650, 0.664 และ 0.812 ตามลำดับ 2) ความพึงพอใจของพนักงานในฐานะตัวแปรคั่นกลางที่เชื่อมโยงสมรรถนะสู่ความจงรักภักดีของพนักงาน โดยมีค่าสัมประสิทธิ์ขอบเขตล่างเท่ากับ 0.570 และขอบเขตบนเท่ากับ 0.907 และ 3) ความพึงพอใจของพนักงานในฐานะตัวแปรคั่นกลางที่เชื่อมโยงสภาพแวดล้อมในการทำงานสู่ความจงรักภักดีของพนักงาน โดยมีค่าสัมประสิทธิ์ขอบเขตล่างเท่ากับ 0.582 และขอบเขตบนเท่ากับ 0.912 ซึ่งจากผลการวิจัยนี้แสดงให้เห็นว่า สมรรถนะส่งผลให้เกิดความพึงพอใจของพนักงาน และสภาพแวดล้อมในการทำงานก็ส่งผลต่อความพึงพอใจของพนักงาน ส่วนความพึงพอใจของพนักงานเป็นตัวแปรสำคัญที่ส่งผลต่อความจงรักภักดีของพนักงาน อย่างมีนัยสำคัญ

References

ธนวัฒน์ มั่นเหมือนป้อม. (2559). วัฒนธรรมองค์การและความพึงพอใจในการทำงานที่พยากรณ์ความจงรักภักดีของพนักงานในโรงงานอุตสาหกรรมอาหาร (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ:มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.

บริษัท ดานิลี่ จำกัด. (2563). ข้อมูลจำนวนพนักงานบริษัท. ระยอง: ฝ่ายบุคคล.

ไพรัช ศิลาศรี. (2559). ความสัมพันธ์ระหว่างความพึงพอใจในการทำงานกับความจงรักภักดีและความ ผูกพัน ต่อองค์การของพนักงานบริษัทนากาชิมา รับเบอร์ (ประเทศไทย) จำกัด (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา.

สถาบันเหล็กและเหล็กกล้าแห่งประเทศไทย. (2563). สืบค้น 1 พฤศจิกายน 2563, จาก https://miu.isit.or. th/box/Download/322/Machinery%20Outlook_Q4,%202020.pdf

ศตวรรษ กล่ำดิษฐ์. (2560). สมรรถนะที่ส่งผลต่อการปฏิบัติงานของพนักงานฝ่ายผลิต ในอุตสาหกรรมการผลิตสายไฟฟ้า กรณีศึกษาบริษัท สายไฟฟ้าไทย-ยาซากิ จำกัด (การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ.

ศิวพร โปรยานนท์ (2554). พฤติกรรมของผู้นำและสภาพแวดล้อมการทำงานที่ส่งผลต่อความสร้างสรรค์ในงานของบุคลากร กรณีศึกษาองค์การธุรกิจไทยที่มีนวัตกรรมยอดเยี่ยม (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต).กรุงเทพฯ: สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

ศุภลักษณ์ พรมศร. (2558). ความสัมพันธ์ระหว่างสภาพแวดล้อมในการทำงาน การรับรู้รูปแบบภาวะผู้นำของพนักงานความผูกพันในงานกับความพึงพอใจในงาน (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

อลิษา กำแพงเงิน, ธัญนันท์ บุญอยู่, และสมใจ บุญทานนท์. (2562). ตัวแบบความสัมพันธ์โครงสร้างเชิงสาเหตุของสภาพแวดล้อมขององค์การและคุณภาพชีวิตในงานที่มีผลต่อการรับรู้ความสุขในการทำงานของพนักงานธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน). วารสารปัญญาภิวัฒน์, 11(3), 124-137.

Benitez, J., Henseler, J., Castillo, A., & Schuberth, F. (2020). How to perform and report an impactful analysis using partial least squares. Guidelines for confirmatory and explanatory IS research. Information & Management, 57(2), 1–16.

Chetna, P., & Rajni, K. (2012). Impact of job satisfaction and organizational commitment on employee loyalty. International Journal of Social Science & Interdisciplinary Research, 1(8), 26-41.

SHI, H. (2014). The Relationship between job satisfaction and employee loyalty in the manufacturing industry of China. Universiti Teknologi Malaysia

Nikolajevaite, M. (2016). Relationship Between Employees’ Competencies and Job Satisfaction: British and Lithuanian Employees. Psychology Research, 6(11), 684-692.

Hair, J. F., Howard, M. C., & Nitzl, C. (2020). Assessing measurement model quality in PLS-SEM using confirmatory composite analysis. Journal of Business Research, 109, 101–110.

Karamanis, K., Arnis, N., & Pappa, P. (2019). Impact of working environment on job satisfaction: Evidence from Greek Public Sector. Theoretical and Empirical Researches in Urban Management, 14(3), 5-21.

Likert, R. A. (1932). A technique for the measurement of attitudes. Archives of Psychology, 140(22), 5-55.

Nyoman, W. (2018). Organization culture competency compensation job satisfaction and lecturer loyalty. Journal of Business on Hospitality and Tourism, 4(1), 1-19.

Cheptoo, R. (2020). The Role of Competency in Curbing Youth Unemployment: Competencybased Curriculum Approach. International Journal of Education, 8(4), 33-37.

Yuliyant, I. (2020). The Effect of Career Development and Work Environment on Employee Loyalty with Work Satisfaction as Intervening Variables. The International Journal of Social Sciences World, 2(2), 20-31.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-06-23