อิทธิพลของการรับรู้ความสามารถของตนเอง ความผูกพันต่อองค์กร และความพึงพอใจ ในงานที่มีผลต่อประสิทธิภาพในการทำงานของพนักงานบริษัทผลิตอุปกรณ์สำหรับอุตสาหกรรมเหล็กแห่งหนึ่งในอำเภอปลวกแดง จังหวัดระยอง
คำสำคัญ:
การรับรู้ความสามารถของตนเอง, ความผูกพันต่อองค์กร, ความพึงพอใจในงาน, ประสิทธิภาพในการทำงานบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับของการรับรู้ความสามารถของตนเอง ความผูกพันต่อองค์กร ความพึงพอใจในงาน และประสิทธิภาพในการทำงานของพนักงาน 2) ศึกษาความผูกพันต่อองค์กรที่อยู่ในฐานะตัวแปรคั่นกลางระหว่างการรับรู้ความสามารถของตนเองและประสิทธิภาพในการทำงานของพนักงาน และ 3) ศึกษาความพึงพอใจในงานที่อยู่ในฐานะตัวแปรคั่นกลางระหว่างการรับรู้ความสามารถของตนเองและประสิทธิภาพในการทำงานของพนักงานบริษัทผลิตอุปกรณ์สำหรับอุตสาหกรรมเหล็กแห่งหนึ่งในอำเภอปลวกแดงจังหวัดระยอง โดยกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ พนักงานบริษัทผลิตอุปกรณ์สำหรับอุตสาหกรรมเหล็กแห่งหนึ่งในอำเภอปลวกแดงจังหวัดระยอง จำนวน 185 คน สถิติที่ใช้ 1) สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ 2) สถิติเชิงอนุมานเพื่อวิเคราะห์ตัวแบบสมการโครงสร้าง (SEM) โดยใช้โปรแกรม Smart PLS 3.0
ผลการศึกษาพบว่า 1) ความผูกพันต่อองค์กรมีค่าเฉลี่ยรวมสูงสุดเท่ากับ 4.15 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.632 รองลงมา คือ ประสิทธิภาพในการทำงานมีค่าเฉลี่ยรวมเท่ากับ 4.02 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.530 การรับรู้ความสามารถของตนเองมีค่าเฉลี่ยรวมเท่ากับ 4.00 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.607 และความพึงพอใจในงานมีค่าเฉลี่ยรวมเท่ากับ 3.93 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.607 ตามลำดับ 2) ความผูกพันต่อองค์กรมีอิทธิพลในการเชื่อมโยงการรับรู้ความสามารถของตนเองและประสิทธิภาพในการทำงาน และ 3) ความพึงพอใจในงานมีอิทธิพลในการเชื่อมโยงการรับรู้ความสามารถของตนเองและประสิทธิภาพในการทำงานของพนักงานบริษัทผลิตอุปกรณ์สำหรับอุตสาหกรรมเหล็กแห่งหนึ่งในอำเภอปลวกแดงจังหวัดระยองอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.01
References
จิดาภา ขนุนศรี, และธัญนันท์ บุญอยู่. (2563). อิทธิพลเชิงโครงสร้างของการจัดการความรู้ที่มีต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของครูอาสาสมัครศูนย์พัฒนาเด็กก่อนวัยเรียนในเขตหนองแขม กรุงเทพมหานคร. วารสารมหาวิทยาลัยเวสเทิร์น มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 6(2), 13-23.
นลพรรณ บุญฤทธิ์. (2558). ปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของบุคลากรองค์การบริหารส่วนจังหวัดชลบุรี (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา.
นวพล ลี้เจริญ. (2561). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความพึงพอใจในการทำงาน และส่งผลต่อประสิทธิภาพในการทำงานของ พนักงานธนาคารออมสิน สำนักงานใหญ่ (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศิลปากร.
ประภาพรรณ พนันเภาว์. (2557). ความสัมพันธ์ระหว่างความผูกพันต่อองค์การกับประสิทธิภาพในการทำงาน ของเจ้าหน้าที่สำนักงบประมาณ กรุงเทพมหานคร. วารสารวิชาการ Veridian E-Journal, 7(1), 712-725.
สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย. (2563). กลุ่มอุตสาหกรรมเหล็ก. สืบค้น 22 พฤศจิกายน 2563, จาก https://www.fti.or.th/category/กลุ่มอุตสาหกรรมเหล็ก/.
สุรทิน กรีดารงศักดิ์, ระพีพรรณ พิริยะกุล, นิภา รุ่งเรืองวุฒิไกร และนรพล จินันท์เดช. (2561). ความผูกพันต่อองค์การจากอิทธิพลของการจัดการความยุติธรรมในองค์การ: หน่วยงานการแพทย์ฉุกเฉินในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารรัชตภาคย์, 12(27), 49-62.
อัมพิกา สุทรภักดี. (2559). การรับรู้การสนับสนุนจากองค์การ การรับรู้ความสามารถของตนเองด้านอาชีพ และผลการปฏิบัติงานของพนักงานขายในธุรกิจประเภทอาหารและเครื่องดื่มแห่งหนึ่ง โดยมีการยึดมั่นต่อเป้าหมายเป็นตัวแปรสื่อ (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัย ธรรมศาสตร์.
Bandura, A. (1986). Social foundations of thought and action: a social cognitive theory. New Jersey: Prentice Hall.
Beck, M. (2008) If at first you don’t succeed you’re in excellent company. Journal of Wall Street, 29.
Becker, H. (1960). Notes on the concept of commitment. American journal of Sociology, 66(1), 32-40.
Hair, J. F., Ringle, C. M., & Sarstedt, M. (2011). PLS-SEM: Indeed a silver bullet. Journal of Marketing Theory and Practice, 19(2), 139-152.
Lai, M, C. & Chen, Y, C. (2012). Self-efficacy, effort, job performance, job satisfaction, and turnover intention: The effect of personal characteristics on organization performance. International Journal of Innovation Management and Technology, 3(4), 387-391.
LiLin & Wang Shiqian. (2002). Factors Affecting the Job Performance of Employees a Work Place in the Higher Education Sector of China. International Journal of Scientific and Research Publications, 8(1), 219-223.
Porter, L. W., Steers, R. M., Mowday, R. T., & Boulian, P. V. (1974). Organization commitment, job satisfaction, and turnover among psychiatric technicians. Journal of Applied Psychology, 59(12), 603-609
Tampubolon, H. (2016). The relationship between employee engagement, job motivation, and job satisfaction towards the employee performance. Corporate Ownership & Control, 13(2), 473-477.
WoodCock, M. (1989). Team development manual. Worcester: Billing & Sons.
Yakin, M. & Erdil, O. (2012). Relationships Between Self-Efficacy and Work Engagement and the Effects on Job Satisfaction: A Survey on Certified Public Accountants, Procedia - Social and Behavioral Sciences, 58, 371.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 สถาบันเทคโนโลยีแห่งสุวรรณภูมิ

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิชาการ สถาบันเทคโนโลยีแห่งสุวรรณภูมิ
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับสถาบันเทคโนโลยีแห่งสุวรรณภูมิ และคณาจารย์ท่านอื่นๆในสถาบันฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว