การบริหารงานบุคคลเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพงานวิชาการโรงเรียนสารสาสน์เขตกรุงเทพมหานคร

ผู้แต่ง

  • ปวริศา แซ่น้า นักศึกษาปริญญาโท คณะศึกษาศาสตร์และศิลปศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีแห่งสุวรรณภูมิ
  • นิพิฐพนธ์ สนิทเหลือ อาจารย์ประจำคณะศึกษาศาสตร์และศิลปศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีแห่งสุวรรณภูมิ

คำสำคัญ:

การบริหารงานบุคคล, ประสิทธิภาพงานวิชาการ, โรงเรียนสารสาสน์เขตกรุงเทพมหานคร

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) วิเคราะห์การบริหารงานบุคคลของโรงเรียนในเครือสารสาสน์เขตกรุงเทพมหานคร 2) วิเคราะห์ประสิทธิภาพงานวิชาการโรงเรียนในเครือสารสาสน์เขตกรุงเทพมหานครและ 3) วิเคราะห์การบริหารงานบุคคลเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพงานวิชาการโรงเรียนสารสาสน์เขตกรุงเทพมหานคร ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ ผู้บริหารและครูโรงเรียนสารสาสน์เขตกรุงเทพมหานคร ปีการศึกษา 2563 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ ผู้บริหารและครูโรงเรียนสารสาสน์เขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 320 คน โดยการเลือกกลุ่มตัวอย่างด้วยวิธีสุ่มแบบแบ่งชั้น เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย เป็นแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน หาความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารงานบุคคลที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพงานวิชาการโรงเรียนสารสาสน์เขตกรุงเทพมหานคร โดยใช้การวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแต่ละขั้นตอน

ผลการศึกษา  พบว่า 1) การบริหารงานบุคคลโรงเรียนสารสาสน์เขตกรุงเทพมหานคร โดยรวม อยู่ในระดับมาก (= 3.68) 2) ประสิทธิภาพงานวิชาการโรงเรียนสารสาสน์เขตกรุงเทพมหานคร โดยรวมอยู่ในระดับมาก (= 4.38) 3) ผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่า ด้านการประเมินผลการปฏิบัติงานของบุคลากร และด้านการสรรหาบุคลากรส่งผลต่อประสิทธิภาพงานวิชาการโรงเรียนสารสาสน์เขตกรุงเทพมหานคร อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2552). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และแก้ไขเพิ่มเติมและที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์คุรุสภา.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). ขอบข่ายงานวิชาการ. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์คุรุสภา.

คมสิทธิ์ คณากูล กฤษฎา วัฒนศักดิ์ และวิรัลพัชร วงศ์วัฒน์เกษม. (2564). การบริหารงานบุคคลของโรงเรียนเอกชนในอำเภอปากช่อง ประเภทสามัญศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน จังหวัดนครราชสีมา. ใน การประชุมวิชาการระดับชาติ วิทยาลัยนครราชสีมา, 120-130.

ณภัทร ตันศรี. (2560). ปัจจัยการบริหารทีส่งผลต่อการดำเนินงานวิชาการของศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในเขตจังหวัดนครนายก. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์).

ธวัชชัย ธรรมคงทอง. (2560). ศึกษาการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนประถมศึกษาในอําเภอ แก่งหางแมว สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจันทบุรี เขต 1. (งานนิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยบูรพา).

บุญชม ศรีสะอาด. (2545). การวิจัยเบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.

ปัทมา พุทธแสน. (2559). สภาพและปัญหาการบริหารงานบุคคลของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเพชรบูรณ์ เขต 3. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฎเทพสตรี). รายงานผลการประเมินภายนอกสถานศึกษา ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สมศ.). (2564, 3 มกราคม). สืบค้น

จาก http://www.onesqa.or.th/th/index.php.

โรงเรียนในเครือสารสาสน์เขตกรุงเทพมหานคร. (2563, 15 มิถุนายน). ข้อมูลทั่วไป. สืบค้นจาก https://www.sarasassaimai.ac.th/index.php?page=aff.

วรพันธ์ เพชรรางกูล. (2560). ปัญหาการบริหารงานบุคคลของผู้บริหารโรงเรียน ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาจันทบุรี เขต 1. (งานนิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยบูรพา).

ศักดิ์ชัย สินธุไชย. (2561). ความพึงพอใจของครูต่อการบริหารวิชาการของโรงเรียนเครือข่ายสหวิทยศึกษามิตรภาพ-มวกเหล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา. (สารนิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยปทุมธานี).

สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน. (2563). กระบวนการบริหารงานบุคคล. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน.

สำนักเลขาธิการสภาการศึกษา. (2563). การบริหารงานบุคคล. กรุงเทพฯ: สำนักเลขาธิการสภาการศึกษา.

Cronbach, L., J. (1970). Essentials of Psychological testing. (3rd ed). New York : Harper and Row.

Kingsbury, J. B. (1957). Personal Administration for That Students. Bangkok: Institute of Public Administration. Thammasat University

Krejcie, R. V., & Morgan, D. W. (1970). Determining sample size for research activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), 608-610.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-12-29