ปัจจัยที่มีผลต่อการมีส่วนร่วมของผู้ประกอบการในการบริหารจัดการ ตลาดนัดจตุจักร
คำสำคัญ:
การมีส่วนร่วม , การบริหารจัดการ , ตลาดนัดจตุจักรบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับการมีส่วนร่วม ความรู้ ความเข้าใจ ทัศนคติ และความเชื่อมั่น ของผู้ประกอบการในการบริหารจัดการตลาดนัดจตุจักร 2) เปรียบเทียบการมีส่วนร่วมของผู้ประกอบการในการบริหารจัดการตลาดนัดจตุจักร กับปัจจัยส่วนบุคคลของผู้ประกอบการ 3) ศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการมีส่วนร่วมของผู้ประกอบการในการบริหารจัดการตลาดนัดจตุจักร ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลกับผู้ประกอบการร้านค้าในตลาดนัดจตุจักร จำนวน 385 คน ใช้สถิติพรรณนา, t- test, F-test และการวิเคราะห์ถดถอยพหุ (Multiple Regression Analysis) ผลการวิจัยพบว่า 1) การมีส่วนส่วนร่วม อยู่ในระดับปานกลาง ความรู้ ความเชื่อมั่น ความเข้าใจ อยู่ในระดับมาก และ ทัศนคติ อยู่ในระดับปานกลาง 2) ผู้ประกอบการที่มีอายุ และประเภทร้านต่างกัน มีส่วนร่วมของผู้ประกอบการในการบริหารจัดการตลาดนัดจตุจักร ที่แตกต่างกัน ส่วน เพศ ระดับการศึกษาและรายได้เฉลี่ยต่อเดือนไม่แตกต่างกัน 4) ความรู้ ความเข้าใจ ทัศนคติ และความเชื่อมั่น ส่งผลต่อการมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการตลาดนัดจตุจักร
References
วีระชัย เฮงฏีกุล. (2557). ความรู้ความเข้าใจและปัจจัยที่มีต่อการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนในเขตเทศบาลตำบลห้วยอ้อ อำเภอลอง จังหวัดแพร่. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์).
ศักดิ์ไทย สุรกิจบวร.(2555). จิตวิทยาสังคม. กรุงเทพ ฯ: สุวีริยาสาส์น.
เสริมศักดิ์ วิศาลาภรณ์. (2557). ประมวลสาระชุดสัมมนาปัญหาและแนวโน้มทางการบริหารการศึกษา :หน่วยที่ 7 ปัญหาและแนวโน้มเกี่ยวกับการมีส่วนร่วมของประชาชนในการบริหารการศึกษา.นนทบุรี : มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมมาธิราช.
Altman & Taylor. (1973). Social Penetration: The Development of Interpersonal Relationships. New York: Holt, Rinechart and Winstion.
Bloom Benjamin S.J. (1975). Taxonomy of Education Objective Hand Book1: Cognitive Domain. New York: David Mokey Company,Inc.
Cohen, J. & Rural Uphoff. (1980). Development Participation: Concept and Measure for Project Design Implementation and Evaluation Rural Development Center. Dissertion Abstracts International.
Hornby, AS. (2001). Oxford Advanced Learner’s Dictionary. (6th ed). Oxford: Oxford University Press.
Gibson. J.M.E. (1998). Using The Delphi Technique to identify the content and context of nurses’ continuing professional development needs. Journal of clinical Nursing, Sep;7(5), 451-9. doi: 10.1046/j.1365-2702.1998.00175.x. PMID: 9855997.
Newstrom, John W., & Davis, Keith. (2002) Organizational Behavior: Human Behavior at work (11th ed.). New York: McGraw-Hill.
Rotter. (1967). The Development and Application of Social Learning Theory. New York: Pracger.
Thurstone, L.L. (1967). Reading in Attitude Theory and Measurement. New York: John Wiley and Sons.
White. (1982). Community Participation. New York: Children s Fund.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 สถาบันเทคโนโลยีแห่งสุวรรณภูมิ

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิชาการ สถาบันเทคโนโลยีแห่งสุวรรณภูมิ
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับสถาบันเทคโนโลยีแห่งสุวรรณภูมิ และคณาจารย์ท่านอื่นๆในสถาบันฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว