ประสิทธิภาพการทำงานที่บ้าน (Work from Home) ของพนักงานบริษัทเอกชนใน สถานการณ์การเกิดการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก

ผู้แต่ง

  • Prakai Wuttipipattanapong -
  • Thitima Somsanhan
  • Chusak Intamon

คำสำคัญ:

ประสิทธิภาพการทำงาน , การทำงานที่บ้าน , เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยส่วนบุคคล ปัจจัยการเพิ่มขีดความสามารถขององค์การ และปัจจัยของการจัดการการเปลี่ยนแปลงที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการทำงานที่บ้าน (Work from Home) ของพนักงานบริษัทเอกชนในสถานการณ์การเกิดการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออกโดยใช้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 400 คน โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบสมมติฐานโดยใช้สถิติการทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ย T-test, F-test ด้วยวิธีการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-way ANOVA) และ Multiple Regression Analysis

            ผลการศึกษา พบว่า ปัจจัยส่วนบุคคลด้านเพศ ส่งผลต่อประสิทธิภาพการทำงาน ส่วนด้านอายุ ระดับการศึกษา และตำแหน่งงาน ไม่มีผลต่อประสิทธิภาพการทำงาน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ส่วนของการทดสอบความสัมพันธ์ของตัวแปร พบว่า ปัจจัยการบริหารจัดการการเปลี่ยนแปลง ในด้านการวางแผนกลยุทธ์ ด้านการพัฒนาขีดความสามารถการเปลี่ยนแปลง มีผลต่อประสิทธิภาพการทำงาน และปัจจัยการจัดการการเปลี่ยนแปลง ในด้านการปรับปรุงและพัฒนาองค์การ ด้านการวางแผนและกำกับดูแล และด้านการมีส่วนร่วมในการเปลี่ยนแปลง มีผลต่อประสิทธิภาพการทำงาน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

Author Biographies

Prakai Wuttipipattanapong, -

Independent researcher

Thitima Somsanhan

Independent researcher

Chusak Intamon

Independent researcher

References

เกษม แก้วสนั่น และเพ็ญศรี ฉิรินัง (2564). การจัดการองค์การไปสู่ความสำเร็จ. วารสารพุทธสังคมวิทยาปริทรรศน์, 6 (4), 88-108.

จิราภรณ์ ศรีแจ่ม (2563). วันที่ไทยรู้จัก COVID-19. เข้าถึงได้จาก https://news.thaipbs.or.th/content/290347

ชนกนันท์ โตชูวงศ์ (2562). การจัดการการเปลี่ยนแปลงที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการทำงานที่บ้าน (Work from home) ของพนักงานบริษัทเอกชนในสภาวะ

วิกฤติการเกิดโรคระบาดไวรัสโควิด-19ในเขตกรุงเทพมหานคร. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

ธีทัต ตรีศิริโชติ. (2564). การปรับกลยุทธ์ให้เหมาะสมกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลง. วารสารวิชาการสังคมศาสตร์เครือข่ายวิจัยประชาชื่น, 3(2), 62-72.

นิเวศน์ วงศ์สุวรรณ และอินถา ศิริวรรณ (2560). การบริหารแบบมีส่วนร่วม. วารสารมหาจุฬาวิชาการ, 4(1),176-187.

ปิยะดา พิศาลบุตร จิราวรรณ คงคล้าย และเฉลิมชัย กิตติศักดิ์นาวิน. (2559). แนวทางการเพิ่มขีดความสามารถขององค์การด้านการพัฒนาสมรรถนะทรัพยากร

มนุษย์. วารสารวิชาการ Veridian E-Journal บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร สาขามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ, 9(1), 1315-1326.

พีรญา ชื่นวงศ์. (2560). ประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของพนักงาน: กรณีศึกษา ธุรกิจการขนส่งในจังหวัดเชียงราย. วารสารเศรษฐศาสตร์และกลยุทธ์การจัดการ,

(2), 92-100.

พัชราพรรณ ชอบธรรม. (2562). การวางแผนกลยุทธ์: เครื่องมือสู่ความสำเร็จขององค์การ. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่,

(2), 55-75.

รัฐบาลไทย. (2563). รัฐบาลขอความร่วมมือทุกหน่วยงาน “Work from Home” หลังสงกรานต์. เข้าถึงได้จาก

https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/40921.

วรรธนศม เมฆสุวรรณ และเอกสิทธิ์ สนามทอง. (2564). รูปแบบการพัฒนาองค์การเชิงกลยุทธ์เพื่อการเปลี่ยนแปลงสำหรับองค์การธุรกิจเอกชนในประเทศไทย.

วารสารสังคมศาสตร์และมานุษยวิทยาเชิงพุทธ, 6(4), 160-175.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (2549). คู่มือเทคนิคและวิธีการบริหารจัดการสมัยใหม่ตามแนวทางการบริหารบ้านเมืองที่ดี. การบริหารการ

เปลี่ยนแปลง. นนทบุรี: สหมิตรพรินติ้ง.

สุพัฒน์ ปิ่นหอม มณฑิรา ลีลาประชากุล นิพิฐพนธ์ สนิทเหลือ วิวัฒน์ วรวงษ์ นันทพงศ์ หมิแหละหมัน และเฉลิมชาติ เมฆแดง. (2563). ปัจจัยที่มีผลต่อ

ประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของพนักงานในหน่วยงานวิศวกรรมบริษัท เบทาโกร จำกัด (มหาชน) สายธุรกิจอาหารสัตว์. วารสารวิชาการ สถาบันเทคโนโลยี

แห่งสุวรรณภูมิ, 3(2), 520-533.

อุทัย ปริญญาสุทธินันท์ (2561). การพัฒนาองค์การ: ประเด็นทบทวนสู่การประยุกต์ใช้เพื่อการจัดการชุมชน. วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร, 38(6), 24-48.

อรนิภา กุลสมบูรณ์สินธ์ และเจริญชัย เอกมาไพศาล (2560). อิทธิพลของคุณลักษณะทางเพศต่อความก้าวหน้าในอาชีพของผู้จัดการโรงแรม: กรณีศึกษาผู้จัดการ

โรงแรมเพศหญิงในเมืองพัทยา จังหวัดชลบุรี. วารสารธรรมศาสตร์, 36(3), 148-182.

Peterson, E., & Plowman, E.G. (1989). Business organization and management. Homewood,llinois: Richard D. Irwin.

Rovinelli, R. J., & Hambleton, R. K. (1977). On the use of content specialists in the assessment of criterion-referenced test item validity.

Dutch Journal of Educational Research, 2, 49-60.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-06-30