การวิเคราะห์ลักษณะข่าวปลอมที่พบจากหน่วยงานตรวจสอบข้อเท็จจริง เพื่อสะท้อนภาพนิเวศข่าวปลอมของไทย

Main Article Content

จิรนันท์ หาญธํารงวิทย์
ณัฐพล ศุภสิทธิ์
สันติชัย อาภรณ์ศรี
ธิติมา อุรพีพัฒนพงศ์
อาธิติยา จําปาจันทร์

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิเคราะห์ข่าว/ ข้อมูลจากหน่วยงานตรวจสอบข้อเท็จจริง 3 แห่ง ได้แก่ ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม ประเทศไทย และโครงการโคแฟคประเทศไทย ในช่วงเวลาเดือนมกราคม-มิถุนายน พ.ศ. 2564 โดยพบว่า มีข่าว/ ข้อมูลที่ทั้ง 3 แห่ง ตรวจสอบแล้วว่าเป็นข่าวปลอม จำนวน 908 ชิ้น เมื่อใช้แนวคิดของ Wardle and Derakhshan (2017) มาเป็นกรอบในการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) ผลการศึกษา พบว่า ในจำนวนข่าวปลอมทั้ง 908 ชิ้น สามารถแบ่งเป็นข้อมูลบิดเบือน (Disinformation) จำนวน 502 ชิ้น ข้อมูลผิดพลาด (Misinformation) จำนวน 406 ชิ้น และ
ไม่ปรากฏข่าว/ ข้อมูลที่มีลักษณะเป็นข้อมูลมุ่งร้าย (Malinformation) โดยในภาพรวม พบว่า มีข่าวปลอมที่เกี่ยวกับโควิด-19 มากที่สุด ซึ่งสอดคล้องกับสถานการณ์ของไทยในขณะนั้น รองลงมาเป็นข่าวปลอมที่เกี่ยวกับสุขภาพ
ซึ่งส่วนใหญ่มีเนื้อหาเกี่ยวกับยาสมุนไพรและการรักษาโรค หรือข่าวผลิตภัณฑ์อาหารเสริมที่มีการโฆษณาสรรพคุณเกินจริง ที่ถูกสร้าง/ ส่งต่อ ทั้งด้วยการแสวง


กำไรและความหวังดี การศึกษาครั้งนี้ จึงเป็นการมุ่งฉายภาพนิเวศข่าวปลอมที่เกิดขึ้นในประเทศไทย ผ่านการทำงานของหน่วยงานตรวจสอบข้อเท็จจริงทั้ง 3 แห่ง ในช่วงที่เลือกศึกษาเพื่อการพัฒนากรอบการวิเคราะห์แนวทาง
ในการศึกษา ตรวจสอบ เฝ้าระวัง และรณรงค์ปัญหาเกี่ยวกับข่าวปลอมในแง่มุมต่าง ๆ ต่อไปในอนาคต

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Flood, A. (2017). Fake news is 'very real' word of the year for 2017. The Guardian. Available online at https://www.theguardian.com/books/2017/nov/02/fake-news-is-very-real-word-of-the-year-for-2017

Inthanon, S. (2019). News literacy. Bangkok: Child and Youth Media Institute

Wardle, C. (2017). Fake news. It’s complicated. First Draft. Available at https://firstdraftnews.org/articles/fake-news-complicated/

Wardle, C., & Derakshan, H. (2017). Information disorder: Toward an interdisciplinary framework for research and policy making. Strossburig: Council of Europe.