พระธรรมจาริกนักสื่อสารในการผลิตและเผยแพร่สื่อสร้างสรรค์ในกลุ่มชาติพันธุ์

Main Article Content

พระวิสิทธิ์ ฐิตวิสิทฺโธ (วงค์ใส)
กิตติ์ ขวัญนาค

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนาพระธรรมจาริกนักสื่อสารให้สามารถผลิตรายการและสื่อสารเรื่องเล่าท้องถิ่น วิถีชีวิต ภูมิปัญญา และหลักคําสอนทางพระพุทธศาสนาผ่านบทบาทของพระธรรมจาริกนักสื่อสารในพื้นที่มีรูปแบบที่น่าสนใจ การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ คัดเลือกเลือกแบบเฉพาะเจาะจง ได้แก่ เจ้าอาวาส ผู้นำชุมชน และตัวแทนชาวบ้าน ใช้แบบสัมภาษณ์เชิงลึกประกอบกับการสนทนากลุ่มเฉพาะ จำนวน 10 รูป/คน ดำเนินการวิจัยในพื้นที่ภาคเหนือจำนวน 5 พื้นที่ อาทิวัดห้วยบง ตำบลบ้านจันทร์   อำเภอกัลยาณิวัฒนา  จังหวัดเชียงใหม่ อาศรมพระธรรมจาริกแม่หลุ ตำบลกองแขก อำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่  อาศรมพระธรรมจาริกบ้านพระธรรมจาริกพัฒนา ตำบลลานหอย อำเภอบ้านด่านลานหอย จังหวัดสุโขทัย อาศรมพระธรรมจาริกบ้านสบมาง ตำบลภูฟ้า อำเภอบ่อเกลือ จังหวัดน่าน และอาศรมพระธรรมจาริกบ้านแม่ลาคี ตำบลแม่วะหลวง อำเภอท่าสองยาง จังหวัดตาก   ผลการวิจัยพบว่า เกิดการผลิตรายการและสื่อสารเรื่องเล่าท้องถิ่น วิถีชีวิต ภูมิปัญญา และคำสอนทางพระพุทธศาสนาผ่านบทบาทของพระธรรมจาริกนักสื่อสาร จำนวน 5 เรื่อง อาทิ  เรื่องที่1 ธรรมกินได้ บุญสัญจร   วิถีแห่งการแบ่งปันที่วัดจันทร์  เรื่องที่2  ธรรมอิ่มท้อง การฟื้นภูเขาข้าวโพดเป็นสวนผสมผสาน สร้างอาหาร สร้างรายได้ และฟื้นผืนป่า เรื่องที่3 ธรรม-มั่นคง สันโดษ ความยินดี ความพอใจ คือความรู้จักพอดี ความรู้จักพอเพียง เรื่องที่4  ธรรมร่มเย็น สัจจะของคนลุ่มน้ำมางในการดูแลผืนป่า และเรื่องที่5 ธรรม-สุขใจ กับวิถีของคนเลี้ยงช้าง และคนขึ้นหมากแห่งบ้านแม่ลาคี      

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Benjarongkit, Y. (1999). Audience analysis. Bangkok: Faculty of Communication Arts Chulalongkorn University.

Phra Akkharaphisut Sirivadhano. (2021). Buddha-dhamma communicative procedures via social media of the monks in thai society. Phimoldhamma Research Institute Journal, 8(2),107-118

Phramaha Thanit Sirivathano Loonnawan. (2015). The model and process of buddha-dhamma communication through social media of Buddhist monks in Thailand. Rajabhat Chiang Mai Research Journal, 16(2), 75-86.

PhraUdombundhit (Somsak Suddhiñãnamedhĩ). (2022). Format and network for propagation of Buddhism of the Dhammacarika in Thai society. Journal of MCU Social Development, 7(2),

-32.

Rattamangam, S. (2022). Communication for social development in the artificial intelligence era. Journal of Buddhist Studies Vanam Dongrak, 9(1), 179-189.

Satavetin, P. (2003). Mass communication processes and theories. Bangkok: Chulalongkorn University.