การนำเสนอข่าวสารด้านกีฬาของสื่อออนไลน์ กรณีศึกษา “นิทรรศการทิศทางกีฬาไทย” ของกรรมาธิการการกีฬาวุฒิสภา
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อค้นหาลักษณะทางประชากรศาสตร์ของผู้เปิดรับข่าวสาร “นิทรรศการทิศทางกีฬาไทย” ของกรรมาธิการการกีฬาวุฒิสภา 2) เพื่อค้นหาสื่อออนไลน์ที่นำเสนอข่าวสาร “นิทรรศการทิศทางกีฬาไทย” ของกรรมาธิการการกีฬาวุฒิสภา การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการวิเคราะห์เนื้อหา ใช้วิธีการเขียนโปรแกรมอัลกอริทึมแบบทำซ้ำ (Repetition Algorithm) ขึ้นมาใหม่ เพื่อปล่อยให้โปรแกรมค้นหาข้อมูลจากสื่อออนไลน์ในการจับข้อความวลีที่จัดพิมพ์ว่า “นิทรรศการทิศทางกีฬาไทย” “ทิศทางกีฬาไทย” โดยกรรมาธิการการกีฬาวุฒิสภา กับกลุ่มตัวอย่างประเภทสื่อออนไลน์ ได้แก่ Facebook, Website, Web News, YouTube และ X โดยใช้ระบบอัลกอริทึมค้นหาข้อมูลในช่วงแถลงข่าวการจัดนิทรรศการ วันที่ 15-30 พฤศจิกายน 2566 วันที่ 1-12 ธันวาคม 2566 และวันที่ 13-29 ธันวาคม 2566 และหลังจัดงานนิทรรศการ จากการค้นหาพบว่า 1) กลุ่มตัวอย่างที่ติดตามนิทรรศการทิศทางกีฬาไทย เป็นเพศชาย ร้อยละ 62 และเพศหญิง ร้อยละ 38 อายุที่ติดตามมากที่สุดทั้งเพศชายและเพศหญิงอยู่ในช่วงอายุ 18-25 ปี 2) ทั้ง 3 ช่วงเวลารวมกันสื่อประเภทที่แสดงให้พบว่ามีคนติดตามช่วงนี้สูงสุด คือ ข่าวจาก PPTV HD 36 มีผู้รับทราบข่าวสารการจัดนิทรรศการทิศทางกีฬาไทย 3,511,432 Audience และประเภทสื่อออนไลน์ที่คนติดตามข่าวนิทรรศการทิศทางกีฬาไทยน้อยที่สุด ได้แก่ สื่อ X
โดยประโยชน์ของงานวิจัยนี้สามารถนำไปใช้เป็นแนวทางการสื่อสารด้านกีฬาสำหรับกลุ่มคนที่ติดตามข่าวด้านกีฬาเป็นสื่อออนไลน์ประเภท Facebook เป็นหลัก และเป็นช่องทางการสื่อสารข่าวด้านกีฬาที่มีคนติดตามมากที่สุด
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
Chaiwong, S. (2024). Sport direction of Thailand. Ebook. Retrieved from https://www.sente.go.th
Harris, J. (2020). The role of internet media in shaping consumer behavior. In Internet Media Quarterly, pp. B1-B3.
Krubom (2023). What is an algorithm?. Retrieved from https://krubom.com/blog/Technology-m1/what-is-Algorithms
Linechareavn, A. (2012). Qualitative data analysis teehniques. Journal of educational measurement Mahasarakham University, 17(1), 1-13.
Natural History Museum: NSM. (2021). Algorithm. Retrieved from https://www.nsm.or.th/nsm/th/node/5540
Pitathasang, P. (2018). Political communication in sport city program. Dissertation the Requirements for the Degree of Doctor of Philosophy, Program in Mass Communication, Faculty of Journalism and Mass communication, Thammasat University.
Pongsri, N. (2018). Self-Identification of facebook users belonging to generation c in Bangkok. K. M.Com.Arts, Strategic Communications, Graduate School, Bangkok University.
Poomkumarn, S. (2019). Usage of new media of elderly football fan for recreation and their perception of the case of social relation and quality of life: A case study of Chonburi Football Club. A Thesis Submitted of Requirements for the Degree of Doctor Of Philosophy in Communication Arts Program Faculty of Communication Arts, Dhurakij Pundit University.
Roberts, S. (2018). Online journalism and its impact on public discourse. Digital Journalism Review, 5(3), 101-115.
Singprai, S. (2024). Sport direction of Thailand. Ebook. Retrieved from https://www.sente.go.th
Sport Direction of Thailand. (2024). Sport direction of Thailand. Ebook. Retrieved from https://www.sente.go.th
Thompson, L. (2017). The influence of internet media on public opinion. Journal of Internet Studies, 10(2), 45-58.
Wichitcholchai, P. (2024). Sport direction of Thailand. Ebook. Retrieved from https://www.sente.go.th
Williamson, A. (2013). Socialmedia guidelines for parliaments. Retrieved from archive.ipu.org/PDF/publications/SMG2013EN.pdf
Wongrak, M., Prasartketkarn, C., & Tipsorn, W. (2023). A communication model on virtual setting for enhancing the public relations potential of sports organization. Lawasri Journal, 78(1), 76-90.