การท่องเที่ยวแบบคาร์บอนต่ำ: การรับรู้ และทัศนคติของนักท่องเที่ยวที่เข้าพักในสถานประกอบการภาคีเครือข่ายขององค์การพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวที่ยั่งยืน (อพท.)

Main Article Content

ธีระ สินเดชารักษ์

บทคัดย่อ

            บทความวิจัยนี้ นำเสนอการรับรู้และทัศนคติของนักท่องเที่ยวที่เลือกพักในสถานประกอบการภาคีเครือข่ายขององค์การพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวที่ยั่งยืน (อพท.) ต่อการส่งเสริมและสนับสนุนให้เกิดการท่องเที่ยวแบบคาร์บอนต่ำหรือการท่องเที่ยวที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ซึ่งเป็นหนึ่งในนโยบายที่สำคัญของอพท. ซึ่งมีพันธกิจหลักในการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวให้พื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวที่ยั่งยืนและเกิดความสมดุลระหว่างเศรษฐกิจ สังคมและสิ่งแวดล้อม โดยมีวิธีศึกษาด้วยวิธีวิทยาเชิงปริมาณด้วยตัวอย่าง จากนักท่องเที่ยวที่เข้าพักในสถานประกอบการภาคีเครือข่ายของอพท. 6 พื้นที่ ได้แก่ พื้นที่พิเศษตราดและหมู่เกาะเชื่อมโยง พื้นที่พิเศษเมืองพัทยาและพื้นที่เชื่อมโยง พื้นที่พิเศษอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย–ศรีสัชนาลัย–กำแพงเพชร พื้นที่พิเศษเลย พื้นที่พิเศษเมืองเก่าน่าน และพื้นที่พิเศษเมืองโบราณอู่ทอง จำนวน 718 ราย จากสถานประกอบการ 33 แห่ง ระหว่างวันที่ 11–13 และ 25–27 กันยายน พ.ศ. 2558


            โดยผลการศึกษาในภาพรวม นักท่องเที่ยวมีการรับรู้และทัศนคติที่ดีต่อการท่องเที่ยวแบบคาร์บอนต่ำโดยเฉพาะในการรับรู้สิ่งที่แต่ละพื้นที่พิเศษได้มีการรณรงค์และส่งเสริมให้นักท่องเที่ยวมีพฤติกรรมการท่องเที่ยวที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมทั้งในด้านการใช้พลังงาน การรับประทานอาหารจากร้านที่ใช้วัตถุดิบท้องถิ่น และการเลือกพาหนะในการเดินทางระหว่างการท่องเที่ยวในพื้นที่พิเศษ ในขณะที่ข้อคำถามเกี่ยวกับการรับรู้ที่เกิดจากการจัดกิจกรรมในภาคปฏิบัติจากส่วนกลาง นักท่องเที่ยวมีการรับรู้ที่น้อยกว่า เมื่อเปรียบเทียบกลุ่มนักท่องเที่ยวชาวไทยและต่างประเทศพบว่านักท่องเที่ยวชาวไทยมีการรับรู้เกี่ยวกับการท่องเที่ยวแบบคาร์บอนต่ำมากกว่านักท่องเที่ยวชาวจีนอย่างมีนัยสำคัญ จากการวิเคราะห์การถดถอยและสหสัมพันธ์พบว่า นักท่องเที่ยวที่มีอายุ และเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ประหยัดพลังงานเป็นประจำจะมีการรับรู้เกี่ยวกับการท่องเที่ยวแบบคาร์บอนต่ำมากกว่านักท่องเที่ยวในกลุ่มตรงข้าม อย่างไรก็ตามทัศนคติที่ดีหรือไม่ดีต่อการท่องเที่ยวแบบคาร์บอนต่ำไม่มีผลต่อการรับรู้เกี่ยวกับการท่องเที่ยวที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ผลการศึกษาในบทความนี้สามารถใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานในการรณรงค์และส่งเสริมให้นักท่องเที่ยวตระหนัก ให้ความสำคัญ และมีพฤติกรรมการท่องเที่ยวที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมอันนำไปสู่การท่องเที่ยวที่ยั่งยืนในฝั่งของนักท่องเที่ยวได้

Article Details

บท
บทความวิจัย
Author Biography

ธีระ สินเดชารักษ์, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

Dr. Teera Sindecharak is an assistant professor at faculty of Sociology and Anthropology, Thammasat University. He is also an assistant for the Rector for Research and as an associate dean for Planning and Quality Assurance. He received a bachelor’s degree in Statistics from Thammasat University and a master’s degree in Applied Statistics from Thamasat Unviersity. He received a Ph.D. in Demography from Mahidol University, Thailand. He is interested in Social Demography, Chinese Studies, Social Service and Applied Statistics.

References

Cape Town Declaration. (2012). Cape Town Conference on Responsible Tourism in Destinations. Retrieved from http://www.capetown.gov.za/en/tourism/Documents/ResponsibleTourism/Tourism_RT_2002_Cape_Town_Declaration.pdf

Chandrashekara, B. & Vishwanatha, S. (2014). Economic Impacts of Ecotourism – A Perceptional Study. International Journal of Innovative Research & Study, 3(3), 15–23.

Chiesa, T. & Gautam, A. (2009). Towards a Low Carbon Travel & Tourism Sector: World Economic Forum. Geneva: Booz & Company.

Cooper, C., Fletcher, J., Fyall, A., Gilbert, D. & Wanhill, S. (2005). Tourism: Principle and Practice. Essex: Pearson Education Limited.

Diamantis, D. (2004). Ecotourism Management: An Overview. Diamantis Dimitrios, Ecotourism. London: Thomson Learning.

Korosi, V. & Hernan, D. (2013). Environment and Social Impacts of Ecotourism: A Comparative Analysis of Assessment Procedures between Australia and Mexico. New South Wales: University of Wollongong.

Sustainable Tourism. (n.d.). Definition. Retrieved from http://www.sustainabletourism.net/sustainable-tourism/definitions/

United Nations Environment Programme. (n.d.). Tourism’s Three Main Impact Areas. Retrieved from http://www.unep.org/resourceefficiency/Business/SectoralActivities/Tourism/FactsandFiguresaboutTourism/ImpactsofTourism/EnvironmentalImpacts/TourismsThreeMainImpactAreas/tabid/78776/Default.aspx

Wattanachaiyingcharoen, R. (2008). Life and Environment: Living Things and Its Existence. Bangkok: Aksorn Charoentat.

Wearing, S. & Neil J. (2009). Ecotourism: Impacts, Potentials, and Possibilities? Oxford: Butterworth-Heinemann.

World Tourism Organization. (n.d.). Sustainable Development of Tourism. Retrieved from http://sdt.unwto.org/content/about-us-5