การวิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อความอยู่รอดในระยะยาวของร้านอาหารในจังหวัดเชียงใหม่ด้วยวิธีการวิเคราะห์เชิงลำดับชั้น (AHP)
Main Article Content
บทคัดย่อ
ในช่วงการแพร่ระบาดของโรค COVID–19 ความมั่นคงของธุรกิจร้านอาหารกลายเป็นเรื่องที่สร้างความกังวลใจให้แก่ผู้ประกอบธุรกิจร้านอาหารทั่วโลก เพื่อศึกษาปัจจัยที่ช่วยให้ร้านอาหารต่าง ๆ ในจังหวัดเชียงใหม่ของประเทศไทยรอดพ้นจากวิกฤตนี้ ผู้วิจัยจึงได้ดำเนินการสัมภาษณ์เจ้าของร้านอาหารที่มีประสบการณ์มากกว่า 10 ปี จำนวน 15 ร้าน โดยใช้วิธี Analytical Hierarchy Process (AHP) เพื่อระบุปัจจัยสำคัญที่ช่วยให้ธุรกิจรอดพ้นจากวิกฤตนี้ จากการวิเคราะห์นี้ช่วยให้สามารถกำหนดความสำคัญในแต่ละปัจจัยได้ ผลการวิเคราะห์พบว่าคุณภาพของวัตถุดิบอาหารและบริการเป็นปัจจัยที่สำคัญที่สุดด้วยคะแนน 45.16% ตามด้วยการปรับตัวกับวิกฤติที่เผชิญอยู่มีคะแนนรองลงมาอยู่ที่ 26.79% และปัจจัยที่มีผลน้อยที่สุดคือนโยบายช่วยเหลือจากรัฐบาลมีคะแนนเพียง 3.03%
จากผลวิจัยพบว่า กลยุทธ์ดั้งเดิมของร้านอาหารที่มุ่งเน้นในแง่ของการรักษาคุณภาพอาหารรวมถึงการจัดการต้นทุนและทรัพยากรให้คุ้มค่าเป็นวิธีที่ช่วยให้ประสบความสำเร็จในระยะยาว ส่วนการหวังพึ่งความช่วยเหลือจากภาครัฐอาจไม่สามารถใช้เป็นกลยุทธ์ได้หากมองตามความเป็นจริง เราจึงแนะนำให้เจ้าของร้านอาหารให้ความสำคัญกับการรักษาคุณภาพของอาหารและบริการ รวมถึงปรับตัวเข้ากับการเปลี่ยนแปลงที่อาจเกิดขึ้นอยู่ตลอดเวลา ให้ความสำคัญกับเสถียรภาพทางการเงินของร้าน และยกระดับความสะอาดและความปลอดภัย ซึ่งเจ้าของร้านอาหารสามารถนำข้อมูลชุดนี้ไปใช้เป็นแนวทางรับมือกับวิกฤตได้ในอนาคต
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
Chuyingsakulthip, C. (2021). The Survival of Restaurants during Covid–19 Pandemic in Thailand. Mahidol University.
Department of Disease Control. (2022). Policy Responses to Covid–19. Ministry of Public Health.
Dong, Q. & Saaty, T. (2014). An Analytical Hierarchy Process Model of Group Consensus. Journal of Systems Science and Systems Engineering, 23, 362–374.
Halpern-Lanz, L. & Szymanski, S. (2020). Adaptation – Restaurants Maneuver in Response to Covid–19. Boston Hospitality Review, 8.
Karniouchina, E., Sarangee, K., Theokary, C. & Kübler, R. (2022). The Impact of the Covid–19 Pandemic on Restaurant Resilience: Lessons, Generalizations, and Ideas for Future Research. Service Science, 14(5).
Kulshrestha, K. & Sharma, G. (2022). From Restaurant to Cloud Kitchen: Survival of the Fittest during Covid–19: An Empirical Examination. Technological Forecasting and Social Change, 179, 121629.
Parsa, H., Self, J., Njite, D. & King, T. (2005). Why Restaurants Fail. Cornell Hotel and Restaurant Administration Quarterly, 46, 304–322.
Saaty, T. L. (1977). A Scaling Method for Priorities in Hierarchical Structures. Journal of Mathematical Psychology, 15(3), 234–281.
Sheng, J. (2019). Being Active in Online Communications: Firm Responsiveness and Customer Engagement Behaviour. Journal of Interactive Marketing, 46, 40–51.
Suksomwat, P. (2022). An Effect Caused by the Outbreak of Coronavirus (Covid–19) and the Survival Strategies of Food & Beverage Business. Management Science Review, 24(1), 163–171.