การพัฒนาคุณธรรมของนักเรียนโรงเรียนโนนกลางวิทยาคม ตามแนวปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาคุณธรรมของนักเรียนตามแนวปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงและเพื่อประเมินผลการพัฒนาโรงเรียนโนนกลางวิทยาคม. เป้าหมายของการพัฒนา ได้แก่ นักเรียน ครู และบุคลากรและการบริหารจัดการสถานศึกษา สังกัดโรงเรียนโนนกลางวิทยาคม จำนวน 235 คน ปีการศึกษา 2561 โดยใช้กระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action Research) ผลการวิจัย พบว่า 1) การพัฒนาคุณธรรมของนักเรียนตามแนวปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงประกอบด้วย แผนพัฒนาจำนวน 3 ด้าน 3 โครงการ และ 12 กิจกรรม 2) ส่วนผลการประเมินการพัฒนาคุณธรรมของนักเรียนตามแนวปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงตามลักษณะองค์ประกอบ 3 ด้านพบว่า (1) ผลการพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษา พบว่า ครู และบุคลากรทางการศึกษา เป็นแบบอย่างที่ดีและเป็นผู้มีความรู้ ความเข้าใจ และมีความสามารถในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนและการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนตามแนวปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงอย่างน่าพอใจ (2) ผลการพัฒนานักเรียน พบว่า นักเรียนเป็นผู้มีความประพฤติเรียบร้อยปฏิบัติอยู่ในระเบียบวินัยของโรงเรียน แต่งกายสุภาพเรียบร้อย เป็นกัลยาณมิตรกับเพื่อนทุกคนหลีกเลี่ยงสิ่งเสพติด ไม่ก่อปัญหาการทะเลาะวิวาท และมีคุณธรรมนำความรู้ตามแนวปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงอย่างน่าพอใจ (3) ผลการพัฒนาด้านการบริหารจัดการสถานศึกษา พบว่า โรงเรียนนำหลักการของปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาบูรณาการและประยุกต์ใช้ในการบริหารงานวิชาการงานบุคลากร งานการเงิน งานบริหารทั่วไปและความสัมพันธ์กับชุมชนได้อย่างมีประสิทธิภาพและน่าพอใจ
Article Details
References
ทวีป ศิริรัศมี. (2545). การวางแผนพัฒนาและการประเมินโครงการ. กรุงเทพฯ: ศูนย์หนังสือจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ธีรวุฒิ เอกะกุล. (2545). เอกสารประกอบการสอนวิชาการวิจัยเชิงปฏิบัติการ หลักสูตรครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิจัยและประเมินผลการศึกษา คณะครุศาสตร์ สถาบันราชภัฏอุบลราชธานี. อุบลราชธานี: สถาบันราชภัฏอุบลราชธานี.
ธีระ รุญเจริญ. (2550). ความเป็นมืออาชีพในการจัดและบริหารการศึกษา. กรุงเทพฯ: บริษัทแอล.ทีเพรสจำกัด.
ประภาส ละราคี. (2552). การวิจัยปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมเพื่อพัฒนาคุณธรรม จริยธรรมของนักเรียนโรงเรียนบ้านกุดตาใกล้ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษากาฬสินธุ์ เขต 3. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.
ประเวศ วะสี. (2540). เศรษฐกิจแห่งการพึ่งตนเอง : ความเข้มแข็งจากฐานล่าง. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์หมอชาวบ้าน.
พระธรรมปิฎก (ป.อ.ปยุตโต). (2547). เศรษฐกิจพอเพียง : ปรัชญาและยุทธศาสตร์การพัฒนาแบบยั่งยืน. บทความวิชาการเนื่องในโอกาสครบรอบสถาปนา 40 ปี สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.
ไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม. (2550). ความรู้ท้องถิ่น การจัดการความรู้สู่การจัดการทางสังคม. กรุงเทพฯ: วิทยาลัยการจัดการทางสังคม.
สมาน อัศวภูมิ. (2549). การบริหารการศึกษาสมัยใหม่ : แนวคิดทฤษฎีและการปฏิบัติ. พิมพ์ครั้งที่ 2. อุบลราชธานี: อุบลกิจออฟเซทการพิมพ์.
_______. (2550). เส้นทางสู่คุณภาพและมาตรฐานการศึกษา. อุบลราชธานี: อุบลกิจออฟเซทการพิมพ์.
สุนัย เศรษฐ์บุญสร้าง. (2550). แนวทางปฏิบัติ 7 ขั้นตอนสู่วิถีเศรษฐกิจพอเพียง. กรุงเทพฯ: มูลนิธิวิถีสุข.
เสนอ ภิรมจิตรผ่อง. (2545). การสร้างเครื่องมือ. อุบลราชธานี: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี.
อภิชัย พันธเสน. (2549). สังเคราะห์องค์ความรู้เกี่ยวกับ : เศรษฐกิจพอเพียง. กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.
อาจอง ชุมสาย ณ อยุธยา. (2550). คุณธรรมนำความรู้ : รูปแบบการเรียนการสอนแบบบูรณาการคุณค่าความเป็นมนุษย์. กรุงเทพฯ: สำนักงานมาตรฐานการศึกษาและพัฒนาการเรียนรู้.
Gibson, J.L., Ivancevich, J.M., & Donnelly, J.H. (1987). Organ-Behavior Structure Process. 9th ed. USA : McGraw-Hill Companies.
Tosi, Henry L. and Carrol, Stephen J. (1982). Management. 2nd edit.. New York: John Wiley and Son..
Williams.R.L. (2000). Essentials of total management. New York: AMACOM.