การนำนโยบายมารยาทและค่านิยมแบบไทยในโรงเรียนแห่งหนึ่งไปปฏิบัติ

Main Article Content

สุกัญญา สุดารารัตน์
วิสุทธิ์ วิจิตรพัชราภรณ์
อัจฉรา อัจฉรา

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการนำนโยบายมารยาทและค่านิยมแบบไทยไปปฏิบัติ ในโรงเรียนแห่งหนึ่ง ประชากร ได้แก่ ครูระดับประถมศึกษา จำนวน 22 คน เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการแจกแจงความถี่ ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า การนำนโยบายมารยาทและค่านิยมแบบไทยในโรงเรียนแห่งหนึ่งไปปฏิบัติ ประกอบด้วย 6 ด้าน พบว่า ด้านวัตถุประสงค์ มีสภาพการปฏิบัติติอยู่ในระดับมาก โดยมีค่าเฉลี่ยสูงสุด รองลงมา คือ ด้านความร่วมมือหรือการตอบสนองของผู้นำนโยบายไปปฏิบัติ ด้านคุณสมบัติของหน่วยงานที่รับผิดชอบ ด้านสภาพสังคม เศรษฐกิจ และการเมือง ด้านทรัพยากร มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลาง และ ด้านการสื่อสารระหว่าองค์กรและการทำให้ปฏิบัติตามในระหว่างหน่วยงานต่างๆ มีค่าเฉลี่ยต่ำที่สุด


 

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

โกวิทย์ พวงงาม. (2554). รายงานการประเมินองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่มีความเป็นเลิศเพื่อรับรางวัลพระปกเกล้าประจาปี 2554. กรุงเทพฯ: สถาบันพระปกเกล้า,2554.
คณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ,สำนักงาน. (2561). การจัดทำแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 12 (พ.ศ.2560-2564). (ออนไลน์) 2558 (อ้างเมื่อ 20 เมษายน 2561). จาก http://www.nesdb.go.th.
เทพศักดิ์ บุณยรัตพันธุ์. (2536). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการสร้างประสิทธิผลของการนำนโยบายไป. ปฏิบัติ: กรณีศึกษาสํานักงานเขต กรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ พัฒนบริหารศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาการบริหารการพัฒนา สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.
วรเดช จันทรเดช. (2551). ทฤษฎีการนำนโยบายสาธารณะไปปฏิบัติ. กรุงเทพฯ: พริกหวานกราฟฟิค.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ. (2552). หลักสูตรแกนกลาง. กรุงเทพฯ: กระทรวงศึกษาธิการ.
Bryant,C. and White, L.G. (1982). Managing Development in the Third World. Boulder. Colordo : Westview.
Ingram and Mann. (1980). Policy Failure : An Issue Deserving Analysis” in. Why Policies Succeed or Fall. Beverly Hills, California: Sage Publication.