การประเมินโครงการพัฒนาองค์กรอย่างเป็นระบบครบวงจรในโรงเรียนแห่งหนึ่ง

Main Article Content

อุรสศรี อินทรขาว
วิสุทธิ์ วิจิตรพัชราภรณ์
อัจฉรา นิยมาภา

บทคัดย่อ

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินสภาวะแวดล้อมโดยพิจารณาหลักการและเหตุผล ความจำเป็นที่ต้องดำเนินโครงการ ประเด็นปัญหาและความเหมาะสมของเป้าหมายโครงการ เพื่อประเมินปัจจัยนำเข้าโดยพิจารณาถึงความเป็นไปได้ของโครงการ ความเหมาะสม และความพอเพียง ของทรัพยากรที่จะใช้ในการดำเนินโครงการ เพื่อประเมินกระบวนการโดยหาข้อบกพร่องของการดำเนินโครงการ ที่จะใช้เป็นข้อมูลในการพัฒนาแก้ไขปรับปรุง ให้การดำเนินการช่วงต่อไปมีประสิทธิภาพมากขึ้นและเพื่อประเมินผลผลิตโดยเปรียบเทียบผลผลิตที่เกิดขึ้นกับวัตถุประสงค์ของโครงการหรือมาตรฐานที่กำหนดไว้ กลุ่มตัวอย่างคือครูจำนวน 17 คน เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการแจกแจงความถี่ ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน  ผลการวิจัยพบว่า ผลการประเมินของครูต่อผลการดำเนินงานอยู่ในระดับมาก การประเมิน 4 ด้าน คือ ด้านผลผลิตมีค่าเฉลี่ยสูงสุดเมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า ผู้บริหารมีวิสัยทัศน์ ภาวะผู้นำ และความคิดริเริ่มที่เน้นการพัฒนาผู้เรียนและผู้บริหารส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพบุคลากรให้พร้อมรับการกระจายอำนาจอยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมาคือ ด้านสภาพแวดล้อมเมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่ามีสองด้านที่มีระดับความพึงพอใจมากที่สุดดังนี้ โครงการพัฒนาองค์กรอย่างเป็นระบบครบวงจรมุ่งสร้างคุณลักษณะที่ดีด้านพัฒนาตามธรรมชาติเต็มศักยภาพให้แก่ผู้เรียน และ โครงการสามารถพัฒนาระบบของโรงเรียน รองลงมาคือด้านกระบวนการเมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า มีสองด้านที่มีระดับความพอใจมากที่สุดดังนี้ การศึกษาสภาพปัญหาและความต้องการในการพัฒนาและการนิเทศติดตามกำกับการดำเนินโครงการตามขั้นตอนที่กำหนดทุกระยะและด้านปัจจัยป้อนเข้ามีค่าเฉลี่ยต่ำสุด เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า จำนวนบุคลากรที่ร่วมดำเนินการโครงการ มีความเหมาะสมและเพียงพอและวัสดุอุปกรณ์ เครื่องมือเครื่องใช้ในการดำเนิน โครงการมีเพียงพออยู่ในระดับมากที่สุด

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

สงัด กระจ่าง. (2549). ความพึงพอใจของครูต่อพฤติกรรมการบริหารของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้น ฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาชลบุรีเขต 1. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. (2542). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 และแก้ไขเพิ่มเติม(ฉบับที่ 2) พ.ศ.2545 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 3)พ.ศ.2553. https://person.mwit.ac.th/01-Statutes/NationalEducation.pdf
พิสมัย สงจันทร์. (2549). การศึกษาความพึงพอใจกับการปฏิบัติงานของครูใน สถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาชุมพร เขต 2. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา,บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยศิลปากร.
ลัดดาวัลย์ เพชรโรจน์ และคณะ. (2547). ระเบียบวิธีการวิจัย. (พิมพ์ครั้งที่ 1).กรุงเทพฯ: พิมพ์ดีการพิมพ์.
Cronbach, L. J. (1963). Course improvement through evaluation. Teachers College Record, 64, 672–83.
Stufflebeam, D.L., et al. (1971). Educational Evaluation and Decision Making. Itasca,Illinois: Peacock.