การยกระดับคุณภาพการศึกษาโรงเรียนต้นแก้วผดุงพิทยาลัย องค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงใหม่

Main Article Content

ศิริรัตน์ อินทรกำแหง

บทคัดย่อ

งานวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัญหาและแนวทางการยกระดับคุณภาพการศึกษา, การดำเนินงานการยกระดับคุณภาพการศึกษา, และการติดตามและประเมินผลการยกระดับคุณภาพการศึกษาโรงเรียนต้นแก้วผดุงพิทยาลัย. ผลการศึกษาพบว่า 1) ปัญหาและแนวทางการยกระดับคุณภาพการศึกษา คือ ปัญหาด้านการเรียนรู้ของนักเรียน ได้แก่ นักเรียนขาดแรงจูงใจในการเรียน ส่วนปัญหาด้านวิธีการสอนของครู ได้แก่ ครูขาดเทคนิควิธีการสอนที่ทันสมัย แนวทางการยกระดับคุณภาพการศึกษา 3 แนวทาง คือ (1) กระบวนการสอนแบบทีม (2) รูปแบบการจัดการเรียนการสอนสะเต็มศึกษาแบบหน่วยบูรณาการ (3) การสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ 2) การดำเนินงานการยกระดับคุณภาพการศึกษาโรงเรียนต้นแก้วผดุงพิทยาลัย ได้ดำเนินการจัดการเรียนรู้ด้วยบทเรียนโมดูลในระดับมัธยมศึกษา เรื่อง ภัยพิบัติ การเตรียมความพร้อมสู่การเป็นผู้สูงวัย และสมาร์ทฟาร์ม การจัดกิจกรรมร่วมกันให้กำลังใจกัน ส่งผลให้ครูเกิดความมั่นใจในการดำเนินการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ การออกแบบและจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยกระบวนการสอนแบบทีม โดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้แบบ Active Learning เป็นกิจกรรมที่ผู้เรียนให้ความสนใจ สนุกและมีความสุขกับการเรียนรู้ สะท้อนผลได้จากผลความพึงพอใจใน การจัดการเรียนรู้ของนักเรียน และความสนใจอยากให้มีการจัดรูปแบบการจัดการเรียนการสอนแบบหน่วยบูรณาการเพิ่มขึ้น การสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพทางการเรียนรู้คณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ ส่งผลให้ครูมีเทคนิคการสอนแบบใหม่แก้ปัญหาและพัฒนาการสอนได้ 3) ติดตามและประเมินผลการยกระดับคุณภาพการศึกษาโรงเรียนต้นแก้วผดุงพิทยาลัย ผลการประเมินความพึงพอใจของนักเรียนและครูต่อกิจกรรมที่ทำอยู่ระดับมากที่สุด

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

จำรัส อินทลาภาพร. (2558). “การศึกษาแนวทางการจัดการเรียนรู้ตามแนวสะเต็มศึกษาสำหรับผู้เรียนระดับประถมศึกษา”. Veridian E-Journal, Silpakorn University, 8(1), 62-74.
จุติพร อัศวโสวรรณ . (2556). การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนแบบบูรณาการโดยการจัดประสบการณ์ตามแนวคิดคอนสตรัคติวิสต์ เพื่อพัฒนาการคิดวิเคราะห์และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3. ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
ปรีดี ทุมเมฆ, สัญญา เคณาภูมิ และ วิทยา เจริญศิริ. (2558). “แนวทางการประเมินคุณภาพการศึกษาภายในของสถาบันอุดมศึกษา” วารสารวิชาการแพรวากาฬสินธุ์ มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์, 2(3) : กันยายน - ธันวาคม 2558 หน้า 86-109.
พรทิพย์ ศิริภัทราชัย. (2556). “STEM Education กับการพัฒนาทักษะในศตวรรษที่ 21”. นักบริหาร, 33(2), 49–56.
พลศักดิ์ แสงพรมศรี, ประสาท เนืองเฉลิม และปิยะเนตร จันทร์ถิระติกุล. (2558). “การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นสูง และเจตคติต่อการเรียนเคมีของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้สะเต็มศึกษากับแบบปกติ”. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 9(ฉบับพิเศษ), 401-417.
พิมพันธ์ เดชะคุปต์ และราเชน มีศรี. (2553). การสอนคิดด้วยโครงงาน: การเรียนการสอนแบบบูรณาการ.กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ลัดดา ภู่เกียรติ. (2552). การสอนแบบโครงงานและการสอนแบบใช้วิจัยเป็นฐาน: งานที่ครูประถมทำได้.กรุงเทพฯ: สาฮะแอนด์ชันพริ้นติ้ง.
วัฒนา มัคคสมัน. (2554). การสอนแบบโครงการ. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
วิชัย วงษ์ใหญ่. (2554). นวัตกรรมหลักสูตรและการเรียนรู้ สู่ความเป็นพลเมืองดี. กรุงเทพฯ: อาร์ แอนด์ ปริ๊นต์
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2557). สะเต็มศึกษา Science Technology Engineering and Mathematics Education (STEM Education). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์ และ ศุภณัฏฐ์ ศศิวุฒิวัฒน์. (2555). ความล้มเหลวของระบบการประเมินผลการศึกษาไทย : สาเหตุและข้อเสนอแนะ. กรุงเทพฯ : สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (TDRI).
สัญญา เคณาภูมิ. (2556). การสร้างกรอบแนวคิดการวิจัยเชิงสำรวจทางรัฐประศาสนศาสตร์. วารสารวไลยอลงกรณ์ปริทัศน์ มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์, 3(2) : กรกฎาคม-ธันวาคม 2556. หน้า 169-185.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2559). รายงานการวิจัยเพื่อจัดทำข้อเสนอนโยบายการส่งเสริมการจัดการศึกษา ด้านสะเต็มศึกษาของประเทศไทย. กรุงเทพฯ: พริกหวานกราฟฟิค.
สุรัตน์ ศรีดาเดช. (2559). กลยุทธ์การบริหารสถานศึกษาเพื่อยกระดับคุณภาพนักเรียนของสถานศึกษาขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาแม่ฮ่องสอนเขต 2. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยนอร์ท-เชียงใหม่.
Bender, W. N. (2012). Project Based Learning: Differentiating Instruction for the 21st Century. Thousand Oaks: CA: Corwin Press.
Capraro, R. M., Capraro, M. M., & Morgan, J. R. (2013). STEM project-based learning. Rotterdam: Sense Publishers, 10(1007), 978-94.
Drake, S. M. & Bums, R. C. (2004). Meeting Standards through Integrated Curriculum. Retrieved December 2, 2015, from http://www.ascd.org/publications/books/103011/chapters/ What-IsIntegrated-Curriculum¢.aspx
Fan. (2011). International Views of STEM Education. Retrieved December 2, 2015, from http://www.iteea.org/Conference/PATT/PATT28/Fan%20Ritz.pdf
Gonzalez, H.B. and Kuenzi, J.J. (2012). Science, Technology, Engineering, and Mathematics (STEM) Education: A Primer. Washington, DC: Congressional Research Service.
Joyce, A. D. M. (2011). Science, technology, engineering and mathematics education: Overcoming challenges in Europe. Intel Educator Academy EMEA. Retrieved December 2, 2015, from http://www.ingeniousscience.eu/c/document_library/ get_file?uuid=3252e85a-125c-49c2-a090-eaeb3130737a&groupId=10136.
Moursund, D. (2009). Project-Based Learning: Using Information Technology. New Delhi: Vinod Vasishtha for Viva Books Private limited.
Murphy, T. P. (2011). Graduating STEM competent and confident teachers: The creation of a STEM certificate for elementary education majors. Journal of College Science Teaching, 42(2), 18-23.
Sallis, E. (2002). Total quality management in education. (3rd edit.). London: Kogan Page.
Zollman, A. (2012). Learning for STEM literacy: STEM literacy for learning. School Science and Mathematics, 112(1), 12–19. Retrieved December 2, 2015, from http://doi.org/10.1111 /j.1949-8594.2012.00101.x.