การประยุกต์ใช้การสอนเชิงรุกอาคีตะโมเดลในโรงเรียนประถมศึกษา

Main Article Content

กฤติเดช สุขสาร

บทคัดย่อ

บทความนี้ต้องการนำเสนอความเป็นมาของการสอนเชิงรุกอาคีตะ แนวคิดของการสอนเชิงรุกอาคีตะโมเดล และบทบาทของผู้บริหารและครูในการสอนเชิงรุกอาคีตะโมเดล. วิธีการสอนเชิงรุกของอาคิตะ (AKITA Action) คือรูปแบบการเรียนการสอนที่ให้ความสำคัญกับกระบวนการที่ให้เด็กนักเรียนได้คิดหาวิธีการแก้ไขปัญหาผ่านการอภิปรายกันเป็นกลุ่ม นักเรียนได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันเกี่ยวกับหัวข้อของการเรียนรู้ที่ตนกำหนดเอง มี 4 ขั้นตอน ได้แก่ 1) รู้จักตั้งข้อสังเกตในการเรียนรู้ (หัวข้อการเรียนรู้)  2) มีความคิดของตัวเอง  3) อภิปรายกันเป็นคู่ กลุ่ม หรือทั้งชั้นเรียน  4) ทบทวนเนื้อหาและวิธีการเรียนรู้  และนอกจาก 4 ขั้นตอนแล้ว ยังมีอีก 5 ปัจจัยความสำเร็จที่จะทำให้การเรียนการสอนเชิงรุกแบบอาคีตะได้ผลสมบูรณ์ยิ่งขึ้น ประกอบด้วย 1) ภาวะผู้นำของผู้บริการสถานศึกษาเพื่อนำการทำงานเป็นทีม  2) ความร่วมมือของครอบครัวและชุมชนท้องถิ่น  3) ความร่วมมือระหว่างองค์กรทางการศึกษาที่มีความเข้มแข็ง  4) บทบาทของคณะกรรมการการศึกษาที่มีแนวความคิดเชิงรุกการพัฒนาการศึกษาในพื้นที่  5) การใช้อาคีตะโมเดลเชิงรุกอย่างมีประสิทธิภาพ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

เฉลิมชัย มนูเสวต. (2561). Akita Action สอนให้เด็กคิดเป็น เติบโตอย่างมีคุณภาพ. เดลินิวส์. (ออนไลน์) วันศุกร์ ที่ 16 กุมภาพันธ์ 2561, ฉบับที่: 24963, หน้า: 24.
ธีระ รุญเจริญ. (2560). การศึกษาเรียนรู้ยุคดิจิทัล. เอกสารประมวลองค์ความรู้ประกอบการศึกษาหลักสูตร ครุ ศาสตรดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี.
ไพฑูรย์ สินลารัตน์. (2561). ความเป็นไปได้ในการประยุกต์ใช้การสอนเชิงรุกอาคีตะโมเดลในประเทศไทย. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์, 13(1).
Akita Improvement Investigating Committee. (2017). School improvement supporting plan. Akita Prefecture: Ministry of Education, Akita Prefecture, 2017.