ภาวะผู้นำสถานศึกษายุคดิจิทัล

Main Article Content

วันชัย ราชวงศ์

บทคัดย่อ

บทความนี้นำเสนอ องค์ประกอบของภาวะผู้นำสถานศึกษาในยุคดิจิทัลซึ่งประกอบด้วย ความสามารถในการใช้เทคโนโลยีในการเรียนการสอน การบริหารงาน การวัดผลและการประเมินผล และมีจริยธรรมในการใช้เทคโนโลยี. คุณลักษณะของผู้บริหารสถานศึกษายุคดิจิทัลต้องประกอบด้วย การกำหนดวิสัยทัศน์ด้านเทคโนโลยีการสื่อสารและเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ (ICT) การบริหารจัดการโครงสร้างพื้นฐานให้สามารถใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ การสร้างวัฒนธรรมการทำงานและบรรยากาศสถานศึกษาให้มีการใช้เทคโนโลยีการสื่อสารและเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์อย่างแพร่หลาย การฝึกอบรมพัฒนาบุคลากรให้มีความรู้ความสามารถด้านเทคโนโลยีการสื่อสารและเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์. นอกจากนี้ ผู้บริหารสถานศึกษาต้องสามารถใช้เทคโนโลยีการสื่อสารและเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ในการปฏิบัติงานได้อย่างเหมาะสม ส่งเสริมสนับสนุนสร้างแรงจูงใจครู บุคลากรให้ใช้ความสามารถด้านเทคโนโลยีการสื่อสารและเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ (ICT) ในการจัดการเรียนการสอนและการปฏิบัติงาน และจัดให้มีระบบการกำกับติดตามและการให้คำปรึกษาเกี่ยวกับการใช้เทคโนโลยี การสื่อสารและเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ (ICT) ของสถานศึกษาอย่างเหมาะสม

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

นิคม นาคอ้าย. (2549). องค์ประกอบคุณลักษณะผู้นำเชิงอิเล็กทรอนิกส์และปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิผล ภาวะ ผู้นำเชิงอิเล็กทรอนิกส์สำหรับผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
จิณณวัตร ปะโคทัง. (2562). รวมบทความบริหารการศึกษากับการพัฒนาการจัดการเรียนรู้สู่การศึกษาในยุคดิจิทัล ชุดที่ 1 : สมาคมพัฒนาวิชาชีพการบริหารการศึกษาแห่งประเทศไทย
ธีระ รุญเจริญ. (2554). กลยุทธ์การพัฒนาความเป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้. กรุงเทพฯ: คุรุสภาลาดพร้าว.
ศศิรดา แพงไทย. (2559). “บทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21” วารสารวิทยาลัยบัณฑิตเอเชีย ปีที่ 6 ฉบับที่ 1 (มกราคม – มิถุนายน): หน้า 7-11
อรอนงค์ โรจน์วัฒนบูลย์. (2554). การพัฒนาตัวแบบผู้นำเชิงนวัตกรรม. วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรดุษฎีบัณฑิต สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.
ไพฑูรย์ สินลารัตน์. (2555). ออกแบบผู้นำการศึกษาใหม่ : ผู้นำเชิงสร้างสรรค์และผลิตภาพ. กรุงเทพฯ : วิทยาลัยครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิต.
จุมพล พูลภัทรชีวิน และคณะ. (2557). ผู้นำแห่งอนาคตคุณธรรมการนำร่วมและการเปลี่ยนแปลงจากภายใน. กรุงเทพฯ: ศูนย์จิตตปัญญาศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล.
สมชาย รุ่งเรือง, และ ธีระศักดิ์ จันทึก. (2560). “รูปแบบการพัฒนาผู้นำสู่การสร้างแรงผลักดันเชิงสร้างสรรค์.” Veridian E-Journal ฉบับมนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ, ปีที่ 10 ฉบับที่ 1 (มกราคม – เมษายน 2560): หน้า 29-46.
ชยาภรณ์ จันโท และหิรัญ ประสารการ. (2560). “การศึกษาคุณลักษณะของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อการ จัดการศึกษา ในศตวรรษที่ 21 ของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพังงา.”วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต, ปีที่ 13 ฉบับที่ 1 (มกราคม-มิถุนายน 2560): หน้า 304-320.
ขวัญชนก โตนาค, สุกัญญา แช่มช้อย, และอนุชา กอนพ่วง. (2557). “การวิเคราะห์องค์ประกอบภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมสำหรับผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน.” วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, ปีที่ 16 ฉบับที่ 4 (ตุลาคม – ธันวาคม 2557): หน้า 131-140.