การจัดการความปลอดภัยทางถนนโดยการมีส่วนร่วม กรณีศึกษาโรงเรียนเทศบาล 1 วัดเทพมงคล เทศบาลเมืองอำนาจเจริญ

Main Article Content

กิตติพงษ์ โพธิ์มาตย์

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ


การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสถานการณ์ปัญหา จุดเสี่ยงหรือพฤติกรรมของครู ผู้ปกครองและนักเรียนโรงเรียนเทศบาล 1 วัดเทพมงคล 2) เพื่อเสริมสร้างศักยภาพการจัดการและพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนในการจัดการความปลอดภัยทางถนนของโรงเรียนเทศบาล1วัดเทพมงคล โดยดำเนินการ 1) การจัดเวทีประชุม ศึกษาสถานการณ์ปัญหา ประสานความร่วมมือกับภาคี ออกแบบเครื่องมือ วิธีการเก็บข้อมูล เก็บข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูลร่วมกัน 2) จัดเวทีประชุมผู้มีส่วนได้เสียร่วมกำหนดกิจกรรมดำเนินการสร้างแนวปฏิบัติ พัฒนาสมรรถนะครู การพัฒนารูปแบบกิจกรรมการเรียนการสอนด้านความปลอดภัยทางถนน 3) จัดกิจกรรมสื่อสารและการรณรงค์เรื่องความปลอดภัยทางถนนภายในโรงเรียนและผู้ปกครองนักเรียน แม่ค้าบริเวณถนนหน้าโรงเรียน ผู้ขับขี่รถรับ-ส่งนักเรียน กลุ่มเป้าหมายในการวิจัยจำนวนรวมทั้งสิ้น 25 คน ซึ่งได้มาโดยวิธีการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย แบบบันทึกวิเคราะห์เอกสาร แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์เชิงลึก แบบบันทึกประชุมผู้มีส่วนได้เสีย การวิเคราะห์ข้อมูล ใช้การวิเคราะห์เนื้อหาและสรุปสาระสำคัญ จำแนก เรียบเรียงรายการโดยวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) โดยการหลอมรวมประเด็นข้อมูลการประชุมผู้มีส่วนได้เสีย ผลการวิจัย พบว่า 1) สาเหตุที่เกิดอุบัติเหตุจาก คือ เกิดจากคน รถ สภาพถนน และสภาพแวดล้อม การกำหนดจุดเสี่ยงถนนรอบโรงเรียนเทศบาล 1 วัดเทพมงคล พบว่ามี 8 จุดที่เป็นอันตราย 2) การเสริมสร้างศักยภาพการจัดการและพัฒนารูปแบบการเรียนการสอน กำหนดเขตพื้นที่ปลอดภัยบริเวณถนนหน้าโรงเรียนโดยการมีส่วนร่วม การติดป้ายห้ามนำรถเข้าโรงเรียน นำอุปกรณ์และสัญลักษณ์ใช้เป็นสัญญาณเตือนผู้ใช้รถใช้ถนน การจัดครูและบุคลากรในโรงเรียนประจำหน้าโรงเรียนเพื่อสังเกตการณ์การรับ-ส่งนักเรียน ผู้ขับรถรับ–ส่งนักเรียนมีข้อตกลงร่วมกันตามมาตรการความปลอดภัย พฤติกรรมของนักเรียน ครูและผู้ปกครองมีแนวโน้มดีขึ้น การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอน พบว่า มีการบูรณาการการเรียนการในทุกสาระการเรียนรู้ทั้งในระดับอนุบาลและระดับชั้นประถมศึกษา มีห้องศูนย์เรียนรู้ความปลอดภัยทางถนนและจัดทำลาน BBL ให้นักเรียนได้เรียนรู้สัญลักษณ์จราจร


 


คำสำคัญ: ความปลอดภัยทางถนน; การมีส่วนร่วม.

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กชกร ชิณะวงศ์. (2555). รูปแบบการสรางวัฒนธรรมความปลอดภัยบนทองถนนโดยการมีสวนรวมของชุมชนตําบลปาสัก อําเภอเมือง จังหวัดลําพูน. รายงานการวิจัย สํานักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.).
ถนอมศักดิ์ บุญสู่ และคณะ. (2561). รูปแบบการจัดการความปลอดภัยทางถนนอย่างมีส่วนร่วมของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเขตเทศบาลนครอุบลราชธานี. รายงานการวิจัย วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดอุบลราชธานี
มูลนิธิไทยโรดส์ และศูนย์วิจัยอุบัติเหตุแห่งประเทศไทย สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย. (2558). รายงานสถานการณ์อุบัติเหตุทางถนนของประเทศไทย ปี 2555-2556. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: กองทุนเพื่อความปลอดภัยในการใช้รถใช้ถนน กรมการขนส่งทางบก.
Best Living Taste Bangkok. (2561). สถิติไทยมีผู้เสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางถนนมากสุดเป็น อันดับ 9 ของโลก อันดับ 1 ของอาเซียน.(ออนไลน์) (อ้างเมื่อ 21 ธันวาคม 2561) จาก http://www. BLTBangkok/posts/2380444088884920/
Road Safety Academic Center. (2018). แนวทางการดำเนินงานและประเมินการป้องกันการบาดเจ็บจากอุบัติเหตุทางถนนระดับอำเภอ โดยเครื่องมือ 5 ชิ้น. (ออนไลน์) (อ้างเมื่อ 20 มีนาคม 2563) จาก www.roadsafetythai.org. (in Thai).