จริยธรรมในมนุษย์กับการวิจัยทางการศึกษา

Main Article Content

สุวดี อุปปินใจ

บทคัดย่อ

การวิจัยในมนุษย์มีความเสี่ยงและอาจมีผลกระทบต่อบุคคลที่เข้าร่วมโครงการวิจัย ซึ่งความเสี่ยงดังกล่าวอาจเกิดขึ้นโดยตรงต่อร่างกาย จิตใจ อารมณ์ ความรู้สึก หรืออาจส่งผลกระทบทางอ้อมต่อสวัสดิภาพ ความเป็นอยู่ สถานภาพทางสังคมหรือชุมชน จึงเป็นหน้าที่ของนักวิจัยที่จะต้องกำหนดวิธีการวิจัยที่ชัดเจนเป็นระบบ ภายใต้กรอบของจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ ซึ่งเป็นหลักจริยธรรมทั่วไป  เป็นที่ยอมรับและยึดถือเป็นแนวทางปฏิบัติสากล ซึ่งกำหนดหลักการสำคัญสามประการ ประกอบด้วย หลักความเคารพในบุคคล  หลักคุณประโยชน์ไม่เป็นโทษ และหลักความยุติธรรม ซึ่งหลักการทั้งสามมีวัตถุประสงค์ในการคุ้มครองสิทธิและความเป็นอยู่ที่ดีของมนุษย์ซึ่งเป็นอาสาสมัครที่เข้าร่วมโครงการวิจัย และต้องดำเนินกระบวนการวิจัยตามแผนการวิจัยที่กำหนดไว้โดยเคร่งครัด เพื่อให้โครงการวิจัยเป็นไปตามหลักจริยธรรมที่ดีและมีความน่าเชื่อถือทางวิชาการ 


การขอรับรองจริยธรรมการวิจัยต่อคณะกรรมการวิจัยมนุษย์ สำหรับนักวิจัยทางการศึกษาแสดงถึงความตระหนักและให้ความเคารพในเรื่องของจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์เป็นอย่างยิ่ง สามารถนำหลักการดังกล่าวมาใช้เป็นแนวทางดำเนินการวิจัยได้อย่างถูกต้อง เหมาะสม และเป็นไปตามหลักจริยธรรมพื้นฐาน นำไปสู่การนำเสนอโครงการวิจัยของนักวิจัย เพื่อขอรับรองจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ได้อย่างถูกต้อง ชอบด้วยเหตุผลทางจริยธรรม และมีความถูกต้องตามหลักวิชาการ อันจะส่งผลให้งานวิจัยนั้นมีความน่าเชื่อถือ และผู้เข้าร่วมโครงการวิจัยได้รับการปกป้องสิทธิและมีความเป็นอยู่ที่ดีตลอดโครงการวิจัย

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

เจนวิทย์ นวลแสง. (2561). จริยธรรมการวิจัยในมนุษย์กับการวิจัยทางสังคมศาสตร์. วารสารการเมืองการ
บริหารและกฎหมาย, 10(2), 131-155.
พรรณแข มไหสวริยะ และ ศิรินันท์ กิตติสุขสถิต. (2563). เอกสารประกอบการสัมมนาวิชาการการบริหาร
การศึกษาเรื่องทิศทางการวิจัยและจริยธรรมการวิจัยในคนเพื่อเสริมสร้างศักยภาพอาจารย์และนักศึกษา
ระดับบัณฑิตศึกษาระหว่างวันที่ 19-20 กันยายน 2563 ณ หอประชุมนานาชาติ 80 พรรษา 5 ธันวาคม
2550 มหาวิทยาลัยนอร์ท- เชียงใหม่, คณะสังคมศาสตร์และศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยนอร์ท- เชียงใหม่.
ประกาศ กพอ. เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการพิจารณาแต่งตั้งบุคคลให้ดํารงตําแหน่ง ผู้ช่วยศาสตราจารย์ รอง
ศาสตราจารย์และศาสตราจารย์ พ.ศ. 2560 (2560, 31 ตุลาคม). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 134 ตอนพิเศษ 265 ง. หน้า 43.
ประกาศ กพอ. เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการพิจารณาแต่งตั้งบุคคลให้ดํารงตําแหน่ง ผู้ช่วยศาสตราจารย์ รอง
ศาสตราจารย์และศาสตราจารย์ พ.ศ. 2560 (2563, 23 มิถุนายน). ราชกิจจานุเบกษา. เล่มที่ 137 ตอนพิเศษ 147 ง 23 มิถุนายน 2563.
สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเชียงราย กระทรวงสาธารณสุข. (2563). การขอรับรองจริยธรรมในมนุษย์
สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเชียงราย กระทรวงสาธารณสุข. เชียงราย : สำนักงานฯ.
(เอกสารอัดสำเนา)