การประเมินโครงการการเสริมสร้างคุณลักษณะอยู่อย่างพอเพียงของนักเรียนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนบ้านลาดหญ้าคา
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความนี้ มีจุดวัตถุประสงค์เพื่อประเมินโครงการการเสริมสร้างคุณลักษณะอยู่อย่างพอเพียงของนักเรียน ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนบ้านลาดหญ้าคา แบ่งขั้นตอนการประเมินโครงการออกเป็น 4 ขั้นตอน ตามรูปแบบการประเมินแบบซิป (CIPP Model) กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้ประเมินโครงการการเสริมสร้างคุณลักษณะอยู่อย่างพอเพียงของนักเรียนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ปีการศึกษา 2562 เครื่องมือการประเมิน ได้แก่ แบบประเมินโครงการการเสริมสร้างคุณลักษณะอยู่อย่างพอเพียงของนักเรียน ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ จำนวน 40 รายการ สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ สถิติค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการประเมิน พบว่า 1) ผู้บริหาร ประเมินการกิจกรรมเสริมสร้างคุณลักษณะอยู่อย่างพอเพียง โดยภาพรวม และตามขั้นตอนด้านบริบท ด้านปัจจัย ด้านกระบวนการ อยู่ในระดับมาก ส่วนด้านผลผลิต อยู่ในระดับมากที่สุด 2) ครูและบุคลากรทางการศึกษา โดยภาพรวม อยู่ในระดับมากทุกรายการ -3) คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยภาพรวม อยู่ในระดับมาก ส่วนด้านบริบท อยู่ในระดับมากที่สุด 4) ผู้ปกครองนักเรียน อยู่ในระดับมากทุกรายการ 5) นักเรียน อยู่ในระดับมากที่สุด กล่าวโดยสรุป การประเมินโครงการการเสริมสร้างคุณลักษณะอยู่อย่างพอเพียง โดยภาพรวม และตามขั้นตอนด้านบริบท ด้านปัจจัย ด้านกระบวนการและด้านผลผลิต อยู่ในระดับมากทุกรายการ
Article Details
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). แนวทางการพัฒนาการวัดและประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมชนสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.
กระทรวงศึกษาธิการ. คู่มือประเมินสถานศึกษาแบบอย่างการจัดกิจกรรมการเรียนรู้และการบริหารจัดการตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ปี 2554 เป็นต้นไป. อ้างถึงในเว็บไซต์http://www.sufficiencyeconomy.org. สืบค้นเมื่อ ตุลาคม 2561.
กัตติกา ศรีมหาวโร. (2557). การประเมินโครงการครอบครัวร่วมทำน้อมนำปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงโรงเรียนบ้านสระบัวโรงเรียนบ้านสระบัว. สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 4. นครศรีธรรมราช.
ขวัญนภา อุณหกานต์. (2559). รายงานการประเมินโครงการเศรษฐกิจพอเพียงของโรงเรียนสวนแตงวิทยา จังหวัดสุพรรณบุรี. โรงเรียนสวนแตงวิทยา จังหวัดสุพรรณบุรี
สุนีย์ พาณิชย์ (2561). รายงานการประเมินโครงการการจัดกิจกรรมสร้างเสริมคุณลักษณะอยู่อย่างพอเพียง ของนักเรียนตามแนวทางการนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงไปจัดการศึกษาในสถานศึกษา โรงเรียนคีรีมาศพิทยาคม. จากhttp://www.addbeit.in.th/admin_web/document/201812111544531521.pdf. สืบค้นเมื่อ เมษายน 2562
สุนีย์ พาณิชย์. (2556). รายงานการประเมินโครงการขับเคลื่อนคุณภาพการศึกษาตามแนวปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนห้วยยอด. ตรัง
โสภณ ทองจิตร. (2559). การประเมินโครงการขับเคลื่อนปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่สถานศึกษาโรงเรียนน้ารอบวิทยา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 11. สุราษฏร์ธานี
อนุรักษ์ ปัญญานุวัฒน์ (มปป.) เอกสารประกอบการสอนระดับบัณฑิตศึกษา เรื่องแนวคิดการประเมินโครงการ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
อัญญรัตน์ นาเมือง (2556) การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อการเรียนการสอนหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษา. Princess Narathiwas University Journal. ปีที่ 5 ฉบับที่ 3 กันยายน-ธันวาคม 2556,-96.