สภาพแวดล้อมในสถานศึกษาที่เอื้อต่อการพัฒนาทักษะการคิดเชิงบริหาร (Executive Function : EF) ของนักเรียนระดับมัธยมศึกษา

Main Article Content

ภัทรภร สิงห์พิทักษ์
จารุวรรณ พลอยดวงรัตน์

บทคัดย่อ

ทักษะการคิดเชิงบริหาร (EF) มีความสำคัญเป็นอย่างมากในทุกช่วงวัย ตั้งแต่วัยเด็กจนถึงวัยผู้ใหญ่ เมื่อบุคคลมี EF ที่ดีแล้ว ก็จะช่วยส่งเสริมและพัฒนาให้บุคคลนั้นประสบความสำเร็จในด้านการเรียน การทำงาน การคิดแก้ปัญหา และสามารถปรับตัวอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข อีกทั้งยังสามารถช่วยให้บุคคลนั้นเอาตัวรอดจากสถานการณ์ยาก ๆ ได้ และสามารถตั้งเป้าหมาย วางแผนเพื่อไปสู่เป้าหมายนั้นได้ การสร้างสภาพแวดล้อมและโอกาสในการเรียนรู้เกี่ยวกับตนเองและการจัดการความเครียดกับนักเรียนระดับมัธยมศึกษา มีพื้นที่กิจกรรม และเวลาให้นักเรียนได้คิดไตร่ตรองและจัดการตนเองได้อย่างหลากหลาย จะช่วยพัฒนาทักษะการคิดเชิงบริหาร (EF) ดังนั้น สภาพแวดล้อมในสถานศึกษาจึงควรเป็นสภาพแวดล้อมที่ปลอดภัย มีความร่มรื่น เป็นธรรมชาติ สามารถช่วยให้เด็กมีจิตใจที่สงบ เป็นพื้นที่ที่ได้ฝึกทักษะทางสังคม ผ่านกิจกรรมร่วมกันในหลายรูปแบบ มีความปลอดภัยในการคิดต่าง ยืนหยัดทำในสิ่งที่เห็นว่าถูกต้อง และการได้สัมผัสสุนทรียภาพผ่านประสาทสัมผัสทั้ง 5 ซึ่งสามารถสร้างสรรค์ให้มีได้ทั้งในสถานศึกษาและชุมชน ซึ่งสภาพแวดล้อมในสถานศึกษาเหล่านี้ จะช่วยให้นักเรียนสามารถพัฒนาทักษะการคิดเชิงบริหาร (EF) ให้เกิดขึ้นและมีเพิ่มมากขึ้นได้จากสภาพแวดล้อมที่เอื้ออำนวยต่อการเรียนรู้

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) และสถาบัน RLG (รักลูก เลิร์นนิ่ง กรุ๊ป). (2561). คู่มือพัฒนาทักษะสมอง EF Executive Functions ในเด็กวัย 13-18 ปี สำหรับพ่อแม่และครู. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ไอดี ออล ดิจิตอล พริ้นท์ จำกัด.
สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.). (2562). คู่มือพัฒนาทักษะสมอง EF Executive Functions สำหรับครูปฐมวัย. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์เอกพิมพ์ไทย จำกัด.
เกรียงไกร พึ่งเชื้อ. (2561). โปรแกรมพัฒนาความสามารถคิดบริหารจัดการตนเพื่อป้องกันปัญหาพฤติกรรมเสี่ยงต่อการใช้สารเสพติดในกลุ่มเยาวชน. ปริญญานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาจิตวิทยาประยุกต์ สถาบันวิจัยพฤติกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
อารียา สตารัตน์. (2556). การจัดสภาพแวดล้อมในสถานศึกษาของโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร สำนักงานเขตราชเทวี. สารนิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
ประเสริฐ ผลิตผลการพิมพ์. (2560). Executive Function สำหรับวัยรุ่น. (ออนไลน์) (อ้างเมื่อ 10 พฤษภาคม 2564). จาก https://www.healthtodaythailand.in.th
แปลน ฟอร์ คิดส์. (2563). EF (Executive Functions) คืออะไร. (ออนไลน์) (อ้างเมื่อ 10 พฤษภาคม 2564). จาก https://www.planforkids.com
อรรัตน์ เชาว์กุลจรัสศิริ. (2563). EF Executive Function สำคัญต่อพัฒนาการเด็กแต่ละช่วงวัยอย่างไร?. (ออนไลน์) (อ้างเมื่อ 13 พฤษภาคม 2564). จาก http://www.manorom.com
Barkly R. (2011). Executive Functions : What they are, How they work and Why they evolved. May 21, 2021.
Moffitt T.E., Arseneault L., Belsky D., et al. (2011). A Gradient of Childhood Self-control Predicts Health, Wealth, and Public Safety. P NatlAcadSci USA.
J.P.Das & Sasi B. Misra, (2015), Cognitive Planning and Executive Functions: Applications in Management and Education. (Online). SAGE Publications India Pvt Ltd.
Diana Mendly Rauner. (2012). Make ‘Executive Functions’ A Piority in Early Education Policy. (Online) (13 May 2021). From http://catalyst-chicago.org
Chawla. (2012). The importance of access to nature for young children Early Childhood Matters. P.48-50.