บทบาทของผู้บริหารในการส่งเสริมการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการโดยใช้เกษตรกรรมเป็นฐาน
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทบาทของผู้บริหารในการส่งเสริมการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการโดยใช้เกษตรกรรมเป็นฐาน โดยจะต้องเน้นให้ผู้เรียนสำคัญซึ่งเป็นหลักสำคัญในการจัดการศึกษา ซึ่งการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการโดยการนำเนื้อหาต่าง ๆ ในรายวิชาเกษตรเข้าไปสอดแทรกบูรณาการกับเนื้อหาวิชาอื่น ๆ ได้ โดยใช้เกษตรกรรมเป็นฐาน เป็นการจัดการเรียนการสอนในรายวิชาเกษตรจะเน้นในการฝึกปฏิบัติให้ผู้เรียนได้เรียนรู้จากการปฏิบัติจริง ผู้บริหารจึงต้องสนับสนุนให้ครูทําความเข้าใจในเรื่องที่เกี่ยวกับหลักการสําคัญ เพราะจะช่วยในการปรับเปลี่ยนแนวคิดในการจัดการเรียนรู้ เมื่อแนวคิดเปลี่ยน การกระทําย่อมเปลี่ยนตามไปด้วย นอกจากนี้ผู้บริหารยังมีบทบาทที่สําคัญ คือ บทบาทในการสนับสนุนสิ่งอํานวยความสะดวกต่าง ๆ บทบาทในการสนับสนุนการนิเทศการจัดการเรียนการสอน และบทบาทในการกํากับ ติดตาม และประเมินผล
Article Details
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2544). หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544. กรุงเทพฯ: พัฒนาคุณภาพวิชาการ.
ธรรมรงค์ กันทัด. (2554). ความต้องการในการพัฒนาเจตคติ ความรู้ และทักษะวิชาเกษตรของครูเกษตรใน โรงเรียนขยายโอกาสกลุ่มกรุงเทพตะวันออก. (วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง.
ธีระ รุญเจริญ. (2549). สู่ความเป็นผู้บริหารสถานศึกษามืออาชีพ. กรุงเทพฯ: ข้าวฟ่าง
เบญจวรรณ ทิมสุวรรณ, และรัชนี สรรเสริญ. (2555). “การบูรณาการ: กระบวนทัศน์ในการประกันคุณภาพการศึกษา.” วารสารการพยาบาลและการศึกษา, 5(2), 2-13.
วัฒนะ สะดวก. (2557). การคัดสรรรูปแบบการจัดการเรียนการสอนและวิธีการจัดการเรียนรู้วิชาเกษตร. วารสารครุศาสตร์อุตสาหกรรม, 13(1), 181-188.
สิริพัชร เจษฎาวิโรจน์. การจัดการเรียนรูแบบบูรณาการ. สืบค้น 17 พฤษภาคม 2564, http://www.edu.ru.ac.th/images/edu_files/Integrated_Instruction.pdf
สุมนทิพย์ บุญสมบัติ. (2552). การสอนแบบบูรณาการ. วิทยาการจัดการเรียนรู้ (พิมพ์ครั้งที่ 3). นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
อนันต์ ระงับทุกข์. (2557, 23 ตุลาคม). ศธ.ยอมรับเด็กไทยทักษะคิดวิเคราะห์ต่ำ. เดลินิวส์, น. 8.