การพัฒนาระบบบริหารงานอาคารสถานที่ออนไลน์ของโรงเรียนศรียาภัย จังหวัดชุมพร
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทคัดย่อ
การวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัญหาและความต้องการการบริหารงานอาคารสถานที่ออนไลน์ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ ตัวแทนผู้บริหาร ตัวแทนครูปฏิบัติหน้าที่หัวหน้างาน ตัวแทนบุคลากรและตัวแทนนักเรียนที่เป็นหัวหน้าห้อง รวมทั้งสิ้น 80 คน โดยกำหนดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถาม ซึ่งมีค่าความเชื่อมั่น 0.93 2) พัฒนาระบบบริหารงานอาคารสถานที่ออนไลน์ของโรงเรียนศรียาภัย จังหวัดชุมพร โดยผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 5 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบตรวจสอบระบบ และ 3) ประเมินประสิทธิภาพระบบบริหารงานอาคารสถานที่ออนไลน์ของโรงเรียนศรียาภัย จังหวัดชุมพร โดยกลุ่มตัวอย่าง เป็นกลุ่มตัวอย่างเดียวกันกับที่ใช้ในการศึกษาสภาพปัญหาและความต้องการระบบ ฯ เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบประเมินประสิทธิภาพระบบฯ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ซึ่งมีค่าความเชื่อมั่น 0.92
ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพปัญหาและความต้องการระบบบริหารงานอาคารสถานที่ พบว่ามีปัญหาและความต้องการการบริหารงานอาคารสถานที่โดยรวม 4 ด้าน ดังนี้ ด้านข้อมูลอาคารสถานที่ ด้านการประเมินการใช้อาคารสถานที่ ด้านการดูแล รักษาอาคารสถานที่ และด้านการใช้อาคารสถานที่ 2) ผลการพัฒนาระบบบริหารงานอาคารสถานที่ออนไลน์ของโรงเรียนศรียาภัย จังหวัดชุมพร ประกอบด้วย 5 ด้าน คือ ด้านความสามารถทำงานตรงตามความต้องการ ด้านหน้าที่ของระบบ ด้านการใช้งานทั่วไปของโปรแกรม ด้านความปลอดภัย และด้านคู่มือการใช้งาน 3) ผลการประเมินประสิทธิภาพระบบบริหารงานอาคารสถานที่ออนไลน์ของโรงเรียนศรียาภัย จังหวัดชุมพร โดยรวมทั้ง 6 ด้าน อยู่ในระดับ มาก เรียงตามลำดับได้ ดังนี้ ด้านคุณภาพข้อมูล ด้านคุณภาพระบบ ด้านคุณภาพการบริการ ด้านประโยชน์สุทธิ ด้านความพึงพอใจของผู้ใช้งาน และด้านความตั้งใจใช้งาน
คำสำคัญ: การบริหารงานอาคารสถานที่; ระบบการบริหารงานอาคารสถานที่; ระบบบริหารงานอาคารสถานที่ออนไลน์
Article Details
References
ธนกร พัฒนรัฐ. (2557). การจัดการความต่อเนื่องของระบบบริหารงานสารสนเทศในสถาบัน อุดมศึกษาเอกชน กรณีศึกษาสถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์. การจัดการภาครัฐและภาคเอกชน มหาวิทยาลัยศิลปากร.
ธนู บุญญานุวัตร. (2550). ความรู้เรื่องสารสนเทศ (บทความ). เข้าถึงได้จาก http://tanoo.wordpress. com วันที่สืบค้น 27 กรกฎาคม 2564
พรเพ็ญ จันทรา, ภัทราภรณ์ เพ็ชรจำรัส, และเพ็ญพักตร แกล้วทนงค์. (2561). บทความงานวิจัย. การประยุกต์ใช้ Google Application เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานของบุคลากรสายสนับสนุน คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย. วารสารวิจัยสาระคาม, 9(2), 41 – 56
พัฒนภูมิ วรรณชัย. (2560). การจัดการความรู้เพื่อสนับสนุนงานเอกสารการขอใช้สถานที่ กองอาคารสถานที่และสาธารณูปการ สำนักงานมหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัย เชียงใหม่. (ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, เชียงใหม่.
โรงเรียนศรียาภัย.(2563). รายงานผลการจัดการศึกษา. รายงานการประเมินตนเองของสถานศึกษา ประจำปีการศึกษา 2563. โรงเรียนศรียาภัย, ชุมพร.
วรภาส สุภามูล (2561). การบริหารงานอาคารสถานที่และสิ่งแวดล้อมของโรงเรียนบ้านเวียงแหง จังหวัดเชียงใหม่. เข้าถึงได้จาก https://shorturl.asia/9lt0N วันที่สืบค้น 27 กรกฎาคม 2564
สุทิน พรมศรี. (2555). งานอาคารสถานที่ (บทความ). เข้าถึงได้จาก https://www.gotoknow.org/ posts/161662 วันที่สืบค้น 27 กรกฎาคม 2564
Madiha Shah (2014).Impact of management information systems (MIS) on school administration. Procedia - Social and Behavioral Sciences. 2014(116), 2799 – 2804
Mukhenri and team (2020). The Information System Development Based on Knowledge Management in Higher Education Institution. International Journal of Higher Education. 9(3), 98 - 108