การพัฒนารูปแบบการบริหารแบบมีส่วนร่วมเพื่อเป็นสถานศึกษาปลอดยาเสพติดและอบายมุข โรงเรียนพิมายดำรงวิทยาคม

Main Article Content

อภิรมย์ สินชุม

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาข้อมูลพื้นฐานขององค์ประกอบในการบริหารแบบมีส่วนร่วมเพื่อเป็นสถานศึกษาปลอดยาเสพติดและอบายมุข โรงเรียนพิมายดำรงวิทยาคม 2) สร้างรูปแบบและคู่มือการใช้รูปแบบการบริหารแบบมีส่วนร่วมเพื่อเป็นสถานศึกษาปลอดยาเสพติดและอบายมุขโรงเรียนพิมายดำรงวิทยาคม 3) ทดลองใช้รูปแบบและคู่มือการใช้รูปแบบการบริหารแบบมีส่วนร่วมเพื่อเป็นสถานศึกษาปลอดยาเสพติดและอบายมุข โรงเรียนพิมายดำรงวิทยาคม และ 4) ประเมินรูปแบบการบริหารแบบมีส่วนร่วมเพื่อเป็นสถานศึกษาปลอดยาเสพติดและอบายมุขโรงเรียนพิมายดำรงวิทยาคม โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบการวิจัยและพัฒนากลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา ครูและบุคคลากรทางการศึกษา ผู้ปกครอง และคณะกรรมการสถานศึกษาของโรงเรียนพิมายดำรงวิทยาคม รวมทั้งสิ้น 40 คน กำหนดขนาดโดยการใช้ตารางกำหนดการสำเร็จรูปของเครซี่และมอร์แกน และผู้ตอบแบบสอบถามได้มาโดยการเลือกแบบเจาะ และกลุ่มเป้าหมายสำคัญ ได้แก่ ผู้ให้การสัมภาษณ์ จำนวน 5 คน และผู้ทรงคุณวุฒิในการสนทนากลุ่มผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 9 คน เครื่องที่ใช้ได้แก่ แบบสอบถามที่มีลักษณะเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ
มีค่าดัชนีสอดคล้องอยู่ระหว่าง 0.60-1.00 และมีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ....0.85..... แบบสัมภาษณ์ที่เป็นแบบกึ่งโครงสร้าง และแบบบันทึกการสนทนากลุ่มผู้เชี่ยวชาญ  วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่า PNImodified    และค่า p-value
ผลการวิจัยพบว่า 1) องค์ประกอบในการบริหารแบบมีส่วนร่วมเพื่อเป็นสถานศึกษาปลอดยาเสพติดและอบายมุข โรงเรียนพิมายดำรงวิทยาคม ประกอบด้วย 4 ด้าน ได้แก่ ด้านการป้องกัน ด้านการค้นหา ด้านการรักษาเยียวยา และด้านการเฝ้าระวัง 2) รูปแบบการบริหารเพื่อเป็นสถานศึกษาปลอดยาเสพติดและอบายมุขโดยการมีส่วนร่วมของโรงเรียนพิมายดำรงวิทยาคม (Par-D Model) ประกอบด้วย 5 องค์ประกอบ ได้แก่ วัตถุประสงค์ของรูปแบบ หลักการของรูปแบบ องค์ประกอบหลักของรูปแบบ ประกอบด้วย 4 ด้าน ได้แก่ ด้านการป้องกัน  ด้านการค้นหา ด้านการรักษาเยียวยา  และด้านการเฝ้าระวัง และ แนวทางการประเมินผลรูปแบบ และ 4) เงื่อนไขความสำเร็จในการนำรูปแบบไปใช้ 3) ทดลองใช้รูปแบบ วงรอบที่ 1 ในระหว่างวันที่ 13 พฤษภาคม 2563 ถึง วันที่ 30 ตุลาคม 2563 มีการปฏิบัติตามรูปแบบ ร้อยละ 78.72 และวงรอบที่ 2 ในระหว่างวันที่ 2 พฤศจิกายน 2563  ถึง วันที่ 31 มีนาคม 2564 มีการปฏิบัติตามรูปแบบร้อยละ93.61 
ผลการประเมินรูปแบบ พบว่า โรงเรียนพิมายดำรงวิทยามีผลการประเมินการเป็นสถานศึกษา สีขาว ปลอดยาเสพติดและอบายมุขหลังการทดลองใช้มีค่าเฉลี่ยสูงกว่าก่อนการทดลองใช้ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และมีระดับความพึงพอใจอยู่ในระดับมาที่สุด (X =4.75 ,SD =0.18)  

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2559). นโยบายสถานศึกษาสีขาว ปลอดยาเสพติดและอบายมุข. กรุงเทพฯ:กระทรวงศึกษาธิการ.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). แนวทางการดำเนินงานโครงการสถานศึกษาสีขาว ปลอดยาเสพติดและอบายมุข. กรุงเทพฯ:กระทรวงศึกษาธิการ.

จิราภรณ์ เพชรทัต. (2558). การบริหารแบบมีส่วนร่วมของผู้บริหารกับความเป็นองค์กรสมรรถนะสูงสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา กาญจนบุรีเขต 2. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษามหาวิทยาลัยศิลปากร

จุฑามาศ พันสวรรค์. (2562). การพัฒนารูปแบบการมีส่วนร่วมของคณะกรรมการสถานศึกษาในการบริหารจัดการศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก เทศบาลนครเชียงใหม่. มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่, วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาการบริหารสถานศึกษา.

เฉลิมพงษ์ ฟองจินา. (2556). การดำเนินงานตามนโยบายเสริมสร้างความเข้มแข็งและยั่งยืนในการป้องกันและแก้ปัญหายาเสพติดในสถานศึกษาของโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 4. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภักฏเชียงราย.

ธันยวัตร แก้วสุข. (2559). การพัฒนาแนวทางการดำเนินงานป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดในสถานศึกษาของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 29. คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา.

ธีรพงษ์ ชูพันธุ์. (2562). การพัฒนาแนวทางการดำเนินงานสถานศึกษาสีขาว ปลอดยาเสพติดและอบายมุข สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 23. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารและพัฒนาการศึกษา.

ธีระ รุญเจริญ. (2550). ความเป็นมืออาชีพในการจัดและบริหารการศึกษายุคปฏิรูปการศึกษา.พิมพ์ครั้งที่4. กรุงเทพฯ: ข้าวฟ่าง.

ปฐมาวดี ศรีชนะ.(2559). การประเมินโครงการสถานศึกษาสีขาวปลอดยาเสพติดและอบายมุขของโรงเรียนประสานมิตรวิทยาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 28. (ออนไลน์) [อ้างเมื่อ 14 มีนาคม 2563] แหล่งที่มา: https://www.kroobannok.com/board_view.php?b_ id=147139&bcat_id=14.

วิมลศิริ บุญโญปกรณ์. (2557). การดำเนินงานตามนโยบายการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดสถานศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา ในกรุงเทพมหานครไปสู่การปฏิบัติ. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สมคิด พรมจุ้ย และสุพักตร์ พิบูลย.์ 2544. การประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา. นนทบุรี: จตุพรดีไซน์.

Nguyen, V. T. (2008). Drug Abuse Among Yong Adults in Vietnam : The Influence of Family, Peers, and Society. Doctoral Dissertation in Philosophy, University of Texas at Alington, U.S.A.

Gazis, N. (2008). Drug and Alcohol Prevention among Culturally Diverse Northern Australian Adolescents: An Investigation of a School Drug and Alcohol Prevention Program for Year 8 Students. Ph.D. Thesis in School of Medicine, The University of Queensland.

Vander, C. J., Powell, L. M., Terry-McElrath, Y. M., & Bao, Y. a. F., B.R... (2005). Community and School Drug Prevention Strategy Prevalence: Differential Effects by Setting and Substance. Journal of Primary Prevention, 26(4), 299-320.